วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) (อังกฤษ: Siam Technological College (Siamtech))[2] เป็นสถานศึกษาเอกชนที่เปิดสอนด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย[3] เป็นสถาบันในเครือเดียวกันกับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(อุดมศึกษา)และมหาวิทยาลัยสยาม โดยอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวานิช เป็นผู้ริเริ่มและก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยใช้ชื่อโรงเรียนเมื่อแรกเริ่มในการจัดตั้งว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม”[4] เปิดสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ระดับ ปวช. 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างวิทยุ-โทรคมนาคม นับว่าเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดทำการสอนทางด้านอาชีวศึกษา ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และทางโรงเรียนได้ทำพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2508 โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิด

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)
ชื่อย่อสยามเทค (Siamtech)
ประเภทวิทยาลัยอาชีวศึกษา
ที่ตั้ง
เว็บไซต์http://www.siamtech.ac.th

ประวัติ แก้

เมื่อโรงเรียนได้เปิดดำเนินการไปแล้ว ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งมีอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช เป็นผู้อำนวยการ ผู้จัดการและอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ ดร.เกษลัย มงคลวนิช เป็นรองผู้อำนวยการ พร้อมทั้งคณาจารย์ จุดเริ่มต้นที่ก่อตั้งโรงเรียน ซึ่งมีเพียงอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียน 8 ห้อง ห้องปฏิบัติการ 6 ห้อง ห้องฝ่ายบริหารและธุรการอย่างละ 1 ห้อง (ปัจจุบันรื้อถอนและสร้างอาคารอเนกประสงค์ 12 ชั้นแทน) มีอาคารไม้ 2 ชั้น 1 หลัง ชั้นบนใช้เป็นห้องสมุด ห้องพยาบาล ชั้นล่างเป็นห้องอาหาร เมื่อเปิดดำเนินการไปได้เพียง 1 ปี จึงได้ขยายเนื้อที่จากเดิมซึ่งมีอยู่ 6 ไร่เศษ ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 13 ไร่ 250 ตารางวา และสร้างอาคารเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนี้

  • สร้างอาคารคอนกรีต 4 ชั้น 1 หลัง (อาคาร 2) เมื่อ พ.ศ. 2508 ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ
  • สร้างอาคารโครงเหล็กชั้นเดียว 1 หลัง (อาคาร 3)เมื่อ พ.ศ. 2510 ใช้เป็นโรงอาหาร และเมื่อได้ก่อสร้างอาคารโรงอาหารใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2512 แล้วจึงใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชาเทคนิคพื้นฐาน (ปัจจุบันรื้อถอนและสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้นแทน)
  • สร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้น2 1 หลัง (อาคาร 6)เมื่อ พ.ศ. 251 ใช้เป็นโรงอาหาร
  • สร้างอาคารคอนกรีต 4 ชั้น 1 หลัง (อาคาร 4)เมื่อ พ.ศ. 2514 เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชาช่างยนต์ และสร้างอาคาร 5 ชั้น 1 หลัง (อาคาร 5) เพื่อใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ
  • ก่อสร้างอาคารคอนกรีต 5 ชั้น ขึ้นอีก 1 หลัง เมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อเป็นที่ระลึกใน โอกาสครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2525 และใช้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคารเกษณรงค์ (อาคาร7) อาคารหลังนี้เป็นอาคารปฏิบัติการวิชาช่างยนต์ และวิชาเทคนิคพื้นฐาน
  • ได้สร้างอาคารคอนกรีต 4 ชั้นขึ้น 1 หลัง (อาคาร 8)เมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการก่อตั้งโรงเรียนมาครบ 20 ปี และอาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ สำหรับวิชาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนชั้นล่างใช้เป็นห้องพยาบาลและห้องอเนกประสงค์สำหรับ ให้นักศึกษาพักผ่อนเล่นกีฬา และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของโรงเรียน

เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ปีมหามงคล พ.ศ. 2535 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ 12 ชั้น (อาคาร 9) เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชพิธีอันเป็นมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย อาคารหลังนี้ มีหอประชุมใหญ่ 1,200 ที่นั่ง ห้องสัมมนา ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ทำการฝ่ายบริหารและห้องประกอบอื่นๆ อาคารหลังนี้เปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานนามอาคารนี้ว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ” และพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ประดิษฐานไว้เหนือชื่ออาคารและในปีเดียวกันนี้ได้ขยายเนื้อที่และสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น อีก 2 หลัง (อาคาร 10,11) เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน

