วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์

พลตำรวจเอก พลโท วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555) อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตรองเสนาธิการทหารบก และบิดาของ นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ อดีต ส.ว. จังหวัดพะเยา และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน

วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์
ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2516 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468
เสียชีวิต22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (87 ปี 108 วัน)
บุตรสุรเดช ยะสวัสดิ์
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยเทคนิคทหารบกเหล่าช่าง
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจเอก
พลโท

ประวัติ แก้

พลตำรวจเอก วิฑูรย์เกิดที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 เป็นบุตรชายของนายเปลื้องและนางแช่ม ยะสวัสดิ์จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเทคนิคทหารบกเหล่าช่างเมื่อปี พ.ศ. 2490 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สมรสกับ หม่อมราชวงศ์จิตราภา ยะสวัสดิ์ (นวรัตน์) มีบุตรชาย 1 คนคือ สุรเดช ยะสวัสดิ์

รับราชการ แก้

พลตำรวจเอกวิฑูรย์เริ่มรับราชการใน กองทัพบก จนได้เป็นผู้บังคับการกองผสมที่ 333 ที่ทำการรบแบบไม่เปิดเผยจนพลตำรวจเอกวิฑูรย์ได้รับฉายาว่า หัวหน้าเทพ หรือ เทพ 333 เนื่องจากท่านมีชื่อเล่นว่า เทพ หลังจากนั้นท่านได้เลื่อนตำแหน่งจนสูงขึ้นตามลำดับ

ต่อมาหลังจากเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค พลตำรวจเอก วิฑูรย์ขณะมียศเป็น พลตรี ได้ถูกโอนย้ายมารับราชการใน กรมตำรวจ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในสมัยที่ พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็น อธิบดีกรมตำรวจ และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516 [1] ตลอดสมัยที่ท่านเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจท่านได้พัฒนากรมตำรวจจนเจริญรุดหน้าแต่ท่านและพลตำรวจเอกประจวบก็ได้ถูกโอนย้ายกลับไปรับราชการที่กองทัพบกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 [2] โดยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากองทัพบกพร้อมกับได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 [3] ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกันพลโท วิฑูรย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพลแทนพลโท เฉลิม สุทธิรักษ์ที่ย้ายไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุง [4]

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พลตรี วิฑูรย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศ พลโท ในเวลาต่อมา แทน พลโท สิทธิ จิรโรจน์ ที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกรับพระราชทานยศ พลเอก[5] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 10 วันก็ถูกโยกให้มาประจำ กองบัญชาการทหารสูงสุด ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 10/2519 ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2519[6] จากนั้นคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับต่อมาคือฉบับที่ 11/2519 ลงวันเดียวกันได้สั่งให้พลโท วิฑูรย์ย้ายไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาการศึกษา ( ชั้น 2 ) ประจำ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแทนนายสนิธ พุกประยูรโดยให้ไปรับตำแหน่งใหม่ภายใน 48 ชั่วโมงและให้รับเงินเดือนจากตำแหน่งประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดคงเดิม [7] ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2528

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พลโทวิฑูรย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ขณะมีอายุได้ 87 ปีโดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 141 ง พิเศษ หน้า 21 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 35 ง พิเศษ หน้า 10 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 70 ง หน้า 891 1 เมษายน พ.ศ. 2518
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 203 ง พิเศษ หน้า 2-16 30 กันยายน พ.ศ. 2518
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 115 ง หน้า 2634-2650 28 กันยายน พ.ศ. 2519
  6. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 10/2559 เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 131 ง พิเศษ หน้า 1 18 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  7. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 11/2519 เรื่อง ให้ข้าราชการประจำกรม และแต่งตั้งข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 131 ง พิเศษ หน้า 2 18 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๑๙๐, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