วิกิเมเนีย

การประชุมนานาชาติประจำปีสำหรับผู้ใช้ของโครงการวิกิที่บริหารโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย

วิกิเมเนีย (อังกฤษ: Wikimania) เป็นการประชุมระดับนานาชาติประจำปีสำหรับผู้ใช้ของโครงการวิกิที่ดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย (ประกอบด้วยวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ)[1] หัวข้อการนำเสนอและการอภิปรายประกอบด้วยโครงการมูลนิธิวิกิมีเดีย, วิกิอื่น ๆ, ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ, ความรู้และเนื้อหาเสรี และสังคมที่แตกต่างรวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านี้

วิกิเมเนีย
สถานะยังคงดำเนินการ
ประเภทการประชุม
ความถี่ประจำปี
ประเดิม5 สิงหาคม 2005; 18 ปีก่อน (2005-08-05)
ล่าสุด13–17 สิงหาคม ค.ศ. 2021
จัดโดยทีมอาสาสมัครท้องถิ่น
สถานะการยื่นภาษีไม่แสวงผลกำไร
เว็บไซต์wikimania.wikimedia.org

รายละเอียดการจัดงาน แก้

การประชุมวิกิเมเนีย
สัญลักษณ์ การประชุม วันที่ สถานที่ ทวีป ผู้เข้าร่วม เอกสารนำเสนอ
 
วิกิเมเนีย 2005 5–7 สิงหาคม   แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี   380[2] สไลด์, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2006 4–6 สิงหาคม   เคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา   400[3] สไลด์และเอกสาร, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2007 3–4 สิงหาคม   ไทเป ไต้หวัน   440[4] แกลเลอรีคอมมอนส์
 
วิกิเมเนีย 2008 17–19 กรกฎาคม   อะเล็กซานเดรีย อียิปต์   650[5] บทคัดย่อ เก็บถาวร 2011-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สไลด์,วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2009 26–28 สิงหาคม   บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา   559[6] สไลด์, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2010 9–11 กรกฎาคม   กดัญสก์ โปแลนด์   ประมาณ 500[7] สไลด์
 
วิกิเมเนีย 2011 4–7 สิงหาคม   ไฮฟา อิสราเอล   720[8] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2012 12–15 กรกฎาคม   วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา   1,400[9][10] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2013 7–11 สิงหาคม   ฮ่องกง   700[11] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2014 6–10 สิงหาคม   ลอนดอน สหราชอาณาจักร   1,762[12] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2015 15–19 กรกฎาคม   เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก   800[13] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2016 21–28 มิถุนายน   เอซีโนลารีโอ อิตาลี   1,200[14] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2017 9–13 สิงหาคม   มอนทรีออล แคนาดา   1,000[15][16] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2018 18-22 กรกฎาคม   เคปทาวน์ แอฟริกาใต้   มากกว่า 700[17] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ
 
วิกิเมเนีย 2019 14–18 สิงหาคม   สตอกโฮล์ม สวีเดน   มากกว่า 800[18] การนำเสนอผลงาน, วิดีโอ

ประวัติ แก้

วิกิเมเนีย 2005 แก้

 
โกลบอลวอยซ์พาเนลที่การประชุม ค.ศ. 2005 ซึ่งมี ออสเซน เดราคชาน, ทิง เฉิน, อีแซม บายาซีดี และ มิลตัน ไอเนฮูแรงกา เป็นผู้บรรยาย

การประชุมวิกิเมเนียครั้งแรกจัดขึ้นใน เฮาส์เดอร์ยูเกนด์ ที่ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในวันที่ 4–8 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งดึงดูดผู้เข้าร่วมงานราว 380 คน[2]

สัปดาห์ของการประชุมประกอบด้วยสี่ "วันแฮ็คกิ้ง" ในวันที่ 1–4 สิงหาคม ซึ่งนักพัฒนาบางส่วนรวมตัวกัน 25 คน เพื่อทำงานด้านโค้ดและหารือด้านเทคนิคของวิกิมีเดีย รวมถึงการทำงานของโครงการวิกิมีเดีย วันหลักของการประชุมมีการเรียกเก็บเงินในวันที่ 4–8 สิงหาคม ซึ่งวันที่ 5-7 สิงหาคม ตรงกับวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ของสัปดาห์ ระยะการนำเสนอเป็นไปตามกำหนดการทุกวันตลอดช่วงเวลาสามวัน

