ศาสนาฮินดูในประเทศโอมาน

ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในประเทศโอมาน โดยมีประชากรที่นับถือศาสนานี้ร้อยละ 5.5[1]

ประวัติ แก้

 
วิหารพระศิวะในประเทศโอมาน เป็นหนึ่งในวิหารฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในตะวันออกกลาง

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่มัสกัตดึงดูดบรรดาพ่อค้าชาวฮินดูที่ทำการค้าขายสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงไข่มุกและธัญพืช[2] ศาสนาฮินดูเข้ามายังโอมานครั้งแรกใน ค.ศ. 1507 เมื่อชาวฮินดูที่พูดภาษากัจฉิจากภูมิภาคกัจฉ์ในอินเดียเข้ามายังมัสกัต มีชาวฮินดูในโอมานอย่างน้อย 4,000 คนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ใน ค.ศ. 1895 การมีอยู่ของศาสนาฮินดูในมัสกัตตกอยู่ภายใต้การโจมตีของฝ่ายอิบาฎียะฮ์และใน ค.ศ. 1900 จำนวนชาวฮินดูในประเทศลดลงเหลือ 300 คน ในช่วงประกาศเอกราชโอมาน มีชาวฮินดูเพียงไม่กี่สิบคนที่เหลืออยู่ ย่านประวัติศาสตร์ al-Waljat และ al-Banyan ไม่มีชาวฮินดูอาศัยอีกต่อไป[2]

ประชากร แก้

โอมานเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่มีประชากรฮินดูพื้นเมือง โดยมีชาวฮินดูในโอมานอย่างน้อย 1,000 คนที่มีสัญชาติโอมาน[3] ทางซีไอเอรายงานว่า มีชาวฮินดูในประเทศ 259,780 คน ซึ่งเทียบเท่าร้อยละ 5.5 ของประชากรทั้งหมด[1]

วิหาร แก้

 
นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที ทำพิธี Abhishekam ที่วิหารพระศิวะที่มัสกัต ประเทศโอมานใน ค.ศ. 2018

มีวิหารฮินดูสองแห่งที่ได้รับการรับรองจากทางการในประเทศโอมาน[4] นั่นคือ วิหารพระศิวะที่มัสกัต (Motishwar Mandir) เป็นหนึ่งในวิหารฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในตะวันออกกลาง[5] ส่วนอีกแห่งคือวิหารพระกฤษณะที่อยู่ในมัสกัตเช่นเดียวกัน[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Middle East OMAN". CIA The World Factbook.
  2. 2.0 2.1 J.E. Peterson,Oman's diverse society: Northern Oman, Middle East Journal, Vol. 58, Nr. 1, Winter 2004
  3. Chaudhury, Dipanjan Roy (2020-01-12). "India announces national mourning for its close friend Sultan Qaboos of Oman". The Economic Times. ISSN 0013-0389. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
  4. "International Religious Freedom Report Oman for 2011" (PDF). สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
  5. Staff Report (19 December 2020). "Modi visits 125-year-old Shiva temple". GulfNews. สืบค้นเมื่อ 14 February 2018.
  6. "PM Modi to visit 200-year old Shiva temple in Muscat". dnaindia. 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.