สกุลกฤษณา (Aquilaria) เป็นสกุลหนึ่งของพืชวงศ์กฤษณา (Thymelaeaceae) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ พบมากโดยเฉพาะในป่าดิบชื้นของอินโดนีเซีย, ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินเดียตอนเหนือ, ฟิลิปปินส์ และนิวกินี พรรณไม้ในสกุลนี้ปกติมีเนื้อไม้สีขาว เมื่อเกิดบาดแผล ต้นไม้จะหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อรักษาบาดแผลนั้น แต่สารเคมีจะขยายวงกว้างออกไปอีก ก่อให้เกิดเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ กลิ่นหอม เรียกว่า "กฤษณา"

  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aquilaria crassna Pierre ex Lec.
  • ชื่อท้องถิ่น (Vernacular name): กฤษณา
  • ชื่อทั่วไป (Common name): Eagle Wood
  • ชื่อวงศ์ (Family name): Thymelaeaceae
สกุลกฤษณา
ใบ Aquilaria sinensis
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ชบา
วงศ์: กฤษณา
วงศ์ย่อย: Thymelaeoideae
สกุล: สกุลกฤษณา
Lam.

ซึ่งเป็นพืชที่เป็นสมุนไพรและมีความสำคัญในการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะในการใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีการใช้ในงานทำสีผมและใช้เป็นสารที่มีสรรพคุณในการช่วยรักษาเนื้อเยื่อที่เสียหายด้วยคุณสมบัติทางเคมีที่มีอยู่ในเปลือกของต้นกฤษณา

ประวัติ แก้

กฤษณาเป็นไม้ที่กล่าวถึงนับแต่ครั้งพุทธกาลในฐานะ ของที่มีค่าหายาก ราคาแพงดั่งทองคำ ไม้กฤษณาอินเดียเป็นหนึ่งในของหอมธรรมชาติสี่อย่างที่เรียกว่า จตุรชาติสุคนธ์ (กฤษณา กะลำพัก จันทน์ และดอกไม้)

ในประเทศไทยไม้กฤษณาเป็นสินค้าต้องห้ามของประชาชนทั่วไปเพราะมีกฎหมายให้ค้าขายได้เฉพาะกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณ ต้นกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม้กฤษณาถูกใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการและเป็นสินค้าไปเมืองจีน

ต้นกฤษณามีความสำคัญทางท้องถิ่นและวัฒนธรรม ในอินเดียเฮือนแห่งสมุนไพรและการแพทย์แผนโบราณ เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

สรรพคุณของกฤษณาแพร่กระจายไปถึงคาบสมุทรอาหรับในตะวันออกกลาง อาณาจักรกรีก โรมัน อียิปต์โบราณ ผลผลิตจากต้นกฤษณามีเฉพาะในเอเชียบางส่วน เช่น อินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม เท่านั้น

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาออกไปจำหน่ายทั่วโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและตามอนุสัญญาไซเตส และได้ขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกกับไซเตสไว้ครั้งแรกจำนวน 7,404,452 ต้น ปัจจุบันมีการปลูกทั่วประเทศประมาณ 15 ล้านต้น และไม่เพียงพอกับตลาดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ความหลากชนิดของพรรณไม้สกุลกฤษณา แก้

ไม้ในสกุลกฤษณามีลำต้นขนาดปานกลาง แต่ถ้ามีอายุมากจะมีลำต้นขนาดใหญ่เป็นไม้เนื้อค่อนข้างอ่อน แต่เมื่ออายุมากแล้ว จะมีลักษณะเนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง สีเหลืองมีลายสวยงาม เปลือกลอกง่าย ลำต้นตรง สีค่อนข้างแดงผิวเป็นเม็ดตุ่มเล็ก ๆ สีแดง-ดำ เทา เขียวอ่อน เป็นไม้โตเร็ว

ปัจจุบันสกุลกฤษณามีพรรณไม้ทั้งหมด 15 ชนิด ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 
Aquilaria sinensis

ชนิดพรรณไม้สกุลกฤษณาชนิดพื้นเมืองในประเทศไทยมี 5 ชนิด คือ

  1. Aquilaria subintegra หรือ "พันธุ์จันทบุรี" เป็นชนิดไม้ที่ให้คุณภาพน้ำมันสูง พบในภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด โดยเฉพาะที่เขาสอยดาว)[2] และจังหวัดปัตตานี
  2. Aquilaria crassna หรือ "พันธุ์เขาใหญ่" เป็นชนิดไม้ที่ให้คุณภาพน้ำมันค่อนข้างสูงและปริมาณน้ำมันค่อนข้างมาก พบทั้งในภาคกลาง (จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครนายก โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ) และภาคเหนือ (จังหวัดเชียงราย แพร่ และน่าน)[2]
  3. Aquilaria malaccensis เป็นชนิดไม้ที่ให้คุณภาพน้ำหอมและปริมาณน้ำหอมปานกลาง พบบริเวณตอนใต้ของไทย เช่น จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง กระบี่ ตรัง พัทลุง ปัตตานี รวมทั้งตลอดแนวตามรอยตะเข็บชายแดนไทย-พม่าขึ้นไปจนถึงรัฐอัสสัมและภูฏาน
  4. Aquilaria hirta วิสัยเป็นไม้พุ่มที่ไม่ให้น้ำมัน ยังไม่พบการใช้เนื้อไม้หอมชนิดนี้ในไทย พบในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างและแหลมมลายู