ผู้บรรยายที่สำคัญประกอบด้วย จิมมี เวลส์, รอส เมย์ฟิลด์, วอร์ด คันนิงแฮม และ ริชาร์ด สตอลล์แมน (ซึ่งพูดเกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์และชุมชนในสมัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์") โดยส่วนใหญ่ของการประชุมและการสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ แม้จะมีเพียงเล็กน้อยที่ใช้ภาษาเยอรมัน

ผู้ให้การสนับสนุนประกอบด้วย อานเซอร์.คอม, โซเชียลเท็กท์, ซันไมโครซิสเต็มส์, ด็อคเช็ค[19] และโลกอสกรุ๊ป

วิกิเมเนีย 2006 แก้

 
ผู้เข้าร่วมประชุมรับประทานอาหารกลางวัน

วิกิเมเนีย 2006 จัดขึ้นในวันที่ 6 ถึง 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ที่โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด เบิร์กแมนเซ็นเตอร์ฟอร์อินเทอร์เน็ตแอนด์โซไซตี ในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 400[3]–500[20] คน

ผู้บรรยายประกอบด้วย จิมมี เวลส์, ลอว์เรนซ์ เลสสิก, บริวสเตอร์ คาห์ล, ยอไช แบลงเกอร์, มิช เคเปอร์, วอร์ด คันนิงแฮม และ เดวิด เวย์นเบอร์เกอร์ ส่วนแดน กิลเมอร์ ได้จัดวารสารศาสตร์พลเมืองนอกวาระประชุมในวันถัดมา

การปราศัยที่ครบถ้วนของเวลส์ครอบคลุมเรื่องแอซโซซิเอตเพลส และได้จัดพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมากไปทั่วโลก เขาเล่าลำดับเหตุการณ์ให้ฟังว่ามูลนิธิได้วิวัฒนามาจากการ "สวมชุดนอน" ของเขาจนถึงการกลายเป็นองค์กรที่มั่นคงเช่นปัจจุบันได้อย่างไร; การผลักดันเรื่องคุณภาพเหนือกว่าปริมาณ: การรวมวิกิพีเดียเข้าไว้ในโครงการแจกจ่ายคอมพิวเตอร์ วันแล็ปท็อปเพอร์ไชลด์; ทั้งโครงการวิกิวิทยาลัยและการก่อตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาล้วนได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของมูลนิธิ; และการพัฒนา Wiki-WYG ซึ่งต้องขอบคุณต่อการลงทุนในภาคเอกชนผ่าน วิเกีย และ โซเชียลเท็กท์[21]

อานเซอร์.คอม เป็นผู้อุปถัมภ์หลักอย่างเป็นทางการของวิกิเมเนีย 2006 ขณะที่ แอมะซอน.คอม, เบิร์กแมนเซ็นเตอร์ฟอร์อินเทอร์เน็ตแอนด์โซไซตี ที่ โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด, โนเกีย, วิกิฮาว เป็นผู้สนับสนุนในระดับ-บีนีแฟกเตอร์, เว็ทเพนท์, อาสค์.คอม, ยาฮู!, และ โซเชียลเท็กท์ เป็นผู้สนับสนุนระดับ-เฟรนด์ กับ ไอบีเอ็ม, FAQ ฟาร์ม, เอเลเวชันพาร์ทเนอร์, วันแล็ปท็อปเพอร์ไชลด์ และ มูลนิธิซันไลท์ เป็นผู้สนับสนุนระดับ-ซัพพอร์ตเตอร์ ของการประชุมครั้งนี้[22]

สำหรับเมืองอื่นที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ได้แก่ ลอนดอน, มิลาน, บอสตัน และ โทรอนโต; มีเพียงโทรอนโตกับบอสตันเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณาจากคณะผู้จัดงานวิกิเมเนียให้ผ่านสู่รอบที่สอง กรณีที่โทรอนโตนั้นเสนอให้จัดงานขึ้นที่เบเฮนเซ็นเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยโทรอนโต

