สถานีแบริ่ง (อังกฤษ: Bearing station; รหัส: E14) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายอ่อนนุช–แบริ่ง[1] ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทบริเวณก่อนถึงทางแยกแบริ่งซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายต่อไปจนถึงย่านบางปู

แบริ่ง
E14

Bearing
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°39′33.61″N 100°36′3.78″E / 13.6593361°N 100.6010500°E / 13.6593361; 100.6010500พิกัดภูมิศาสตร์: 13°39′33.61″N 100°36′3.78″E / 13.6593361°N 100.6010500°E / 13.6593361; 100.6010500
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีE14
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ12 สิงหาคม พ.ศ. 2554; 12 ปีก่อน (2554-08-12)
ชื่อเดิมสุขุมวิท 107
ผู้โดยสาร
25642,662,421
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
บางนา
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท สำโรง
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

ถนนสุขุมวิท ระหว่างปากทางถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) กับซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ในพื้นที่แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

ระหว่างการก่อสร้าง สถานีแบริ่งใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่าสถานีสุขุมวิท 107 แต่ตัวสถานีจริง ๆ ตั้งอยู่หน้าปากทางถนนลาซาล[2]

โดยหลังจากเปิดให้ใช้บริการส่วนต่อขยายฟรีใน พ.ศ. 2554 สถานีแบริ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง (อันดับสองคือสถานีอุดมสุข และอันดับสามคือสถานีบางจาก) เนื่องจากเป็นเขตที่สิ้นสุดกับเขตจังหวัดสมุทรปราการ จึงทำให้ผู้ที่พำนักอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการมาใช้งานมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น

ในช่วง พ.ศ. 2554–2560 สถานีแบริ่งเคยทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพแทนสถานีอ่อนนุช แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางอีกต่อไป เนื่องจากกรุงเทพมหานครและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดใช้งานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[3]

ภายหลังที่โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เปิดให้บริการใน พ.ศ. 2566 อาจทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อของสถานีที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างสถานีแบริ่งของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท กับสถานีศรีแบริ่งของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ที่ตั้งอยู่คนละด้านของซอยแบริ่ง (สถานีตั้งอยู่บริเวณใกล้กับต้นซอยแบริ่งและด้านท้ายซอยแบริ่ง) ซึ่งทั้งสองสถานีนั้นมีระยะห่างกันมากกว่า 4.5 กิโลเมตร

แผนผังของสถานี แก้

 
จอ Passenger Information Display แสดงชื่อสถานีปลายทางของขบวนรถที่กำลังเข้าสู่ชานชาลา สถานีแบริ่ง (ชานชาลาที่ 1)
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สำโรง)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (บางนา)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนลาซาล, ซอยสุขุมวิท 107

เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีสำโรงและสถานีเคหะฯ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีเคหะฯ แต่มากับขบวนรถที่มุ่งหน้าไปสถานีสำโรง จะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีนี้ หรือเปลี่ยนชานชาลาที่สถานีสำโรง

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

สัญลักษณ์ของสถานี แก้

ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

ลิฟต์สำหรับผู้พิการไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่ง

ทางเข้า-ออก แก้

  • 1 ถนนลาซาล, เซ็นเตอร์พ้อยท์ สตูดิโอ ไทยแลนด์ (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
  • 2 ซอยสุขุมวิท 70/4 (ลิฟต์)
  • 3 ซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง), โรงเรียนนานาชาติ เซ็นต์แอนดรูวส์ สุขุมวิท 107
  • 4 ซอยสุขุมวิท 70/5, ปั๊มน้ำมันเอสโซ่, เบ็นซ์ บีเคเค กรุ๊ป, บีเคเค แกรนด์ เอสเตท, สยามนิสสันบีเคเค (บันไดเลื่อน)
  • 5 เอพีที แบริ่ง มอลล์

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 70/4 และทางออก 4 หน้าเบ็นซ์ บีเคเค กรุ๊ป

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[4]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.55 00.27
E15 สำโรง 00.40
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.17 23.35
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 23.48

รถโดยสารประจำทาง แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สีม่วง : เขตการเดินรถที่ 1
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

  ถนนสุขุมวิท แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (1)   อู่ปู่เจ้าสมิงพราย สํานักงานที่ดินกรุงเทพ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก. มีรถให้บริการตลอดคืน
  อู่ช้างเอราวัณ
23 (3-5) (1) อู่ปู่เจ้าสมิงพราย เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

อู่ช้างเอราวัณ รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงทางด่วนด่านเพชรบุรี)
25 (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้าง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน
มีรถให้บริการตลอดคืน
45 (1)   อู่ปู่เจ้าสมิงพราย ท่านํ้าสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
102   (2) อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ เซ็นทรัลพระราม 3 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านท่าเรือ)
1-14E (129) (1)   อู่ช้างเอราวัณ   อู่บางเขน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

142 (3-17E)   (2)   อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ   อู่แสมดำ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

508 (2) ท่าราชวรดิษฐ์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) มีรถให้บริการทางด่วน
511 (3-22E)   (2)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

536 (2)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (3-1)   ปากน้ำ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส มีรถให้บริการตลอดคืน
2E (3-2E)   ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย
25 (3-6)   โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) ส่วนใหญ่หมดระยะแยกบางนา
507 (3-13)     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
513 (3-23E)     ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ บจก.ไทยสมายล์บัส
552 (3-25E)   ปากน้ำ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
3-27   ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย สวนสยาม
3-32     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ)

รถหมวด 3-4 แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
365 ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ   บางปะกง รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว บจก.สันติมิตรขนส่ง
365 (เสริม) สําโรง ตลาดบางโฉลง รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว บจก.สันติมิตรขนส่ง
1141 ปากน้ำ ตลาดนัมเบอร์วัน รถโดยสารสองแถวขนาดเล็กสีขาว บจก.เทียนทองขนส่ง
1145 บางนา หนามแดง รถโดยสารสองแถวขนาดเล็กสีส้ม บจก.สมุทรเจ้าพระยาขนส่ง
บางนา พรสว่าง

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

  • โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
  • โรงเรียนบางกอกพัฒนา
  • โรงเรียนนานาชาติ เซนต์ แอนดรูวส์ สุขุมวิท 107
  • โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา
  • โรงเรียนลาซาล บางนา
  • ซัมเมอร์ ลาซาล
    • ซันนี่ แอท ซัมเมอร์ ลาซาล
  • ดาดฟ้า ลาซาล

อ้างอิง แก้

  1. "Bangkok Mass Rapid Transit-Green Line Extension". Railway Technology. สืบค้นเมื่อ 10 April 2017.
  2. PCL, Post Publishing. "St. Andrews International School, Sukhumvit 107". bangkokpost.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-02.
  3. "Free BTS Bearing-Samrong rides until 2018". bangkokpost.com. Post Publishing. สืบค้นเมื่อ 11 April 2017.
  4. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.