การเก็บเกี่ยว แก้

ไม้กฤษณาถูกเก็บเกี่ยวจากต้นไม้ชนิด Aquilaria ที่เป็นต้นแก่แล้วและได้รับการติดเชื้อจากเชื้อราอย่างธรรมชาติ การติดเชื้อจะกระตุ้นให้เกิดการเกิดไม้เรซินซึ่งจะถูกสกัดออกมาแล้วนำไปใช้งานต่อไป

การสกัด แก้

วิธีการดั้งเดิมเน้นการตัดและประมวลผลไม้ที่ติดเชื้ออย่างระมัดระวังเพื่อสกัดไม้ที่มีเรซินในส่วนใจกลางออกมา ซึ่งจากนั้นจะนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยต่อไป

การใช้ประโยชน์ของไม้กฤษณา แก้

"สารกฤษณา" มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ ได้แก่ agarwood (ยุโรป), aloeswood (สิงคโปร์), eaglewood (สหรัฐอเมริกา),gaharu (อินโดนีเชีย), oudh (อาหรับ), tram (เวียดนาม), jinko (ญี่ปุ่น), chen xiang (จีน) เป็นต้น ปัจจุบันนอกจากชิ้นไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่เป็นสินค้าหลักในตลาดแล้วยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกฤษณาให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกลุ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากกฤษณาที่เป็นสินค้าวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบเอเชีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จากการสำรวจของ Phillips (2003) สามารถจำแนกได้ดังนี้

  • ในประเทศอินเดียและประเทศใกล้เคียง กฤษณามักถูกใช้ในการรักษาโรคและในอุตสาหกรรมเฉพาะ เปลือกต้นกฤษณามีสารสำคัญที่ชื่อว่า "กากจำ" (catechu) ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีที่มีประโยชน์ในการรักษา มันมีผลต่อระบบทางเดินอาหารและมีคุณสมบัติแก้แผลรอยบาดเจ็บ ส่วนใบของต้นกฤษณาก็มักถูกใช้ในการรักษาโรคผิวหนังและโรคทางเดินหายใจ
  • ท่อนไม้กฤษณา (agarwood branch or trunk section) เป็นท่อนกฤษณาขนาดใหญ่ ซึ่ง เป็นส่วนของกิ่งหรือลำต้นที่มีการสะสมสารกฤษณาเป็นบริเวณพื้นที่กว้างลักษณะเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ซึ่งจะเรียกว่าไม้เกรด 1 หรือ เกรดซุปเปอร์ (super agarwood) ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงมาก จากหลักหมื่นจนถึงหลักแสนบาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อนไม้นั้น ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก

เพราะเป็นกฤษณาที่ได้จากต้นไม้ที่เกิดในธรรมชาติเท่านั้น และมาจากต้นไม้มีอายุมาก ซึ่งมีการสะสมกฤษณามาเป็นเวลานานหลายปีส่วนใหญ่ท่อนกฤษณาลักษณะนี้อาจจะเห็นปรากฏอยู่ในวัด หรือคฤหาสน์ของเศรษฐีเพื่อเป็นสิ่งแสดงความร่ำรวยมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ

  • ชิ้นไม้ (agarwood pieces) เป็นชิ้นไม้กฤษณาขนาดเล็ก ๆ ดังนั้นจึงมีราคาถูกกว่าไม้ท่อนขนาดใหญ่ ใช้สำหรับจุดเผาเพื่อให้มีกลิ่นหอมนิยมใช้จุดเพื่อต้อนรับแขกของชาวอาหรับและบางคนเชื่อว่าการดมกลิ่นควันจากการเผาชิ้นไม้กฤษณาจะทำให้รักษาโรคบางอย่างได้
  • น้ำมันกฤษณา (agaroil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากกฤษณาเกรด3หรือเกรด4เนื่องจากการสะสมของสารกฤษณามีปริมาณน้อยกว่า ไม่สามารถนำไปขายเป็นชิ้นไม้ได้หน่วยที่ใช้เรียกน้ำมันกฤษณา เรียกว่า โตรา (Tora) มีปริมาณประมาณ 12 กรัมราคาขายกันอยู่ที่ประมาณ 2,400-4800 บาทต่อโตร่าประโยชน์ของน้ำมันกฤษณา คือ นิยมใช้ทาตัวของชาวอาหรับเพื่อให้มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของเครื่องยา เป็นส่วนผสมของน้ำหอมและเครื่องสำอางบางชนิด
  • ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ ผงไม้ที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันกฤษณาแล้วนำไปทำธูปหอม ประเทศไต้หวันนำมาทำไวน์ และนำมาปั้นเป็นก้อนผสมน้ำมันกฤษณาและส่วนผสมต่าง ๆ ให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า "marmool" ซึ่งผู้หญิงชาวอาหรับนิยมใช้จุดเพื่อให้มีกลิ่นหอม

นอกจากนี้ กฤษณายังเป็นวัตถุดิบที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมและศิลปะ ต้นกฤษณามีลักษณะทรงพุ่มกลมโตเต็มพื้นที่ ใบจะเป็นรูปด้านรีเลียน ดอกจะเป็นสีเหลืองหรือขาว ผลของต้นกฤษณามักเป็นฝักยาวๆ ซึ่งเมื่อสุกจะแตกเป็นช่องเล็กๆภายในมีเมล็ด ต้นกฤษณาเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่ายและปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งและร้อน จึงเป็นที่นิยมในการใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านในชุมชนท้องถิ่นและอุตสาหกรรมต่างๆ

อ้างอิง แก้

  1. Broad, S. (1995) "Agarwood harvesting in Vietnam" TRAFFIC Bulletin 15:96
  2. 2.0 2.1 สมภัทร คลังทรัพย์ และจงรัก วัชรินทร์รัตน์. "ไม้กฤษณา…..ความเป็นไปได้ในการปลูกเชิงเศรษฐกิจ."