วิกิเมเนีย 2007 แก้

 
งานแถลงข่าวสำหรับ ชุงหัวเทเลคอม กับการสนับสนุน วิกิเมเนีย 2007 ในไทเป

ตามผลที่ประกาศเมื่อ 25 กันยายน ค.ศ. 2006, วิกิเมเนีย 2007[23] ได้จัดขึ้นที่ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน บนเกาะไต้หวัน ตั้งแต่วันที่ 3-5 สิงหาคม ค.ศ. 2007 การประชุมนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดคอร์สฝึกอบรมให้แก่อาสาสมัคร[24]

อีก 3 เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน ได้แก่ ลอนดอน, อะเล็กซานเดรีย และ ตูริน ส่วนข้อเสนอจาก เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, สิงคโปร์, อิสตันบูล และ ออร์แลนโด นั้นไม่ผ่านการพิจารณาให้เข้ารอบคัดเลือก[25]

วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ผู้สื่อข่าว โนม โคเฮน จาก เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า: "การประชุมนี้ดึงดูดผู้เข้าร่วมประมาณ 440 คน โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในไต้หวัน ซึ่งต้องการใช้เวลาตลอด 3 วันกับแนวคิดและประเด็นต่างๆ ที่ทำให้เกิดสารานุกรมที่เขียนขึ้นโดยอาสาสมัครทั้งหมด[4] เวิร์คชอปในงานครอบคลุมหลายประเด็นเช่น การมีส่วนร่วมอย่างสันติ ความสำคัญของการมอบ "ประสบการณ์" ในโครงการที่ยินยอมให้ใครมีส่วนร่วมก็ได้ แม้แต่ผู้แก้ไขบทความที่ไม่แสดงชื่อของตน"[4]

วิกิเมเนีย 2008 แก้

 
แบนเนอร์ วิกิเมเนีย อเล็กซานเดรีย 2008

วิกิเมเนีย 2008 จัดขั้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ตั้งแต่วันที่ 17-19 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 มีผู้เข้าร่วมประมาณ 650 คนจาก 45 ประเทศ[5] สถานที่จัดงานคือ บีบลิออเธคา อะเล็กซานเดรีย มีสามเมืองที่ถูกเสนอในตอนสิ้นสุด และมีสองเมืองอื่นเป็น แอตแลนตา และ เคปทาวน์ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอจัดงานที่ คาลส์รูเออ, ลอนดอน และ โทรอนโต แต่ถอนตัวออกไปในภายหลัง มีความขัดแย้งในการจัดงานอยู่บ้างเนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องการเซ็นเซอร์ในอียิปต์รวมถึงการจำคุกบล็อกเกอร์[26][27]

วิกิเมเนีย 2009 แก้

 
ภาพถ่ายกลุ่ม

วิกิเมเนีย 2009 จัดขึ้นในบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ในวันที่ 26–28 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 559 ราย[6] การเลือกรอบสุดท้ายเป็นการตัดสินเลือกเมืองจัดงาน ระหว่างบัวโนสไอเรส กับโทรอนโต ส่วนบริสเบน กับคาลส์รูเออ นั้น ได้รับการเสนออย่างเป็นทางการ แต่ถอนตัวออกจากการพิจารณาในภายหลัง

วิกิเมเนีย 2010 แก้

 
จิมมี เวลส์ แนะนำ วิกิพีเดียภาษามลยาฬัม ซึ่งเป็นซีดีของ 500 บทความที่ได้รับเลือกสำหรับชาววิกิเมเนีย ในระหว่างการปาฐกถาพิเศษของเขาที่เมืองกดัญสก์

