วีจีลีโอแห่งเตรนโต

นักบุญวีจีลีโอแห่งเตรนโต (อิตาลี: San Vigilio di Trento) หรือวีจีลิอุสแห่งเทรนต์ (ละติน: Vigilius Tridentinum) เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์และบิชอปองค์แรกของรัฐมุขนายกเทรนต์ และเป็นคนละคนกับสมเด็จพระสันตะปาปาวิจิเลียส ตามที่เล่าขานกันมาวิจิเลียส พลเมืองชั้นสูงของจักรวรรดิโรมันและเป็นบุตรของแม็กเซนเทีย หรือ ชายที่บางครั้งก็เรียกกันว่าธีโอโดเซียส[1][3]

วีจีลีโอแห่งเตรนโต
“นักบุญวีจีลีโอแห่งเตรนโต”
บิชอปและมรณสักขี
เกิดราว ค.ศ. 353
เตรนโต ประเทศอิตาลี
เสียชีวิต26 มิถุนายน ค.ศ. 405
ทะเลสาบการ์ดา[1] ประเทศอิตาลี
นิกายโรมันคาทอลิก
วันฉลอง26 มิถุนายน
สัญลักษณ์บิชอปถือรองเท้า, รองเท้าไม้[2]
องค์อุปถัมภ์เตรนโต, ติรอล[1]; เหมืองและการทำเหมือง [2]

พี่น้องชาย "คลอเดียน" และ "มาโกเรียน" ต่างก็ได้รับการประกาศเป็นนักบุญเช่นกัน[3] วีจีลีโอได้รับการศึกษาที่เอเธนส์และดูเหมือนจะรู้จักกับจอห์น คริสซอสตอมด้วย[3] จากนั้นวีจีลีโอก็เดินทางไปยังกรุงโรมและต่อไปยังเตรนโตในปี ค.ศ. 380 และไปตั้งถิ่นฐานที่นั่นจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปองค์แรกของเมือง[3] วีจีลีโออาจจะรับศีลบวชไม่ก็จากนักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน หรือก็จาก วาเลเรียนแห่งอควิเลีย[3] ในฐานะบิชอปวีจีลีโอก็พยายามชักจูงให้ผู้ถือลัทธิเอเรียสและลัทธิเพกันให้หันมานับถือคริสต์ศาสนาแบบอนุรักษนิยม และกล่าวกันว่าได้ทำการสร้างคริสต์ศาสนสถานถึงสามสิบแห่งในมุขมณฑล ในจดหมายที่กล่าวกันว่าเขียนโดยนักบุญแอมโบรสกล่าวถึงบิชอปแห่งมิลานที่หว่านล้อมให้วีจีลีโอต่อต้านการแต่งงานระหว่างผู้ถือคริสต์ศาสนาและเพกัน (Ep. 29 in P.L., XVI, 982).[3] วีจีลีโอทำการเทศนาในเบรสชาและเวโรนาที่ต่างก็อยู่นอกมุขมณฑล

เพื่อนนักบวชระหว่างการเดินทางเทศนาก็ได้แก่นักบุญซิซินเนียส, นักบุญมาร์ทีเรียส และนักบุญอะเล็กซานเดอร์ที่นักบุญแอมโบรสส่งไปช่วยวีจีลีโอ[4] กล่าวกันว่านักบุญทั้งสามองค์มาจากคัปปาโดเกีย (Cappadocia) ในประเทศตุรกีปัจจุบัน[3] กล่าวกันว่าวีจีลีโอเขียน “De Martyrio SS. Sisinnii, Martyrii et Alexandri[3]

