วิทยาลัยนครราชสีมา

วิทยาลัยนครราชสีมา (วนม.) (อังกฤษ: Nakhonratchasima College) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท

วิทยาลัยนครราชสีมา
ชื่อย่อวนม. / NMC
คติพจน์เรียนรู้ สร้างสรรค์ พัฒนา นำคุณค่าบัณฑิตสู่สังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนาพ.ศ. 2547
อธิการบดีรศ.ดร.วิภาส ทองสุทธิ์
อธิการบดีรศ.ดร.วิภาส ทองสุทธิ์
ผู้ศึกษา2,725 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
สี████ สีน้ำเงิน สีชมพู
เว็บไซต์www.nmc.ac.th

ประวัติ แก้

วิทยาลัยนครราชสีมาเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 บนเนื้อที่ กว่า 20 ไร่ ณ บริเวณตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2545 ซึ่งพระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยท่านอาจารย์ ดร.ชนากานต์ ยืนยง เป็นผู้รับใบอนุญาต

วิทยาลัยนครราชสีมา เปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยมุ่งพัฒนานักศึกษาทั้งด้านวิชาการ ทักษะความชำนาญทางวิชาชีพ ที่มีศักยภาพและมีคุณค่าต่อสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยใช้ชื่อ อันเป็นมงคลว่า วิทยาลัยนครราชสีมา

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ได้ดำเนินการจัดทำโครงการเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย โดยขยายเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ ณ ตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัย [2][3]

คณะที่เปิดสอน แก้

วิทยาลัยนครราชสีมา เปิดทำการสอน 5 คณะ ทั้งในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 15 สาขาวิชา และปริญญาโท 6 หลักสูตร[3] ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยนครราชสีมา[3]
คณะ ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท
คณะสหเวชศาสตร์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขากายภาพบำบัด
  • สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

หลักสูตรการแพทยแผนจีนบัณฑิต (พจ.บ)

  • สาขาการแพทย์แผนจีน

หลักสูตรการการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ.)

  • สาขาการแพทย์แผนไทย

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)

  • สาขาสาธารณสุขชุมชน
  • สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
  • สาขาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ - หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
  • สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
  • สาขาวิชาชีพครู
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน
คณะนิติศาสตร์ - หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ - หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

อ้างอิง แก้

  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-26.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัย".