วิวัฒนาการเบนออก

วิวัฒนาการเบนออก[1] (อังกฤษ: divergent evolution) เป็นการสะสมความแตกต่างระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ แต่ก็สามารถใช้กับรูปแบบทางชีววิทยาระดับโมเลกุล เช่น หมายถึงโปรตีนอนุพันธ์ต่าง ๆ ของยีนที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous genes) สองยีนหรือมากกว่านั้น ดังนั้น ทั้งยีนแบบ orthologous (คือยีนกำเนิดเดียวกันที่สืบมาจากการเกิดสปีชีส์) และแบบ paralogous (คือยีนกำเนิดเดียวกันที่มาจากการเพิ่มขึ้นของยีน [gene duplication]) สามารถมีความต่างที่จัดว่ามาจากวิวัฒนาการเบนออก เพราะเหตุหลังนี่ วิวัฒนาการเบนออกจึงสามารถเกิดระหว่างสองยีนในสปีชีส์เดียวกัน

นกจาบปีกอ่อนของดาร์วินเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและมีชื่อเสียงในกระบวนการวิวัฒนาการเบนออก ที่สปีชีส์บรรพบุรุษแผ่ปรับตัวกลายเป็นสปีชีส์ลูกหลานต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ทั้งเหมือนกันและไม่เหมือนกัน

ความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่วิวัฒนาการเบนออกจากกันมาจากการมีกำเนิดเดียวกัน ดังนั้น จึงจัดว่ามีต้นกำเนิดเดียวกัน (homologous) เปรียบเทียบกับ วิวัฒนาการเบนเข้าที่เกิดเมื่อสิ่งมีชีวิตปรับตัวอย่างเป็นอิสระจากกันและกันแล้วเกิดโครงสร้างคล้ายกันแต่มีกำเนิดต่างกัน (analogous) เช่น ปีกของนกและของแมลง

การใช้คำ แก้

นักธรรมชาตินิยมชาวอเมริกัน (J. T. Gulick 1832-1923) เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำว่า "divergent evolution"[2]

วิวัฒนาการเบนออกเกิดเมื่อโครงสร้างที่มีกำเนิดเดียวกัน ได้ปรับตัวต่าง ๆ กันในสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น แขน/ขาหน้าซึ่งปัจจุบันเป็นอวัยวะสำหรับพายในวาฬ เป็นปีกในค้างคาว เป็นมือในไพรเมต และเป็นขาในม้า เช่นกัน วิวัฒนาการเบนออกได้แยกสายพันธุ์มนุษย์จากชิมแปนซี[3]

นกจาบปีกอ่อนของดาร์วิน เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับวิวัฒนาการเบนออก ที่นก 15 สปีชีส์วิวัฒนาการเบนออกจากนกจาบปีกอ่อนสปีชีส์เดียวที่บินมาถึงหมู่เกาะกาลาปาโกส[4]

อนึ่ง วิวัฒนาการเบนออกของหมาบ้านและหมาป่าจากบรรพบุรุษเดียวกัน ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง[5] งานศึกษาดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียในหมาบ้านและหมาป่าพบว่า มีการเบนออกจากกันอย่างมาก แต่งานก็ยังสนับสนุนสมมติฐานว่า หมาบ้านเป็นลูกหลานของหมาป่า[6]

การเกิดสปีชีส์ คือการเบนออกของสปีชีส์หนึ่งกลายเป็นสปีชีส์ลูกหลานสองสปีชีส์หรือเกินกว่านั้น เกิดเมื่อประชากรส่วนหนึ่งของสปีชีส์แยกออกจากกลุ่มหลักแล้วทำให้ผสมพันธุ์กันไม่ได้ ในการเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณและรอบบริเวณ เครื่องกีดขวางการผสมพันธุ์เป็นอุปสรรคทางกายภาพ (เช่น น้ำท่วม เทือกเขา ทะเลทรายเป็นต้น) เมื่อแยกกันแล้ว กลุ่มที่แยกจากกันก็จะเริ่มปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของตนเอง ๆ ผ่านกระบวนการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงและการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หลังจากผ่านไปหลายชั่วยุคโดยวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง กลุ่มทั้งสองก็จะไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้แม้มาอยู่รวมกันอีก[7]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "divergent evolution", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (พฤษศาสตร์) วิวัฒนาการเบนออก
  2.  Gulick, John T. (September 1888). "Divergent Evolution through Cumulative Segregation". Journal of the Linnean Society of London, Zoology. 20 (120): 189–274. doi:10.1111/j.1096-3642.1888.tb01445.x. สืบค้นเมื่อ 26 September 2011. (ต้องรับบริการ)
  3. MacAndrew, Alec. "Human/chimpanzee divergence". สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.
  4. Lack, David. 1947. Darwin's Finches. Cambridge University Press (reissued in 1961 by Harper, New York, with a new preface by Lack; reissued in 1983 by Cambridge University Press with an introduction and notes by Laurene M. Ratcliffe and Peter T. Boag).
  5. "Unraveling the mysteries of dog evolution". สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.
  6. Vilà, Carles; Savolainen, Peter; Maldonado, Jesús E.; Amorim, Isabel R.; Rice, John E.; Honeycutt, Rodney L.; Crandall, Keith A.; Lundeberg, Joakim; Wayne, Robert K. (13 June 1997). "Multiple and Ancient Origins of the Domestic Dog". 276 (5319): 1687–1689. doi:10.1126/science.276.5319.1687. PMID 9180076. สืบค้นเมื่อ 14 December 2016 – โดยทาง www.sciencemag.org. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. "Sympatric speciation". สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.