สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก

สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก[1] (อังกฤษ: War of the Sixth Coalition) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ สงครามปลดแอก (เยอรมัน: Befreiungskriege) เป็นการผนึกกำลังระหว่างออสเตรีย, ปรัสเซีย, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร, โปรตุเกส, สวีเดน, สเปน และรัฐเยอรมันอีกหลาย ๆ รัฐ เข้าต่อสู้และมีชัยเหนือฝรั่งเศสซึ่งนำโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และเนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะเอลบา สงครามนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่กองทัพนโปเลียนพ่ายแพ้อย่างพินาศย่อยยับในการรุกรานรัสเซีย มหาอำนาจยุโรปอย่างสหราชอาณาจักร, โปรตุเกส และฝ่ายกบฏในสเปนต่างพากันเข้าร่วมกับรัสเซียในการสยบนโปเลียน กองทัพฝ่ายสหสัมพันธมิตรที่ได้รับการจัดระเบียบใหม่ สามารถไล่ทหารของนโปเลียนออกจากเยอรมนีได้ในปี ค.ศ. 1813 และเริ่มรุกรานเข้าสู่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1814 ซึ่งทำให้นโปเลียนจำยอมต้องลงจากราชบัลลังก์และเปิดทางให้มีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง

สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก
ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียน

ยุทธการที่ไลพ์ซิช
วันที่มีนาคม ค.ศ. 1813 – พฤษภาคม ค.ศ. 1814
สถานที่
ทวีปยุโรป
ผล

ชัยชนะของฝ่ายสหสัมพันธมิตร

คู่สงคราม

สหสัมพันธมิตรเริ่มแรก

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ฝรั่งเศส นโปเลียนที่ 1 ฝรั่งเศส นีกอลา อูดีโน
ฝรั่งเศส หลุยส์-นีกอลา ดาวู
เออแฌน เดอ โบอาร์แน
โปแลนด์ โจเซฟ โปเนียโตสกี 

ฌออากีม มูว์รา
กำลัง
ราว 800,000
มากกว่า 1,200,000 หลังพันธมิตรนโปเลียนแตก
ราว 550,000
เหลือ 400,000 หลังพวกเยอรมันย้ายฝั่ง
  1. ดัชชีวอร์ซออยู่ในสงครามจนถึงเดือนพฤษภาคม 1813 เท่านั้น ก็ถูกยึดครองโดยกองกำลังปรัสเซียและรัสเซีย

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๕ อักษร L-O ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2551. 896 หน้า. หน้า 592. ISBN 978-974-287-672-2