พลตำรวจเอก วินัย ทองสอง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและนายตำรวจราชสำนัก[1]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และนายกสมาคมตำรวจ[2]

วินัย ทองสอง
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555
(ย้ายไปช่วยราชการสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)
ก่อนหน้าพลตำรวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
ถัดไปพลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2500 (67 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการ- พ.ศ. 2560
ยศ พลตำรวจเอก

อดีตรองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ9) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[3]

เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา[4] บุตรของนาย ธิชัย และนาง เจียมจิตต์ ทองสอง จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 32 (นรต.32) เริ่มรับราชการด้วยการเป็นนายเวรผู้บังคับการตำรวจภูธร 12 จังหวัดยะลา จนกระทั่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม ในปี พ.ศ. 2547 ด้วยยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) ในยุครัฐบาลที่มีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

พล.ต.ท.วินัย ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมและเกี่ยวพันกับตระกูลชินวัตร เนื่องจากภริยา นางพราวนภางค์ ทองสอง หัวหน้าส่วนสำนักข้อมูลและวิจัย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีศักดิ์เป็นหลานสาวของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะที่เกิดการรัฐประหารเกิดขึ้น พล.ต.ท.วินัย ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ ได้รับคำสั่งทางสายโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่นครนิวยอร์ก ให้นำกองกำลังเข้าทำการควบคุมตัว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ อันเป็นบ้านพักส่วนตัว แต่ยังมิทันได้ดำเนินการ เนื่องมีกองกำลังทหารและรถถังเข้าอารักขาไว้หมดแล้ว และในคืนวันนั้น พล.ต.ท.วินัย เองก็ถูกควบคุมตัวด้วย[5][6]

ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2554 พล.ต.ท.วินัย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แทนที่ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 แทน[7] [8]

ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปช่วยราชการที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมกับมอบให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เข้ามารักษาราชการ และปฏิบัติหน้าที่แทน โดยให้มีผลทันที เชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาไม่ได้ ซึ่งชุมนุมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแห่งชาติ (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ของรัฐบาล[9]

จากนั้นก็ได้มีการเลื่อนยศ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ให้เป็น พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ขณะที่ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 [10]

และต่อมาก็ได้ย้ายเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดูแลงานด้านกองบัญชาการตำรวจนครบาล[11]ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2566 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/031/13.PDF
  2. พลตำรวจเอก วินัย ทองสอง นายกสมาคมตำรวจ พร้อมด้วย พลตำรวจโท พิมล บำรุง หัวหน้าสมาคมตำรวจ สาขาโรงพยาบาลตำรวจ และคณะ ตรวจเยี่ยมข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยมี พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ นายแพทย์ (สบ 6) และคณะให้การต้อนรับ
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
  4. สืบเสาะเจาะข่าว โดย สืบพงษ์ อุณหรัตน์ ทาง F.M. 92.25 MHz: วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2555
  5. "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" เสาหลักการเมืองไทย
  6. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  7. วินัย ทองสอง จากไทยรัฐ
  8. [ลิงก์เสีย] กลั่นกรองนายพลฉลุย เด็ก “เพื่อไทย” ยึดเก้าอี้สำคัญ! จากผู้จัดการออนไลน์
  9. ฟ้าผ่า!! เด้ง "วินัย ทองสอง" พ้นเก้าอี้ ผบช.น.ช่วยราชการ 4 เดือน ให้ "คำรณวิทย์" มีผลทันที จากมติชน
  10. "ก.ตร.มติเอกฉันท์! "คำรณวิทย์"นั่ง ผบช.น.-"วินัย"นั่ง ผบช.ภ.1 จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
  11. "โยก 8 ผบช. เข้ากรุ ปฏิรูปตั้งกระทรวงตร". ผู้จัดการออนไลน์. 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.[ลิงก์เสีย]
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๖, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๖, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