สงวน พงษ์มณี (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต 1 และประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

สงวน พงษ์มณี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(22 ปี 73 วัน)
ถัดไปวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก
เขตเลือกตั้งเขต 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543—2550)
พลังประชาชน (2550—2551)
เพื่อไทย (2551—ปัจจุบัน)
คู่สมรสมะลิวัลย์ พงษ์มณี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ แก้

สงวน พงษ์มณี เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของประเสริฐ (บิดา) และคำผง (มารดา) มีพี่ 1 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] สมรสกับนางมะลิวัลย์ มีบุตร 1 คน

การเมือง แก้

หลังจากสำเร็จการศึกษาไปเป็นครูอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะสอบเป็นทหารผ่านศึก และไปเป็นทหารรับจ้างในเวียดนาม ต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่การข่าวของรัฐ เข้าร่วมการชุมนุมในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ต้องหลบหนีเข้าป่าบริเวณชายแดนติดกับประเทศลาว และไปเรียนหนังสือที่ เขตงาน 7 ใช้ชื่อ สหายสุดเขต ภายหลังถูกทางการจับ และส่งไปพิษณุโลก ได้รับอานิสงฆ์จาก คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ทำให้ไม่ต้องถูกจับคุก[2][3]

หลังจากนั้นได้ดำเนินธุรกิจอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับเข้าสู่วงการการเมืองอีกครั้งในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 ต่อมา พ.ศ. 2544 ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก ในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้ง ชนะนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ จากพรรคชาติพัฒนา นับจากนั้นมาได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องมาอีก 3 สมัย โดยไม่เคยสอบตก และเป็น ส.ส.ชายที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554[4] ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2554 เป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ และจัดตั้ง ส.ร.ร. ชุดใหม่

ต่อมาเมื่อมีการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐประหารออกคำสั่งที่ 57/2557 เรียกให้สงวนไปรายงานตัว แต่เขามิได้ไปตามคำสั่งดังกล่าว หลังจากนั้นมีการควบคุมตัวเขาไว้ โดยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ศาลทหารตัดสินให้จำคุก 1 ปีและปรับเงิน 20,000 บาท โดยให้รอลงอาญา 1 ปี[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สงวน พงษ์มณี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "สงวน พงษ์มณี" เดินหน้าแก้รธน. ล้วงลูก"กองทัพ"เขียนกม.ปกป้องตนเอง อนาคตส่อเกิดสงครามศาสนาภายในประเทศ
  3. "สหายสุดเขต : สงวน พงษ์มณี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2012-01-13.
  4. "ที่สุด"ของส.ส.ชุดที่ 24 จากมติชนเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ศาลทหารสั่งจำคุก 1 ปี สงวน พงษ์มณี อดีต ส.ส. เพื่อไทย ฐานขัดคำสั่ง คสช., มติชนออนไลน์, 28 พฤศจิกายน 2557.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้