พลตรี[4] วินธัย สุวารี (ชื่อเล่น: ต๊อด; เกิด: 7 สิงหาคม พ.ศ. 2512[5]) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก อดีตโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตโฆษกกองทัพบก และอดีตนักแสดงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงเด่นในการรับบทเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วินธัย สุวารี
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
วินธัย สุวารี
คู่สมรสอภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม[1][2]
(2556-ปัจจุบัน)
คู่ครองปริศนา กล่ำพินิจ[3]
(?-2549; เลิกรา)
ปีที่แสดง2550-ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสมเด็จพระเอกาทศรถ จากตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2536–ปัจจุบัน
ชั้นยศ พลตรี

ประวัติ แก้

พลตรี วินธัย สุวารี เป็นบุตรคนกลางจากทั้งหมดสามคนของพลตำรวจโท วันชัย สุวารี อดีตนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย กับเตือนใจ สุวารี มีพี่สาวชื่อวาศินี วัฒนสุวรรณ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับที่38 บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำกัด (มหาชน) และน้องชายชื่อนาวาอากาศเอก[6] วุฒิกร สุวารี เสนาธิการศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ผู้ช่วยโฆษกกองทัพอากาศ[5] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอักษรเจริญ ระดับมัธยมศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 30 ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 41 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา วินธัย เข้าสู่วงการแสดง ด้วยการคัดเลือกจากหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เพื่อที่จะคัดเลือกตัวนักแสดงเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ต้องการนักแสดงที่เป็นนายทหารจริง ๆ เช่นเดียวกับบทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากนั้นจึงได้เรียนการแสดงเป็นระยะเวลา 9 เดือน[5]

ในปี พ.ศ. 2557 กองทัพบกมีการประกาศกฏอัยการศึก พันเอก วินธัย สุวารี (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้อ่านประกาศและคำสั่ง กอ.รส. เผยแพร่ทางโทรทัศน์ และเมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พันเอก วินธัย ก็เป็นผู้อ่านประกาศและคำสั่งของ คสช. ด้วย

พลตรี วินธัย สุวารี มีชื่อที่เรียกกันจนติดปากว่า "ผู้พันต๊อด" และยังเป็นนักร้องนำของวงดนตรีของกองทัพอีกด้วย

ชีวิตส่วนตัว แก้

พลตรี วินธัยมีความใฝ่ฝันที่อยากเป็นข้าราชการมาตั้งแต่เด็ก โดยมีบิดาซึ่งเป็นตำรวจเป็นแรงบันดาลใจ แต่บิดามีความรู้สึกชอบทหารมากกว่าจึงแนะนำให้วินธัยเป็นทหาร[5] วินธัยอธิบายชื่อจริงว่าบิดาเป็นผู้ตั้งให้ โดยเป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งในอินเดีย ส่วนชื่อเล่นว่า "ต๊อด" นั้น เป็นเสียงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมัยก่อนที่เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดังกล่าว[5]

พลตรี วินธัย เคยคบหากับปริศนา กล่ำพินิจ อดีตนักแสดง แต่ภายหลังได้เลิกรากันไป[3] ปัจจุบัน พันเอก วินธัยได้จดทะเบียนสมรสกับอภิรดี ภวภูตานนท์ ซึ่งเป็นนักแสดงเช่นกัน เมื่อปี พ.ศ. 2556[1][2]

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นนักกีฬาเจ็ตสกีด้วย โดยเข้าร่วมแข่งขันในนามทีมชาติไทยในรายการเจ็ตสกีโลก 2015 ที่สหรัฐอเมริกา[7][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

การงาน แก้

ประวัติตำแหน่งและการทำงาน

  • พ.ศ. 2537-2538  : รองผู้บังคับตอน เรดาร์ ศปภอ.ทบ.2
  • พ.ศ. 2538-2539  : ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

  • พ.ศ. 2539-2540  : รองผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

  • พ.ศ. 2540-2542  : ช่วยราชการตำแหน่ง นายทหารคนสนิทรองผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2542-2544  : ช่วยราชการตำแหน่ง นายทหารคนสนิทผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2544-2545  : หัวหน้าศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ

กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

  • พ.ศ. 2545-2546  : ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2546-2547  : นายทหารยุทธการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9
  • พ.ศ. 2547-2548  : ประจำกองกิจการพลเรือนกองทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2548-2554 : ผู้ช่วยอำนวยการกองข่าว กองทัพน้อยที่ 1
  • พ.ศ. 2554-3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 : รองโฆษกกองทัพบก
  • พ.ศ. 2557 : โฆษกกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557- 1 ตุลาคม 2563 : โฆษกกองทัพบก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน กองทัพบก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2566 : ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก[8]

ผลงาน แก้

ละครโทรทัศน์ แก้

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ รับบทเป็น หมายเหตุ
2558 น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์​ ช่อง 3 เอชดี น้าพล แสดงรับเชิญ
ช่อง

ผลงานละครชุด แก้

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2562 บ้านของเรา
ลูกผู้ชายหัวใจทองคำ
ช่อง 5 ร้อยเอก เผด็จ เหรียญกล้า (พ่อสันติ) คู่กับ ปัทมา ปานทอง
25 ช่อง 7

ซิทคอม แก้

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
25 ช่อง 7 แสดงรับเชิญ
25 ช่องวัน 31 แสดงรับเชิญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "จดแล้ว "แก้ว อภิรดี" นอนกอดทะเบียนสมรส "ผู้พันต๊อด"" (Press release). มติชน. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "แก้ว อภิรดี ยอมรับ จดทะเบียนสมรสกับ ผู้พันต๊อด". กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "คนบันเทิงตุงนัง! "แก้ว" หย่า "อ๊อด" แย่ง "ต๊อด" จาก "ปู"" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 10 สิงหาคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-21. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "'ไม่เคยฝันเป็นอย่างอื่นนอกจากทหาร...' เปิดใจ 'ผู้พันต๊อด' รองโฆษก คสช. สุดฮอต". ข่าวสด. 30 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2014.
  6. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/B/021/1.PDF
  7. "@tnnthailand ผู้พันต๊อด 'พ.อ.วินธัย' ร่วมทัพทีมไทยลุยศึกเจ็ตสกีโลก 2015 ที่สหรัฐอเมริกา 3-11 ตุลาคมนี้". เฟซบุก. 11 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า 11)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ หน้า ๑๐๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๘, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๗, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า วินธัย สุวารี ถัดไป
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด    
โฆษกกองทัพบก
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในตำแหน่ง