วิกิเมเนีย 2010[28] จัดขึ้นในวันที่ 9-11 กรกฎาคม ในโปลิชบัลติกฟิลฮาร์โมนิค ที่เมืองกดัญสก์ ประเทศโปแลนด์ วันที่เริ่มต้นคือวันที่ 9 ซึ่งตรงกับช่วงท้ายของการประชุมวิชาการวิกิซิม นี่เป็นครั้งที่สองที่วิกิเมเนียจัดขึ้นในสหภาพยุโรป การเสนอเมืองจัดอย่าง อัมสเตอร์ดัม และ ออกซฟอร์ด สำหรับวิกิเมเนีย 2010 ได้แพ้มติไปโดยขอบจำกัด นี่เป็นการประชุมครั้งแรกซึ่งมุ่งเน้นหลักไปยังวัฒนธรรมของเจ้าภาพผู้จัดประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเสิร์ตออเคสตรา เพื่อรำลึกครบรอบ 10 ปี การเสียชีวิตของนักประพันธ์ร่วมสมัยรายสำคัญที่มีชื่อว่า วลาดีสลาฟ สฟีลมัน และภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์เรื่อง ทรูอินนัมเบอร์ส?

ในที่ประชุม ซู การ์ดเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิวิกิมีเดีย กล่าวว่าจุดมุ่งหมายของมูลนิธินี้ คือ การเจริญเติบโตจำนวนผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ของวิกิพีเดียจาก 371 ล้านคน ไปเป็น 680 ล้านคนต่อเดือน ในช่วงหลังจากห้าปีถัดไป

วิกิเมเนีย 2011 แก้

 
ภาพถ่ายกลุ่ม

วิกิเมเนีย 2011การประชุมวิกิเมเนียครั้งที่เจ็ดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 4 ถึง 7 สิงหาคม ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล[29] โดยได้จัดการประชุมขึ้นที่หอประชุมไฮฟาและอยู่ติดกับศูนย์วัฒนธรรมเบย์เฮชต์ที่ภูเขาคาร์เมล การประชุมประกอบด้วย 125 หัวข้อซึ่งดำเนินพร้อมกันห้าส่วน และมีผู้เข้าร่วม 720 คน[29] จาก 56 ประเทศ[30] รวมถึงมาจากดินแดนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลด้วย

วิกิเมเนีย 2012 แก้

 
ภาพถ่ายกลุ่ม

วิกิเมเนีย 2012 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–15 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ที่ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,400 คน จาก 87 ประเทศ[31]

วิกิเมเนีย 2013 แก้

สารคดีเกี่ยวกับวิกิเมเนีย 2013

วิกิเมเนีย 2013 จัดขึ้น ณ วันที่ 7–11 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ณ มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง

หนึ่งในกิจกรรมจัดขึ้นที่อินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในฮ่องกง

เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ได้แก่ ลอนดอน (สหราชอาณาจักร), บริสตอล (สหราชอาณาจักร), เนเปิลส์ (อิตาลี) และสุราการ์ตา (อินโดนีเซีย)

วิกิเมเนีย 2014 แก้

 
ผู้เข้าร่วมงาน

วิกิเมเนีย 2014 ได้มีการเสนอชื่อเมืองเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 โดยกรุงลอนดอนได้รับเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 [32] โดยมีเมืองที่เสนอชื่ออื่นเพียงเมืองเดียว ซึ่งมาจากอารูชา (ประเทศแทนซาเนีย) การประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ วันที่ 8–10 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ที่ศูนย์ศิลปะบาร์บิกัน[33]

วิกิเมเนีย 2015 แก้

สารคดีวิกิเมเนีย 2015

เม็กซิโกซิตีได้รับเลือก (โดยมีเมืองอื่น ๆ ที่เสนอชื่อ ได้แก่ อารูชา, ตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย; จังหวัดบาหลี ในประเทศอินโดนีเซีย; เคปทาวน์ ในประเทศแอฟริกาใต้; ดาร์-เอส-ซาลาม ในประเทศแทนซาเนีย; เอซีโนลารีโอ จังหวัดเลกโก แคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี และจังหวัดโมนาสเทียร์ ประเทศตูนิเซีย) ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมครั้งที่สิบเอ็ด ได้มีกำหนดจัดขึ้น ณ วันที่ 15-19 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 โดยมีสถานที่จัดงานหลักอยู่ที่หอสมุดบัสกอนเซโลสของเมืองนี้[34][35] มีการจัดตั้งวิกิมีเดียเม็กซิโกที่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งเป็นสมาคมระดับท้องถิ่นของเม็กซิโกที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์และเป้าหมายของมูลนิธิวิกิมีเดีย[36]

