วิปลาส หรือ วิปัลลาส หมายถึงความรู้เห็นที่คลาดเคลื่อนหรือความรู้เข้าใจอันผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง[1] ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ได้ให้ความหมายของวิปลาสไว้ว่า "คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ"[2] ซึ่งวิปลาสในทางพระพุทธศาสนานั้นมี 3 ลักษณะคือ

  1. สัญญาวิปลาส คือสัญญาคลาดเคลื่อน รู้หมายผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่นคนตกใจเห็นเชือกเป็นงู
  2. จิตตวิปลาส คือจิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่นคนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร
  3. ทิฏฐิวิปลาส คือทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่นมีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล

ประเภท แก้

วิปลาสทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะ มีทั้งสิ้น 4 ประเภท คือ

  1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
  2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
  3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน
  4. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม ดังคำว่าของเหม็นบางชนิดออกฤทธิ์เป็นของหอม โลกนี้วิจิตรสวยงามดุจราชรถ

รวมทั้งสิ้นเป็น 12 วิปลาส

อ้างอิง แก้

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม 2546.
  2. "พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-13.