วิทยาศาสตร์การอาหาร

วิทยาศาสตร์การอาหาร (อังกฤษ: food science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เน้นการศึกษาของอาหาร เริ่มตั้งแต่เก็บเกี่ยวจนถึงการบริโภคมีส่วนคาบเกี่ยวกับวิชาเกษตรศาสตร์ ". ตำราวิทยาศาสตร์การอาหารกำหนดวิทยาศาสตร์การอาหารว่า เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและวิศวกรรมเพื่อการศึกษาทางกายภาพเคมีและลักษณะทางชีวเคมีของอาหารและหลักการของการแปรรูปอาหาร [1]วิทยาศาสตร์การอาหาร มีสาขาย่อยดังนี้

นักวิทยาศาสตร์การอาหารมีหน้าที่ดังนี้

  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่
  2. ออกแบบกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่
  3. เลือกบรรจุภัณฑ์
  4. ศึกษาอายุการเก็บรักษา (shelf-life) ของอาหาร
  5. ประเมินผลความนิยมของผู้บริโภค
  6. ตรวจสอบทางเคมีและจุลชีววิทยา

วิทยาศาสตร์การอาหารมีเนื้อหาหลักๆดังนี้

คุณสมบัติของอาหาร แก้

เบราว์นิ่ง แก้

เบราว์นิ่งคือการเปลี่ยนสีอาหารให้เข้มขึ้นโดยการผลิตสารสีน้ำตาลเมลานิน (melanin) มี 2 วิธีคือ

  1. การทำคาราเมล (caramelization)
  2. ปฏิกิริยาเมล์ลาร์ด (Maillard reaction)
  3. แอสคอร์บิกแอซิด ออกซิเดชั่น (ascorbic-acid oxidation)

การหมัก แก้

การหมักเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเพื่อใช้ถนอมอาหารและปรับปรุงรสชาติ โดยเฉพาะการหมักทำให้ เกิดรสอูมามิ (umami) ที่มีเฉพาะในกระบวนการหมัก อาหารหมักที่นิยมกันมากได้แก่

  1. เนยแข็ง
  2. โยเกิร์ต
  3. ขนมปัง
  4. เบียร์
  5. ไวน์
  6. น้ำส้มสายชู
  7. ของดอง
  8. ซีอิ้ว
  9. กิมจิ

การพาสเจอไรซ์ แก้

การพาสเจอไรซ์ คือกระบวนการทำลายเชื้อโรคทั้งหมดในผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ อาหารที่ผ่านการพาสเจอไรซ์จึงต้องแช่เย็น เพื่อชลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำลายคุณภาพอาหาร

  1. Potter, Norman N.; Hotchkiss, Joseph H. (1998). Food Science. Food science texts series (5th ed.). Springer.ISBN 9780834212657.