วิกิเมเนีย 2016 แก้

การนำเสนอสารคดี

วิกิเมเนีย 2016 เป็นการประชุมวิกิเมเนียครั้งที่สิบสอง ซึ่งจัดขึ้น ณ วันที่ 24 ถึง 26 มิถุนายน ค.ศ. 2016 กับอีเวนต์ที่ต่อพ่วงตั้งแต่วันที่ 21 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน ในหมู่บ้านบนภูเขาของเอซีโนลารีโอ ประเทศอิตาลี[37] ซึ่งเอซีโนลารีโอเคยประสบความล้มเหลวในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพสำหรับวิกิเมเนีย 2015 นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้จัดในเมืองใหญ่ โดยในระหว่างอีเวนต์ ได้มีการประกาศถึงผู้อำนวยการบริหารเฉพาะกาลของมูลนิธิวิกิมีเดียชื่อแคเธอรีน มาเฮอร์ ว่าได้รับการแต่งตั้งอย่างถาวร

วิกิเมเนีย 2017 แก้

 
ภาพถ่ายกลุ่มในพิธ๊ปิดการประชุม

วิกิเมเนีย 2017 การประชุม วิกิเมเนีย ครั้งที่สิบสามจัดขึ้นที่โรงแรม เลอเซ็นเตอร์เชอราตัน ในมอนทรีออล รัฐควิเบก แคนาดา ตั้งแต่วันที่ 9 ถึง 13 สิงหาคม ค.ศ. 2017[38][39] จัดขึ้นในช่วงที่ประเทศแคนาดาเฉลิมฉลองการก่อตั้งครบรอบ 150 ปี และครบรอบ 375 ปีของนครมอนทรีออล[40] การประชุม วิกิคอนเฟอเรนซ์ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของงานในสองวันแรก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การประชุม วิกิเมเนีย ไม่ได้ใช้ระบบการเสนอเพื่อเป็นเจ้าภาพ โดยถูกแทนที่ด้วยกระบวนการคัดเลือกโดยคณะกรรมการของมูลนิธิวิกิมีเดีย

วิกิเมเนีย 2018 แก้

 
ภาพถ่ายกลุ่ม

Wikimania 2018 การประชุม วิกิเมเนีย ครั้งที่สิบสี่จัดขึ้นใน เคปทาวน์, แอฟริกาใต้, จากวันที่ 18 ถึง 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่โรงแรม เคปซันเซาเทิร์นซัน ชุดรูปแบบสำหรับงานครั้งนี้คือ " การเชื่อมโยงช่องว่างความรู้: เดินหน้าเส้นทางแห่งความกรุณา (Ubuntu) "[41] เป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา และเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดธีมของงาน โดยเป็นครั้งที่สองที่มีการจัดงานในแอฟริกาและครั้งที่สองที่จัดขึ้นในซีกโลกใต้