นักบุญซิซินเนียส, นักบุญมาร์ทีเรียส และ นักบุญอะเล็กซานเดอร์ถูกสังหารที่ซันเซโนเมื่อพยายามชักจูงให้ประชากรในท้องถิ่นเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนา[4] วีจีลีโอยกโทษให้ฆาตกรและส่งร่างของนักบุญทั้งสามองค์ไปให้จอห์น คริสซอสตอมที่คอนสแตนติโนเปิลและแก่ซิมพลิเชียนผู้สืบต่อจากนักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน[4] ต่อมามอบเรลิกคืนให้แก่ซันเซโน ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่นำไปตั้งสักการะไว้ที่บาซิลิกาเซนต์ซิซินเนียส, เซนต์มาร์ทีเรียส และ เซนต์อเล็กซานเดอร์[4]

วีจีลีโอมีตำนานเกี่ยวข้องกับโรเมดิอุสผู้มักจะปรากฏกับหมีหรือขี่หมี ตามชีวประวัตินักบุญของโรเมดิอุส นักบุญโรเมดิอุสต้องการที่จะมาเยี่ยมวีจีลีโอที่เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ยังเยาว์วัย แต่ม้าของโรเมเดียสถูกหมีฉีกเป็นชิ้น ๆ [5] โรเมเดียสจึงให้ลูกศิษย์ดาวิเดเอาอานผูกหมี หมีก็เชื่องและยอมให้โรเมเดียสขี่ไปยังเทรนโท[5]

การเสียชีวิต แก้

 
พุนตาซานวิจิลิโอที่กล่าวกันว่าเป็นที่ที่วิจิเลียสถูกสังหาร
 
น้ำพุเทพเนปจูนหน้ามหาวิหารเตรนโต

ตามตำนานที่เล่าขานกันเป็นเวลานานต่อมาภายหลัง[4] วิจิเลียสพร้อมกับพี่น้องชายคลอเดียนและมาโกเรียนและนักบวชชื่อจูเลียนถูกสังหารในบริเวณที่ปัจจุบันคือเรนเดนาในหุบเขาเรนเดนา ที่วิจิเลียสไปทำการเทศนาต่อต้านผู้คนในท้องถิ่นที่ทำการสักการะเทพแซทเทิร์น วีจีลีโอประกอบพิธีมิสซาและจับประติมากรรมของเทพเจ้าโยนลงไปในแม่น้ำซารกา วีจีลีโอถูกลงโทษโดยการถูกขว้างด้วยก้อนหินจนเสียชีวิตใกล้ทะเลสาบการ์ดาในบริเวณที่เรียกว่าพุนตาซานวิจิลิโอ[3]

สิ่งที่กลับตาลปัตรคือหน้ามหาวิหารของวีจีลีโอในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประติมากรรมของเทพเพกันเทพเนปจูน

การสักการะ แก้

วิจิเลียสได้รับการฝังไว้ที่วัดที่ตนเองสร้างที่เทรนโทที่ต่อมาได้รับการขยายโดยบิชอปองค์ต่อมาออยกิพเพียสแห่งเทรนต์และอุทิศให้แก่วีจีลีโอ ที่ต่อมาเป็นมหาวิหารซันวีจีลีโอ[3] ทันทีที่เสียชีวิตวิจิเลียสก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตและกิจการที่กระทำได้รับการส่งไปยังกรุงโรมและดูเหมือนว่าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 1 จะทำการสถาปนาในนามของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 ("De canonizat. SS.", Prato, 1839, I, ch. iv, no. 12) และเรียกวีจีลีโอว่าเป็น “มรณสักขีที่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญคนแรกโดยพระสันตะปาปา”[6] แขนของวีจีลีโอถูกแยกออกมาเป็นเรลิกบรรจุในหีบบรรจุมงคลวัตถุในปี ค.ศ. 1386.[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 https://www.sqpn.com/saintv0n.htm[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 ? (?). "Vigilius von Trent". Ökumenisches Heiligenlexikon. สืบค้นเมื่อ October 17, 2008. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 ? (?). "St. Vigilius". Catholic Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ October 15, 2008. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "San Vigilio". Santie Beati. February 1, 2001. สืบค้นเมื่อ October 17, 2008.
  5. 5.0 5.1 http://www.santiebeati.it/dettaglio/37950
  6. http://www.newadvent.org/cathen/15426c.htm

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้