ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งคณบดีวาระที่ 2

“วิสัยทัศน์ที่ดีนั้นต้องมีความก้าวล้ำ ไม่ใช่แค่ก้าวทัน และต้องไม่ใช่สิ่งที่เราทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นจุดหมายที่เรายังไม่เคยไปมาก่อนเพื่อท้าทายเราฝันให้ใหญ่ และไปให้ถึงความเป็นเลิศ” จาก..ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ


ประวัติการศึกษา

● ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● ปริญญาโท Master of Public and Private Management, Yale University, USA

● ปริญญาโท Master of Business Administration, Yale University, USA

● Certificate in Human Resource Management, Harvard University, USA

● DPhil (Management Studies), University of Oxford, UK


สู่…ความเชี่ยวขาญ ด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ

–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––

ประวัติการทำงาน

● ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ สาขาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2564

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ.2562 ถึง เมษายน 2566

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2566 ถึงปัจจุบัน

● อดีตหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 2 วาระ ปี พ.ศ.2557-2562

● อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตหัวหน้าหน่วยงานสื่อสารองค์กร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● กรรมการสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน

● คณะกรรมการนโยบายการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งเชี่ยวชาญระดับต้น เชี่ยวชาญระดับกลาง และเชี่ยวชาญระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการประกันคุณภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการอำนวยการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย

● อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ระดับนานาชาติ

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business)

● สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System)

● สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหภาพยุโรป

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs)

● สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา จากสหราชอาณาจักร

● ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับ The World Economic Forum : WEF ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย

● กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations

ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (เดิม: หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล; ประสูติ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489) เป็นธิดาในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่ทองแถม ประยูรโต

ประวัติ แก้

หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่หม่อมทองแถม ประยูรโต เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีเจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาสององค์ คือ หม่อมเจ้าหญิง(ยังไม่มีพระนาม; ถึงชีพิตักษัยเมื่อชันษาหนึ่งวัน) และพลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล และมีเจ้าพี่เจ้าน้องต่างหม่อมมารดาอีกสี่องค์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (ตอ. 26) และระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2521[1] เพื่อสมรสกับศักดา บุญจิตราดุลย์ มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่[2]

  • ทีฆ บุญจิตราดุลย์
  • ศศินทุ์ บุญจิตราดุลย์

ศรีสว่างวงศ์เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปปฏิบัติกรณีกิจอยู่บ่อยครั้ง เช่น ไปในการบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[3]

นอกจากนี้ศรีสว่างวงศ์ยังได้ถวายงานใต้เบื้องพระยุคลบาทมาโดยตลอดถึงปัจจุบัน เช่น

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง[4]

ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปี พ.ศ. 2560 ได้ร่วมเดินในริ้วขบวนอิสริยศ ริ้วขบวนที่ 2 พร้อมด้วยหม่อมเจ้าสี่องค์ คือ พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล, ร้อยเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล, ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ และหม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล[5]

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นประธานในพิธีตักบาตรเนื่องในพระราชพิธีสงกรานต์ โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ 150 รูป เข้าไปรับพระราชทานบิณฑบาตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง[6]

ในปี พ.ศ. 2563 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานในพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 50 รูป ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร, วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง[7]

และในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ 50 รูป จากวัดต่าง ๆ เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตรของหลวงตามราชประเพณี ในพระบรมมหาราชวัง[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์, เล่ม 96, ตอนที่ 16, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522, หน้า 587
  2. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
  4. ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2559
  5. https://news.thaipbs.or.th/content/266944
  6. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/750236
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  8. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระราชวงศ์ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2563
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้