วิกิเมเนีย 2019 แก้

 
ภาพถ่ายกลุ่ม

วิกิเมเนีย 2019 การประชุมวิกิมีเดียครั้งที่สิบห้าจัดขึ้นใน สตอกโฮล์ม สวีเดน ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 18 สิงหาคม ค.ศ. 2019 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 800 คน[18][42] โดยคุณ อะมีนะฮฺ ไมซูนิ จากตูนิเซีย ได้รับรางวัลใหม่ วิกิมีเดียนแห่งปี (Wikimedian of the year)[43]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Worldwide Wikimania
  2. 2.0 2.1 Main Page – Wikimania 2006. wikimedia.org
  3. 3.0 3.1 The Many Voices of Wikipedia, Heard in One Place
  4. 4.0 4.1 4.2 New York Times article In Taipei, Wikipedians Talk Wiki Fatigue, Wikiwars and Wiki Bucks report by Noam Cohen and edited by Saul Hansell published August 3, 2007
  5. 5.0 5.1 James Gleick, Wikipedians Leave Cyberspace, Meet in Egypt, Wall Street Journal, 8 ส.ค. 2008.
  6. 6.0 6.1 m:Wikimania#Wikimania 2009 Wikimedia.org
  7. Wikimania 2010 site – Attendees. wikimedia.org.
  8. David Shamah (2013-08-18). "Israel's latest invention: Free hi-res aerial photos for all". The Times of Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27.
  9. "Annual Report for Fiscal Year 2011–12". WikimediaDC. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
  10. "Wikimania 2012". groundreport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
  11. Chan, Deryck (2013-09-01). "[Wikimania-l] 2013 attendance figures?". Wikimania-l (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  12. Prior, Stuart (2014-09-22). "[Wikimania-l] Wikimania 2014". Wikimania-l (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  13. "Wikimania 2015". meta.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  14. "Il bilancio di Wikimania a Esino: Oltre 1200 presenze, di 70 nazioni". La Provincia di Lecco (ภาษาอิตาลี). 27 June 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
  15. "Wikipedia founder kicks off Montreal Wikimania by urging net neutrality". August 11, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2017. สืบค้นเมื่อ September 26, 2017.
  16. "Wikipedia conference comes to Montreal for first time". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2017. สืบค้นเมื่อ September 26, 2017.
  17. "#Wikimania2018 Conference: One on one with Wikipedia Founder Jimmy Wales". The Infonomist. 2018-07-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18 – โดยทาง BusinessReport.
  18. 18.0 18.1 Harrison, Stephen (2019-08-16). "Wikimania to the Rescue". Slate. {{cite magazine}}: Cite magazine ต้องการ |magazine= (help)
  19. Doccheck.com
  20. Reason Magazine – The neutrality of this article is disputed
  21. MP3 of Jimmy Wales' plenary speech at Wikimania 2006
  22. Wikimania 2006: Sponsors
  23. Wikimania2007.wikimedia.org
  24. Wikimedia.org
  25. Wikimedia.org
  26. "Is there a boycott of Wikimania 2008?" เก็บถาวร พฤษภาคม 19, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Los Angeles Times. July 2008.
  27. "In Egypt, Wikipedia is more than hobby" เก็บถาวร สิงหาคม 3, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. International Herald Tribune. July 21, 2008.
  28. Wikimania2010.wikimedia.org
  29. 29.0 29.1 Wikimania 2011. wikimedia.org.
  30. Levin, Verony (2011-08-05). "Wikimania Conference at Its Peak; Founder Jimmy Wales to Speak Tomorrow". TheMarker (ภาษาฮิบรู). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  31. Nicholas Bashour, Wikimania 2012 swan song, Wikimedia website, July 17, 2012.
  32. Announcement on Wikimania-l mailing list]
  33. "Wikimania 2014 London".
  34. Wikinoticias note about the election of Mexico City as the venue for Wikimania 2015 (in Spanish)
  35. Meta page about Wikimania 2015 in Mexico City (in Spanish)
  36. Related links:
  37. Wikimania 2016 bids/Esino Lario, retrieved 2015-05-17
  38. Forrester, James (2015-12-22). "[Wikimania-l] Wikimania 2017 to be held in Montréal in Canada". lists.wikimedia.org (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
  39. "Wikipedia founder kicks off Montreal Wikimania by urging net neutrality". Montreal Gazette. The Canadian Press. 2017-08-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-15. สืบค้นเมื่อ 2017-08-14.
  40. Everett-Green, Robert (2017-01-06). "Montreal can count on a double payout, sharing a birthday with Canada". The Globe and Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ 2017-02-08.
  41. Scott, Douglas (5 February 2018). "Why the theme for Wikimania 2018 will be "Bridging knowledge gaps—the ubuntu way forward" – Wikimedia Blog". blog.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  42. Sara Mörtsell (22 August 2018). "Wikimania kommer till Sverige 2019" (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  43. Meet Emna Mizouni, the newly minted 2019 Wikimedian of the Year, Wikimedia foundation official website.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Wikimania ที่ เมตา-วิกิ โครงการสนับสนุนวิกิของมูลนิธิวิกิมีเดีย
รายงานข่าว