สถานีกลางเบอร์ลิน

(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟกลางเบอร์ลิน)


สถานีกลางเบอร์ลิน (เยอรมัน: Berlin Hauptbahnhof)[2][3][4][5][6][7] เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟหลักที่สำคัญที่สุดในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี และยังเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป [8][9] ตั้งอยู่บนจุดที่ตั้งเก่าของสถานีรถไฟเลอร์เตอร์ (Lehrter Bahnhof) สถานีเบอร์ลิน เฮาปท์บาห์นอฟ ได้รับการออกแบบโดย Meinhard von Gerkan และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 เพื่อให้ทันการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของเยอรมนี โดยใช้เวลาก่อสร้างจนแล้วเสร็จมากกว่า 11 ปี

สถานีกลางเบอร์ลิน (Berlin Hauptbahnhof)
ภาพภายนอกสถานีกลางเบอร์ลิน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งEuropaplatz 1
10557 เบอร์ลิน เยอรมนี
พิกัด52°31′30″N 13°22′09″E / 52.52493°N 13.369181°E / 52.52493; 13.369181
เจ้าของเยอรมนี
สาย
ชานชาลา7 ชานชาลาราง (ตัวสถานี)
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1071
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ26 พฤษภาคม ค.ศ. 2006
ผู้โดยสาร
ค.ศ. 2011300,000+ คนต่อวัน[1]

สถานีกลางเบอร์ลินถูกจัดสถานะให้เป็นสถานีประเภทที่ 1 (Category 1) คือมีสถานะเป็น 1 ใน 21 ศูนย์กลางการคมนาคมทางรางของเยอรมนี เป็นจุดผ่านของเส้นทางรถไฟหลายสาย ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงอีเซเอ รถไฟทางไกลของด็อยท์เชอบาน รถไฟเร็วเขตเมืองเบอร์ลิน และรถไฟใต้ดินเบอร์ลิน ในแต่ละวันมีรถไฟไม่ต่ำกว่า 1,200 ขบวนเดินทางผ่าน และให้บริการผู้โดยสารกว่า 3 แสนคน จุดเด่นของสถาปัตยกรรมตัวอาคารเป็นการใช้กระจกเป็นจำนวนมากประกอบเป็นพื้นผิวของโครงสร้างอาคารผู้โดยสาร โดยที่ใช้โครงสร้างรับน้ำหนักที่ทำจากเหล็กให้น้อยที่สุด เพื่อให้แสงธรรมชาติสามารถส่องผ่านเข้าไปภายในอาคารผู้โดยสารให้ได้มากที่สุด ตัวสถานีมีความยาว 430 เมตร และมีรางรถไฟให้บริการ 16 ราง

สถานีกลางแห่งนี้ ได้ย้ายมาจากสถานีรถไฟเบอร์ลินตะวันออก ซึ่งเคยเป็นสถานีกลางมาก่อน

ประวัติ แก้

 
ด้านนอกของอาคารสถานีเลอร์เตอร์เดิม ปี 1879
 
สถานีเลอร์เตอร์ใน ปี 1879, แสดงให้เห็นส่วนอู่ชานชาลา
 
Attention passengers! Last stop in the direction of the Soviet sector.
 
Berlin Hauptbahnhof Ostseite HDR
 
Berlin Hauptbahnhof has railway tracks on two levels, running perpendicular with each other. The level between them is used for entry and exit from the building, and for shopping.

สถานีเลอร์เตอร์ (Lehrter Bahnhof) เปิดตัว ณ กรุงเบอร์ลิน, โดยตั้งอยู่ใกล้ๆกับสถานีฮัมบวร์เคอร์ (Hanburger Bahnhof), ในปี ค.ศ. 1871 ในฐานะสถานีปลายทางเชื่อมต่อกรุงเบอร์ลิน กับเลิร์ต (Lehrte) อันเป็นเมืองเล็กๆใกล้กับเมืองฮันโนเฟอร์ และต่อมาทางรถไฟยาว 239 กิโลเมตรนี้กลายเป็นทางรถไฟหลักสายตะวันออก-ตะวันตก ที่สำคัญที่สุดในเยอรมนี ตัวสถานีถูกออกแบบตามสไตล์ นีโอ-เรอเนสซองซ์ แบบฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการฉีกสไตล์ไปจากอาคารก่ออิฐแดงที่นิยมกันในสมัยนั้น แต่เพราะเงินทุนที่จำกัด พื้นผิวตกแต่งอาคารจึงไม่ได้ทำด้วยหินตามแผนที่วางไว้แต่ใช้กระเบื้องเคลือบแทน ถึงกระนั้นก็ยังมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจนได้รับการยกย่องว่าเป็น "สถานีรถไฟที่งามดุจราชวัง"

