วินัย ภัททิยกุล

พลเอก วินัย ภัททิยกุล (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491) ประธานกรรมการ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), ประธานกรรมการ บริษัท สบายดี แอร์เวย์ส จากัด[1] อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อดีตเลขาธิการ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและเป็นหนึ่งในผู้ดูแลการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

พลเอก วินัย ภัททิยกุล
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าพลเอก สิริชัย ธัญญสิริ
ถัดไปพลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (76 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสศศิณี ภัททิยกุล

ประวัติ แก้

พลเอก วินัย ภัททิยกุล เกิดเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 มีชื่อเล่นว่า "ตุ่น" ซึ่งสื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตุ่น" จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 6 (ตท.6-ร่วมรุ่นกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน, พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์, พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข, พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น พ.ศ. 2508 หรือ จปร.17 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางศศิณี ภัททิยกุล (นามสกุลเดิม ชลออยู่-มีศักดิ์เป็นหลานของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ อดีต ผบ.ทร.และหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) มีบุตรและธิดา 3 คน คือ นายสกลธี ภัททิยกุล, พ.ต.สุธีพัฒน์ ภัททิยกุล และ นางสาวภัสวดี ภัททิยกุล

ชีวิตราชการและการเมือง แก้

รับราชการอยู่ในกองบัญชาการทหารสูงสุด สังกัดกรมข่าวทหาร ได้รับพระราชทานยศพลตรี (พล.ต.) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 เป็นรองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นรองเจ้ากรมข่าวทหาร เมื่อ พ.ศ. 2539 และรับพระราชทานยศพลโท (พล.ท.) ตำแหน่งเจ้ากรมข่าวทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก

พล.อ.วินัย ได้รับพระราชทานยศพลเอก (พล.อ.) ในตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อ พ.ศ. 2545 ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

โดยก่อนหน้านั้น พล.อ.วินัย ถือได้ว่าเป็นนายทหารที่ใกล้ชนิดสนิทสนมกับ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ด้วยการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาก่อน และเคยถูกควบคุมตัวในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ท่าอากาศยานกองบิน 6 (สนามบิน บน.6) ของกองทัพอากาศ พร้อม พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ, พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก และนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์

และ พล.อ.วินัย ยังสนิทสนมกับ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน มาก ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่น ถึงขนาดรับประทานอาหารร่วมกันและนอนเตียงเดียวกันมาก่อน ในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.วินัย เป็นนายทหารระดับสูงคนแรกที่ พล.อ.สนธิชักชวนมาร่วมการรัฐประหารด้วย โดย พล.อ.วินัยเป็นผู้ที่ตั้งชื่อคณะรัฐประหารครั้งนี้เองว่า "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" (คปค.) โดยมีเจตนาจะให้รำลึกถึง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ที่เป็นญาติผู้ใหญ่ของภริยา ที่มีบทบาทในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 หลังจากนั้น บทบาทของ พล.อ.วินัย เป็นไปในลักษณะของที่ปรึกษาของคณะ คปค.และ คมช. และยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ คมช.และได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม[3] จนได้รับฉายาว่า "ขงเบ้ง คมช." อีกทั้งเมื่อหลังจากที่ พล.อ.สนธิ เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผบ.ทบ. มีข่าวว่า พล.อ.สนธิ แต่งตั้ง พล.อ.วินัย ให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.[4][5]

พลเอก วินัย ได้รับแต่งตั้งพระราชทานยศ พลเรือเอก พลอากาศเอก และแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ ในปี พ.ศ. 2549[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2552 -   เครื่องอิสริยาภรณ์ดาร์จาห์ อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[10]

อ้างอิง แก้

  1. พิธีเจิมเครื่องบินและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ อากาศยาน ลำที่ 10 NewGen Airways[ลิงก์เสีย]
  2. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน ๖๑๒ ราย)
  4. หนังสือ ลับ ลวง พราง ปฏิวัติปราสาททราย ISBN 9789746038294 โดย วาสนา นาน่วม :สำนักพิมพ์มติชน
  5. [ลิงก์เสีย] เปิดตัว..ว่าที่ ผบ.ทบ.คนใหม่ ไฉนไม่ใช่พี่พรั่ง ? (1) จากโอเคเนชั่น
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลเอก วินัย ภัททิยกุล พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์)
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๓
  10. MINDEF Singapore. President Nathan Confers Top Military Award on Thailand's Former Permanent Secretary for Defence. เมื่อ 23 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566