ได้ก่อสร้างอาคารกีฬาขึ้นอีก 1 หลัง (อาคาร 12)เมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนวิชาพลศึกษา และให้นักเรียนนักศึกษาพักผ่อนและออกกำลังกาย

ได้สร้างอาคารกิจกรรมและนันทนาการ เป็นอาคารโครงเหล็ก 3 ชั้นขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2537 เพื่อเพิ่มเนื้อที่พักผ่อนให้กับนักเรียน-นักศึกษา นอกจากนั้น ชั้น 2-3 ของอาคารจะจัดเป็นห้องกิจกรรมและนันทนาการของนักเรียน

ได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 ชั้น (อาคาร 13)เมื่อ พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นอาคารเรียน ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม

ได้สร้างสนามกีฬากลางแจ้ง เมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนวิชาพลานามัย และออกกำลังกายของนักศึกษา

ได้พิจารณาชื่อโรงเรียนที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มแรกว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” สมควรที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาโรงเรียน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2524 จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม)” การที่โรงเรียนได้ใช้ชื่อ (ช่างกลสยาม) ไว้ท้ายชื่อโรงเรียนใหม่ด้วยนั้น เพื่อรักษาสถานภาพความเป็น โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทยไว้

โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม ได้รับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา (ต่ำกว่าปริญญาตรี) ประจำปีการศึกษา 2544 และในปีการศึกษา 2554 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)”[5]

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

 
ป้ายวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)

ปีการศึกษา 2565[6]

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม แก้

  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รอบเช้า
      • ช่างยนต์
      • ช่างไฟฟ้ากำลัง
      • แมคคาทรอนิกส์
  • รับผู้จบม.3 หรือเทียบเท่าหลักสูตร 3 ปี
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รอบเช้า และรอบวันอาทิตย์
      • เทคนิคยานยนต์
      • เทคนิคยานยนต์ (ทวิภาคี)
      • เทคนิคยานยนต์ (หลักสูตรพิเศษระบบราง)
      • การพิมพ์ (ทวิภาคี)
      • ไฟฟ้ากำลัง
      • ไฟฟ้ากำลัง (หลักสูตรพิเศษระบบราง)
      • แมคคาทรอนิกส์
  • รับผู้ที่จบ ปวช. 3 หรือเทียบเท่า และผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าหลักสูตร 2 ปีสำหรับสาขางานเทคนิคยานยนต์ เปิดหลักสูตรทวิภาคี หลักสูตร 2 ปี รอบเช้า รับผู้ที่จบ ปวช. สาขางานยานยนต์

ประเภทวิชาพาณิชยกรรม แก้

  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รอบเช้า
      • การบัญชี
      • การตลาด
  • รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รอบเช้า และรอบวันอาทิตย์
      • การบัญชี
      • การบัญชี(รอบวันอาทิตย์)
      • การตลาด
      • การตลาด(รอบวันอาทิตย์)
  • รับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พาณิชยกรรมทุกสาขาวิชา และผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แก้

  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รอบเช้า
      • การโรงแรม
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รอบเช้า
      • การโรงแรมและบริการ
  • รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า
  • รับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พาณิชยกรรมทุกสาขาวิชา และผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

ประเภทวิชาศิลปกรรม แก้

  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รอบเช้า
      • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
      • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รอบเช้า และรอบวันอาทิตย์
      • เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
      • ดิจิทัลกราฟิก
  • รับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พาณิชยกรรมทุกสาขาวิชา และผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:เอกสาร_แต่งตั้งผู้อำนวยการ.pdf
  2. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:CCF11232013_0001.pdf
  3. https://www.mediawiki.org/wiki/File:เอกสาร_การก่อตั้งโรงเรียนช่างกลสยาม.pdf
  4. ประกาศนายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม [สมาคมศิษย์เก่าเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม)][ลิงก์เสีย]
  5. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:CCF11232013_0001.pdf
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-18. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°44′20″N 100°28′17″E / 13.738822°N 100.471427°E / 13.738822; 100.471427