สถานีคาราวาน (เปอร์เซีย: كاروانسرا kārvānsarā, ตุรกี: kervansaray, อังกฤษ: Caravanserai) มักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลจากเปอร์เชียที่ก่อสร้างเป็นที่พักเล็กข้างทางที่นักเดินทางสามารถใช้สำหรับการพักผ่อนให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง สถานีคาราวานตั้งอยู่ได้จากการคมนาคมทางการค้า การติดต่อสื่อสาร และการเดินทางของผู้คนในเครือข่ายของเส้นทางการค้า (trade routes) ที่ครอบคลุมเอเชีย, แอฟริกาเหนือ และ ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ สถานีคาราวานอาจจะเป็นที่รู้จักในภาษาไทยด้วยชื่อเรียกว่า "โรงเตี๊ยม"

ตัวอย่างผังของสถานีคาราวาน ซาฟาวิยะห์ (Safavid)

สถาปัตยกรรม แก้

สถานีคาราวานส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมหรือผนังสี่เหลี่ยมรอบนอก และมีประตูใหญ่ประตูเดียวเพือให้สัตว์ที่มีสินค้าบรรทุกบนหลังเช่นอูฐเดินเข้าไปได้ ลานกลางสิ่งก่อสร้างมักจะเปิดขึ้นไปและผนังด้านในจะเป็นคูหา ช่อง หรือซอกเล็กๆ เรียงรายอยู่รอบๆ เพื่อให้เป็นที่พักของพ่อค้าและผู้รับใช้ สัตว์ และสินค้า[1]

สถานีคาราวานจะมีน้ำให้คนและสัตว์ดื่ม ทำความสะอาดร่างกาย และ ทำการชำระ (วุฎูอ์) ก่อนการละหมาด บางครั้งที่หรูหน่อยก็อาจจะมีที่สำหรับอาบน้ำอย่างหรูหรา นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่เก็บอาหารสำหรับสัตว์และมีร้านค้าสำหรับนักเดินทางเพื่อซื้อเสบียง หรือมีร้านค้าที่พ่อค้าสามารถขายสินค้าที่บรรทุกมาได้[2]

อ้างอิง แก้

  1. Sims, Eleanor. 1978. Trade and Travel: Markets and Caravanserais.' In: Michell, George. (ed.). 1978. Architecture of the Islamic World - Its History and Social Meaning. London: Thames and Hudson Ltd, 101.
  2. Ciolek, T. Matthew. 2004-present. Catalogue of Georeferenced Caravanserais/Khans. Old World Trade Routes (OWTRAD) Project. Canberra: www.ciolek.com - Asia Pacific Research Online.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้