ศุฮุฟของมูซา (อาหรับ: صحف موسى Ṣuḥuf Mūsā) เป็นคัมภีร์โบราณที่กล่าวถึงสองครั้งในอัลกุรอาน คัมภีร์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ทางศาสนาของศาสนาอิสลาม แม้ว่าปัจจุบันเชื่อกันว่าคัมภีร์เหล่านั้นได้รับความเสียหายหรือสูญหายไปแล้วก็ตาม ชาวมุสลิมเข้าใจคัมภีร์เหล่านี้ว่าไม่ได้อ้างถึงเตารอฮ์ ซึ่งเป็นหนังสือธรรมบัญญัติหลักที่นบีมูซาได้รับมา แต่หมายถึงข้อความโบราณซึ่งมีโองการที่ได้รับการดลใจซึ่งนบีมูซาได้รับในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแห่งการเป็นนบี ซึ่งต่อมาได้ถูกเขียนลง โดยนบีมูซาเองและผู้ติดตามของท่าน

เบื้องหลัง แก้

ในสองซูเราะฮ์ซึ่งลงตั้งแต่ในมักกะฮ์ มีการอ้างอิงถึง 'บันทึก หรือ ม้วนคัมภีร์' (ศุฮุฟ) ของอิบรอฮีม (และ ของมูซา) ซึ่งข้อความบางข้อความที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้าซึ่งเขียนด้วยลายมือโดย อัครบิดร มีความหมาย สาส์นเหล่านี้อ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่าความจริงของสารของอัลลอฮ์มีอยู่ในการวะฮีย์แรกสุดที่ประทานแก่นบีอิบรอฮีมและนบีมูซา แม้ว่า ศุฮุฟ เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าหมายถึง 'ม้วนคัมภีร์' แต่นักแปลหลายคน - รวมทั้ง อับดุลลอฮ์ ยูซุฟ อะลี และ มาร์มาดูก พิคทอลล์ - ได้แปลกลอนนี้ว่า "คัมภีร์ของอับราฮัมและมูซา" [1] รวมถึงผู้แปลกุรอานในไทยก็ด้วย

อัลกุรอานกล่าวถึง แก้

มูซา ในฐานะนบีที่ชอบธรรมของอัลลอฮ์ ได้รับการวะฮีย์มากมายตลอดช่วงชีวิตของท่าน - เนื้อหาที่สามารถมีอยู่ในศุฮุฟของมูซานี้

  • Most surely this is in the earlier scriptures. The Books of Abraham and Moses.

    — Qur'an, sura 87 (Al-Ala), ayat 18-19[2]

    แท้จริง (ข้อตักเตือนสติ) นี้มีอยู่ในคัมภีร์ก่อน ๆ มาแล้ว คือคัมภีร์ของอิบรอฮีมและมูซา

    — อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 87 (อัลอะอ์ลา) อายะฮ์ที่ 18-19[3]
  • "Or, has he not been informed of what is in the scriptures of Moses? And (of) Abraham who fulfilled (the commandments)

    — Qur'an, sura 53( Al-Najm) ayat 36-37[4]

    หรือว่าเขามิไรับข่าวคราวที่มีอยู่ในคัมภีร์ของมูซา และ (ในคัมภีร์ของ) อิบรอฮีม ผู้ซึ่งปฏิบัติตามสัญญาอย่างครบครัน

    — อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 53 (อันนัจญ์ม) อายะฮ์ที่ 36-37[5]

ตัวตน แก้

นักวิชาการหลายคน ได้คาดเดาว่า "คัมภีร์ของมูซา" หมายถึง เตารอฮ์ หรือคัมภีร์อื่นของมูซา หรือไม่ แต่ความเชื่อของอิสลามที่ว่า เตารอฮ์ นั้น ในรูปแบบดั้งเดิมเป็นคัมภีร์ธรรมบทเดียว การเน้นที่พหูพจน์เกี่ยวกับ คัมภีร์ และไม่ใช่ คัมภีร์ ทำให้หลายๆ คน เชื่อว่าคัมภีร์เหล่านี้แตกต่างกัน นักตัฟซัรอัลกุรอาน อับดุลลอฮ์ ยูซุฟ อะลี กล่าวถึงว่า อาจเป็นการอ้างอิงถึงคัมภีร์ของชาวอิสราเอลที่สูญหายไป โดยเป็นการอ้างอิงถึง หนังสือสงครามของพระยาห์เวห์ หนังสือที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่อ้างถึงในพระคัมภีร์ไบเบิล ในกันดารวิถี 21:14

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวยิวมักจะอ้างถึงโทราห์ว่าเป็นหนังสือทั้งห้าเล่มของโทราห์ ที่โดดเด่นที่สุดคือ เฉลยธรรมบัญญัติ เล่มที่ห้า มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน และเรียกว่า 'มิชเนห์ โทราห์' ซึ่งเป็นการทบทวนโทราห์ นอกจากนี้ยังมีแนวทางโบราณที่กำหนดให้อาลักษณ์ทางศาสนาเว้นบรรทัดว่างสี่บรรทัดระหว่างหนังสือแต่ละเล่ม ประเพณีนี้ (บันทึกในคัมภีร์ทัลมุดของชาวบาบิโลน บาวา บาตรา หน้า 13) มีมาก่อนนบีมุฮัมมัดหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้จึงสันนิษฐานได้ว่านบีมุฮัมมัดหมายถึงหนังสือทั้งห้าของนบีมูซสตามที่พวกเขาทราบ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Marmaduke Pickthall, The Meaning of the Glorious Qur'an; Abdullah Yusuf Ali, The Holy Qur'an: Text, Translation and Commentary
  2. อัลกุรอาน 87:18–19
  3. อัลกุรอาน 87:18–19
  4. อัลกุรอาน 53:36–37
  5. อัลกุรอาน 53:36–37