สงครามครูเสดชาวบ้าน

สงครามครูเสดชาวบ้าน (อังกฤษ: People's Crusade) เป็นสงครามครูเสด[7][8]ที่เริ่มระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1096 ที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามครูเสดครั้งที่ 1 สงครามนี้บางทีก็เรียกว่า “สงครามครูเสดคนยาก” หรือ “สงครามครูเสดชาวนา”

สงครามครูเสดชาวบ้าน

การพ่ายแพ้ของ “สงครามครูเสดชาวบ้าน”
วันที่เมษายน–ตุลาคม ค.ศ.1096[1]
สถานที่
ผล

ฝ่ายเซลจูคชนะ[2]

คู่สงคราม
ยุโรปตะวันตกที่นับถือโรมันคาทอลิก รัฐสุลต่านรูม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Kilij Arslan I[3]
กำลัง
ครูเสด 20,000 คน[4]
(ตอนแรกมี 40,000 คน)[5]
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
เสียหายมาก; เกือบถึงขั้นทำลายล้าง[6] ค่อนข้างน้อย

แม่แบบ:Campaignbox First Crusade แม่แบบ:Campaignbox People's Crusade

แม่แบบ:Campaignbox Crusades Battles

สงครามครูเสดชาวบ้านนำโดยวอลเตอร์เดอะเพนนิเลส (Walter the Penniless) และ ปีเตอร์เดอะเฮอร์มิท (Peter the Hermit) กองทัพถูกทำลายย่อยยับโดยกองกำลังของเซลจุคที่นำโดยคิลิจ อาร์สลันที่ 1 (Kilij Arslan I หรือ قلج أرسلان‎)

บทนำ แก้

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ทรงวางแผนให้นักรบครูเสดออกเดินทางกันในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1096 แต่ก่อนหน้านั้นก็มีกองทัพของชาวนาและขุนนางระดับต่ำที่ไม่ได้อยู่ในแผนก่อตัวกันขึ้นเองและออกเดินทางไปยังเยรูซาเลมล่วงหน้า ประชากรที่รวบรวมตัวกันไปเหล่านี้มาจากผูที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากความแห้งแล้ง ความอดอยาก และโรคระบาดเป็นเวลาหลายปีก่อนปี ค.ศ. 1096 และมองเห็นว่าการเดินทางไปร่วมการทำสงครามครูเสดอาจจะเป็นทางออกจากความทุกข์ยาก การริเริ่มความคิดที่จะเดินทางไปร่วมสงครามก่อตัวขึ้นจากเหตุการณ์ที่ประจวบเหมาะหลายเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นที่เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1095 ซึ่งเหมือนกับจะเป็นแรงบันดาลใจจากเบื้องบนให้ไปทำสงคราม เหตุการณ์ต่างๆ นี้ก็รวมทั้ง ฝนดาวตก, ออโรรา, จันทรุปราคา, ดาวหาง และอื่นๆ การระบาดของ ergotism ที่มักจะทำให้มีการโยกย้ายถิ่นฐานกันขนานใหญ่ก็เกิดขึ้นเพียงไม่นานก่อนหน้าการประชุมสภาสงฆ์แห่งแคลมงต์ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มลัทธิสหัสวรรษที่เป็นที่นิยมกันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่เชื่อกันว่าวันโลกาวินาศจะมาถึงภายในเวลาไม่นานเท่าใดนักที่แพร่หลายกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกิดกว่าที่คาดกันได้แทนที่จะเป็นผู้คนเพียงไม่กี่พันก็กลายเป็นกองกำลังราว 40,000 คนที่ส่วนใหญ่เป็นนักรบที่ไม่ได้รับการฝึกหัดและยังรวมทั้งสตรีและเด็กด้วย[5]

นักบวชผู้มีความดึงดูดใจจากประชาชนชื่อ ปีเตอร์เดอะเฮอร์มิท หรือ “ปีเตอร์นักพรต” ที่มาจากอาเมียงส์เป็นผู้นำ กล่าวกันว่าโดยแต่งตัวอย่างง่ายและขี่ลา ปีเตอร์เดินทางไปเทศนาชักชวนผู้คนให้เข้าร่วมสงครามครูเสดทั่วทางตอนเหนือของฝรั่งเศสและฟลานเดอร์ส และอ้างว่าได้รับการบัญชาโดยตรงจากพระเยซู (และอาจจะมีจดหมายจากพระเจ้าไว้พิสูจน์ว่าจริง) นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นได้ว่าประชาชนบางส่วนมีความเชื่อว่าปีเตอร์เป็นผู้นำที่แท้จริงแทนที่จะเป็นพระสันตะปาปาเออร์บัน โดยทั่วไปเชื่อกันว่ากองทัพของปีเตอร์เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีการศึกษา หรือเป็นชาวนาที่ไม่รู้สีสาว่าจะไปทางไหน และเชื่อว่าเมืองทุกเมืองที่พบระหว่างทางคือเมืองเยรูซาเลม ซึ่งก็อาจจะเป็นจริงบ้างแต่อันที่จริงแล้วการไปแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเลมก็เป็นสิ่งที่ทำกันมา ฉะนั้นหนทางและระยะทางที่ต้องเดินทางก็คงเป็นที่ทราบกันบ้าง ขณะที่ผู้เข้าร่วมสงครามส่วนใหญ่ไม่ใช่ทหารที่ได้รับการฝึกหัด แต่ก็มีอัศวินชั้นรองๆ ที่เป็นผู้นำ เช่นผู้ที่เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ต่อมา Fulcher of Chartres และ Walter Sans-Avoir หรือ วอลเตอร์เดอะเพนนิเลส (Walter the Penniless) ซึ่งตามชื่อที่เรียกคืออัศวินตกยากผู้ไม่ขึ้นกับลอร์ดและไม่มีดินแดนปกครองแต่ก็พอมีประสบการณ์ทางการสู้รบอยู่บ้าง

อ้างอิง แก้

  1. John France, Victory in the East: A Military History of the First Crusade, (Cambridge University Press, 1997), pg. 159
  2. Paul L. Williams, The Complete Idiot's Guide to the Crusades, pg. 48
  3. Tom Campbell, Rights: A Critical Introduction, pg. 71
  4. J. Norwich, Byzantium: The Decline and Fall, 35
  5. 5.0 5.1 J. Norwich, Byzantium: The Decline and Fall, 33
  6. Jim Bradbury, The Routledge Companion to Medieval Warfare, pg. 186
  7. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Crusades[1]
  8. The Crusades[2] เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม แก้