พอถึงปี 1882 ได้มีการสร้างเส้นทางรถไฟสายนครเบอร์ลิน หรือ ชตาดท์บาห์น (Berlin Stadtbahn) ขึ้นในเบอร์ลินโดยเป็นรางแบบยกระดับ 4 ราง พาดผ่านทางตอนเหนือของสถานี (ซึ่งภายหลังได้พัฒนามาเป็นทางรถไฟ เอส-บาห์น (S-Bahn)) และเกิดสถานีเชื่อมต่อขนาดย่อม Lehrter Stadtbahnhof ขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางใหม่ การขยายตัวและการเพิ่มบทบาทของสถานีเลอร์เตอร์ ทำให้สถานีนี้มีบทบาทเข้ามาแทนที่สถานีฮัมบวร์เคอร์ซึ่งปิดตัวลงในปี 1884 เมื่อเส้นทางไปฮัมบวร์คทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี กับสแกนดิเนเวียถูกเปลี่ยนไปหาสถานีเลอร์เตอร์แทน ต่อมาเส้นทางเบอร์ลิน-เลอร์ต ถูกแปรรูปให้เป็นรัฐวิสาหกิจ และเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของการรถไฟแห่งชาติปรัสเซียใน ปี 1886

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอาคารสถานีได้รับความเสียหายอย่างหนัก เมื่อสงครามจบลงตัวโครงอาคารได้รับการซ่อมแซมให้ใช้การได้ชั่วคราว แต่การแบ่งแยกประเทศเยอรมนีภายหลังสงครามโลกก็ทำให้เส้นทางหลักๆต้องปิดการให้บริการลง จึงไม่มีโครงการจะบูรณะสถานีต่อไปอีก สถานนีเลอร์เตอร์จึงเป็นอันต้องถูกทำลายลงโดยการทุบทำลายโครงสร้างใช้เวลา 2 ปี (1957 - 1959) ส่วนสถานีเชื่อมต่อทางรถไฟสายนครเบอร์ลิน (Lehrter Stadtbahnhof) นั้นได้เปลี่ยนสถานะไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเอ็ส-บาห์น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า แต่แม้จะไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม สถานี Lehrter Stadtbahnhof ก็ถูกผลกระทบของการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินทำให้มีขอบเขตการให้บริการที่จำกัด โดยเครือข่าย เอ็ส-บาห์น ทั้งหมดตกไปอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟเยอรมนีตะวันออก (Deutsche Reichsbahn) ทำให้ประชากรจำนวนมากในฝั่งเบอร์ลินตะวันตกบอยค็อตไม่ใช้บริการ เอ็ส-บาห์น อยู่จนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 เมื่อเบอร์ลินตะวันตกได้รับมอบสิทธิบริหารจัดการเส้นทาง เอ็ส-บาห์น สายเบอร์ลินตะวันตกเอง สถานี Lehrter Stadtbahnhof ที่รอดภัยสงครามมาถูกขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน

แต่ในปี ค.ศ. 2002 สถานี Lehrter Stadtbahnhof ก็ถูกกำหนดให้โดนทำลายเพื่อเปิดทางให้มีการก่อสร้างสถานีกลาง (Hauptbahnhof) แห่งใหม่ ซึ่งถูกวางแปลนมาตั้งแต่ปี 1992 ให้สร้างขึ้นบนพื้นที่เก่าของสถานีเลอร์เตอร์เดิม (Lehrter Bahnhof) ซึ่งทั้งใกล้กับสถานที่ราชการในเมืองเบอรลิน และยังไม่มีคนอยู่อาศัยแออัดมาเกินไป โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 1995 จนการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2006

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "300.000 Reisende und Besucher werden täglich erwartet" (ภาษาเยอรมัน). Deutsche Bahn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2011.
  2. On track for tomorrow. Public Works Planning and Projects in Transport in Germany. DB's publication for the International Transportation Workshop, May 2012. "Berlin Central Station" is their station project example. Accessed on 14 Aug 2013
  3. Business Travel - News from Deutsche Bahn, Spring 2013 เก็บถาวร 2013-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed on 14 Aug 2013
  4. Your perfect connections from the airport directly to your destination เก็บถาวร 2016-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at www.bahn.com. Accessed on 14 Aug 2013
  5. Berlin Central Station at Structurae, international database and gallery of structures. Accessed on 14 Aug 2013
  6. Edwards, Brian (2011). Sustainability and the Design of Transport Interchanges, Routledge, Oxford & New York, p. 149 etc. ISBN 978-0-415-46449-9
  7. Patterson, Michael Robert (2008). Structural Glass Facades: A Unique Building Technology, Pro Quest, Ann Arbor, UMI 1454120
  8. "Second world war bomb defused near Berlin's main railway station". The Guardian. 3 April 2013.
  9. Allan Hall (11 October 2011). "Germans fear rise in left-wing terrorism after seven petrol bombs found in Berlin rail tunnel". Daily Mail.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้