วิทยาธารน้ำแข็ง

วิทยาธารน้ำแข็ง (อังกฤษ: Glaciology) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับธารน้ำแข็ง น้ำแข็ง และปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับน้ำแข็ง

Lateral moraine on a glacier joining the Gorner Glacier, Zermatt, Swiss Alps. The moraine is the high bank of debris in the top left hand quarter of the picture. For more explanation, click on the picture.

วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์โลกที่รวมเอา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีสัณฐานวิทยา ภูมิอากาศวิทยา อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา ชีววิทยา และ นิเวศวิทยา ผลกระทบของธารน้ำแข็งต่อชีวิตผู้คน รวมไปถึงสาขาวิชาของ ภูมิศาสตร์มนุษย์ และมานุษยวิทยา นอกนี้ยังมีวิชาเพิ่มขึ้นมาใหม่อย่างวิชา astroglaciology หลังมีการค้นพบน้ำแข็งนอกโลกเช่น น้ำแข็งบนดวงจันทร์ ดาวอังคาร ยูโรปาและดาวพลูโต[1]

ภาพรวม แก้

เนื้อหาของวิทยาธารน้ำแข็งจะครอบคลุมประวัติของธารน้ำแข็งและการจำลองการเกิดของธารน้ำในอดีต ธารน้ำแข็งเป็นผืนน้ำแข็งที่บริเวณกว้างที่ก่อตัวมาจากหิมะที่ตกลงมาและสะสมกันเป็นระยะเวลาหลายๆปี การเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งจะช้ามากๆซึ่งอาจจะเป็นการเคลื่อนตัวลงจากภูเขาสูง เช่นในธารน้ำแข็งหุบเขา หรืออาจจะเป็นการเคลื่อนตัวออกจากจุดศูนย์กลางของการสะสมเช่นในธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป

วิทยาธารน้ำแข็งมักศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของธารน้ำแข็งในอดีต นักวิทยาธารน้ำแข็งเป็นชื่อของผู้ที่ทำการศึกษาศาสตร์นี้ นักวิทยาธารน้ำแข็งจะศึกษาการสะสมตัวและการกร่อนภูมิประเทศของธารน้ำแข็ง ศาสตร์นี้เป้นหัวข้อสำคัญของการวิจัยบริเวณขั่วโลก

ชนิด แก้

 
Glacially-carved Yosemite Valley, as seen from a plane

ธารน้ำแข็งสามารถแบ่งได้โดยรูปทรงเรขาคณิตและความสัมพันธ์กับภูมิประเทศโดยรอบ นักธารน้ำแข็งแบ่งธารน้ำแข็งออกเป็นสองชนิด: ธารน้ำแข็งแอล์ไพน์ มีลักษณะเป็นคล้ายแม่น้ำของน้ำแข็งที่เกิดจากการสะสมจะอยู่ในหุบเขา; และ ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป ที่การสะสมไม่ได้จำกัดเฉพาะในหุบเขาซึ่งครั้งหนึ่งเคยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปในซีกโลกเหนือ

  • ธารน้ำแข็งแอล์ไพน์ – น้ำแข็งไหลลงมาตามหุบเขาและเคลื่อนตัวไปสู่ที่ราบด้านล่าง ธารน้ำแข็งแอล์ไพน์มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดภูมิประเทศที่มีความขรุขระมากและสามารถเปลี่ยนรูปลักษณะของภูมิประเทศได้ เช่น เกิดแอ่งเขาขนาดใหญ่คล้ายชาม
  • ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป – พืดน้ำแข็งที่พบทุกวันนี้อยู่ในละติจูดสูงทั้งสิ้น (กรีนแลนด์/แอนตาร์กติกา) ครอบคลุมพื้นที่หลายพันตารางกิโลเมตรและหนาเป็นพันเมตร ธารน้ำแข็งประเภทนี้ทำให้ภูมิประเทศมีลักษณะราบเรียบ

การแบ่งเขตบนธารน้ำแข็ง แก้

  • เขตของการสะสม (accumulation) เป็นพื้นที่ ๆ หิมะก่อตัวได้เร็วกว่าการละลาย
  • เขตของการละลาย (ablation) เมื่อผลรวมการละลาย การหลุดตัวและการระเหยมากกว่าการสะสมตัวเพิ่มในแต่ละปี
  • เส้นสมดุลหิมะ (snow line) เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่าง เขตของการสะสม และ เขตของการละลาย (เมื่อหิมะที่สะสมตัวเคลื่อนมาถึงเส้นนี้จะเริ่มมีการละลาย)

อ้างอิง แก้

  1. Richard S. Williams, Jr. (1987). "Annals of Glaciology, v.9" (PDF). International Glaciological Society. p. 255. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้