ศาสนาพุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศาสนาพุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมนิกายหลัก ๆ ของศาสนาพุทธสองนิกาย: มหายานและเถรวาท ในอดีตเคยมีผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่นับถือนิกายเถรวาท ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นส่วนใหญ่ คือประเทศไทย กัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งหมดเป็นประเทศบนแผ่นดินใหญ่[1]

สถูปโบโรบูดูร์ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ที่ชวากลาง

ประเทศเวียดนามยังคงนับถือศาสนาพุทธแบบมหายานต่อไป เนื่องจากอิทธิพลของจีน[2] ในอดีตประเทศอินโดนีเซียเคยนับถือศาสนาพุทธแบบมหายานมาตั้งแต่สมัยไศเลนทร์กับศรีวิชัย[3] แต่ปัจจุบันผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานส่วนใหญ่เป็นชาวจีนโพ้นทะเล เช่นเดียวกันกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นศาสนาหลักของชุมชนจีนในประเทศสิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย

ศาสนาพุทธตามประเทศ แก้

 
วัดอรุณราชวรารามในกรุงเทพมหานครประเทศไทย ปัจจุบันศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือส่วนใหญ่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า กัมพูชา และลาว

ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาพุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190–205 ล้านคน ทำให้เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค โดยเป็นรองแค่ศาสนาอิสลาม ประมาณร้อยละ 35 ถึง 38 ของผู้นับถือศาสนาพุทธทั่วโลกอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อไปนี้คือรายชื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียงตามผู้นับถือศาสนาพุทธมากไปหาน้อยตามร้อยละของจำนวนประชากร

  • ประเทศไทย มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด อยู่ที่ประมาณร้อยละ 95 ในประชากร 67 ล้านคน รวมแล้วมีผู้นับถือประมาณ 63.75 ล้านคน[4][5]
  • ประเทศพม่า มีผู้นับถือศาสนาพุทธประมาณ 48 ล้านคน โดยร้อยละ 89 จากประชากร 54 ล้านคนนับถือนิกายเถรวาท[6][7] ในขณะที่ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายจีน นับถือนิกายมหายานคู่กับลัทธิเต๋า แต่ได้รับอิทธิพลจากเถรวาท
  • ประเทศเวียดนาม มีผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลคอมมิวนิสต์รายงานจำนวนผู้นับถือศาสนาต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมีผู้นับถือศาสนานี้ประมาณ 44 ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ[8][9] ชาวเวียดนามส่วนใหญ่นับถือนิกายมหายานเนื่องจากอิทธิพลของจีน[10]
  • ประเทศกัมพูชา มีประชากรนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทร้อยละ 97.9 ของประชากรทั้งหมด ทำให้มีผู้นับถือศาสนาพุทธประมาณ 14 ล้านคน[11] ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีชาวพุทธมากที่สุดตามอัตราร้อยละ ในช่วงปลาย ค.ศ. 2017 มีวัด 4,872 แห่งที่รองรับพระสงฆ์ 69,199 รูป[12] ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการรักษาศาสนาและวัฒนธรรมพุทธในประเทศกัมพูชา
  • ประเทศมาเลเซีย มีชาวพุทธประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนกับผู้มีเชื้อสายไทย, เขมร, สิงหลจำนวนหนึ่งและแรงงานต่างด้าวที่นับถือศาสนานี้ ผู้มีเชื้อสายจีนส่วนใหญ่นับถือนิกายมหายาน แต่เนื่องจากความพยายามของพระสงฆ์ชาวสิงหลกับความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับไทย ทำให้มีบางส่วนนับถือนิกายเถรวาทอยู่ด้วย[13][14]
  • ประเทศลาว มีชาวพุทธประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่าเกือบร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด[15][16]
  • ประเทศอินโดนีเซีย มีชาวพุทธประมาณร้อยละ 0.65 ของประชากรทั้งหมด[17] (ประมาณ 1.65 ล้านคนจากประชากร 254 ล้านคน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายจีน ชาวพุทธในประเทศส่วนใหญ่นับถือนิกายมหายานประมาณร้อยละ 60[17] ทั้งนี้เป็นการยากในการระบุตัวเลขที่แน่นอนเนื่องประชากรบางกลุ่มเป็นผู้นับถือทั้งศาสนาพุทธและฮินดูซึ่งมีประมาณ 20 ล้านคน[18]
  • ประเทศสิงคโปร์ มีชาวพุทธประมาณ 2 ล้านคน เทียบเท่ากับประมาณร้อยละ 33 ของประชากรทั้งหมด[19] โดยผู้มีเชื้อสายจีนส่วนใหญ่นับถือนิกายมหายาน ในขณะที่ผู้อพยพจากประเทศพม่า ไทย และศรีลังกานับถือนิกายเถรวาท[20]
  • ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด[21]
  • ประเทศบรูไน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในภูมิภาค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 13[22]ของประชากร และแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 65,000 คน[23]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

อ้างอิง แก้

  1. Kitiarsa, Pattana (1 March 2009). "Beyond the Weberian Trails: An Essay on the Anthropology of Southeast Asian Buddhism". Religion Compass (ภาษาอังกฤษ). 3 (2): 200–224. doi:10.1111/j.1749-8171.2009.00135.x. ISSN 1749-8171.
  2. CPAmedia: Buddhist Temples of Vietnam เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Singapore Philatelic Museum website: Southward Expansion of Mahayana Buddhism – Southeast Asia เก็บถาวร 19 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "The CIA World Factbook". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  5. state.gov – Thailand
  6. "Crisis in Myanmar Over Buddhist-Muslim Clash". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  7. "The World Factbook: Burma". CIA. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  8. "state.gov – Vietnam 2012 (included over 50% Mahayana + 1.2% Theravada + 3% Hoa Hao Buddhism and other new Vietnamese sects of Buddhism)". state.gov. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  9. United States Department of State
  10. Vietnam Tourism – Over 70 percent of the population of Vietnam are either Buddhist or strongly influenced by Buddhist practices. เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, mtholyoke.edu Buddhist Crisis 1963 – in a population that is 70 to 80 percent Buddhist เก็บถาวร 2017-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "The World Factbook: Cambodia". CIA. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  12. 26th annual Buddhist monk summit of Cambodia in Chaktomuk conference hall, Phnom Penh, December 2017.
  13. "Religious Adherents, 2010 – Malaysia". World Christian Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  14. state.gov (19.8% Buddhist + 1.3% Taoism/Confucianism/Chinese Folk Religion
  15. "CIA – The World Factbook". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  16. "Religious Adherents, 2010 – Laos". World Christian Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  17. 17.0 17.1 "Religious Adherents, 2010 – Indonesia (0.8% Buddhist + 0.9% Chinese Folk Religion/Confucianism)". World Christian Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-22. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  18. Indonesia 2020 International Religious Freedom Report. (International Religious Freedom Report for 2020), United States Department of State, Office of International Religious Freedom. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
  19. Singapore Department of Statistics (12 January 2011). "Census of population 2010: Statistical Release 1 on Demographic Characteristics, Education, Language and Religion" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 March 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
  20. "www.state.gov". state.gov. 15 September 2006. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011., "CIA Factbook – Singapore". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011., "Religious Adherents, 2010 – Singapore (14.8% Buddhist + 39.1% Chinese Folk Religion = 53.9% in total)". World Christian Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  22. "The World Factbook: Brunei". CIA. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  23. "Religious Adherents, 2010 – Brunei (9.7% Buddhist + 5.2% Chinese Folk Religion + 1.9% Confucianist)". World Christian Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-04. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  24. "Beautiful Borobudur: "Pathway to Enlightenment" in 40 Photos". lovethesepics (ภาษาอังกฤษ). 2011-05-09.

บรรรานุกรม แก้

  • Ancient History Encyclopedia. 2014. "Buddhism". Retrieved 9 October 2016.
  • Baird, Ian G. 2012. "Lao Buddhist Monks' Involvement in Political and Military Resistance to the Lao People's Democratic Republic Government since 1975". The Journal of Asian Studies. 71 (3): 655–677.
  • Buswell, R. 2004. Encyclopedia of Buddhism. New York: Macmillan Reference, USA.
  • Ileto, R. 1993. "Religion and Anti-Colonial Movements". The Cambridge History of Southeast Asia. Cambridge: Cambridge University Press, pp. 197–248.
  • Reat, N. 1994. Buddhism: A History. Berkeley, CA: Asian Humanities Press.
  • Tarling, N., & Cambridge University Press. 1992. The Cambridge History of Southeast Asia. Cambridge, UK; New York: Cambridge University Press.
  • Kitiarsa, Pattana. 2009. "Beyond the Weberian Trails: An Essay on the Anthropology of Southeast Asian Buddhism". Religion Compass3(2): 200–224.
  • Keyes, Charles. 2014. Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Chiang Mai: Silkworm Books
  • "The burning monk, 1963". rarehistoricalphotos.com. Retrieved 12 October 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้