วิกฤตการณ์วังหน้า

วิกฤตการณ์วังหน้า (อังกฤษ: Front Palace Crisis) เป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรสยามตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2417 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2417 วิกฤตการณ์ดังกล่าวเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มปฏิรูปนำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกลุ่มอนุรักษ์นิยมนำโดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์พระราชโอรสองค์โตในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2411 พร้อมกับที่พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญพระราชโอรสองค์โตในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับสถาปนาให้เป็นวังหน้าโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหมผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลในวันเดียวกัน

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

การปฏิรูปที่ก้าวหน้าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปลุกเร้าความเดือดดาลของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่เห็นว่าอำนาจและอิทธิพลของตนถูกกัดเซาะอย่างช้า ๆ เหตุเพลิงไหม้ในพระบรมมหาราชวังทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผยระหว่าง 2 ฝ่าย ส่งผลให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญต้องหลบหนีไปยังสถานกงสุลอังกฤษ ในที่สุดทางตันก็คลี่คลายได้ด้วยการปรากฏตัวของเซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก ผู้ว่าการของสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ ซึ่งสนับสนุนองค์กษัตริย์เหนือพระญาติของพระองค์ ต่อมาวังหน้าก็ถูกลดอำนาจและกำลังพลลง และหลังจากที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตในปี 2428 ปีต่อมาตำแหน่งวังหน้าก็ถูกยกเลิกไป

ปฐมบท แก้

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ แก้

นับตั้งแต่การสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระเชษฐาเมื่อปี 2394 วังหน้าก็ได้รับอำนาจและบารมีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสยามไม่มีกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ตำแหน่งวังหน้าจึงมีความเหมาะสมในตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานที่จะได้สืบราชบัลลังก์[1] วังหน้ายังมีกองทัพของตัวเองมากกว่า 2,000 นายที่ฝึกฝนและติดอาวุธแบบตะวันตก[2] พระองค์ยังมีกองทัพเรือของพระองค์เองด้วยประกอบด้วยเรือจักรไอน้ำหลายลำ วังหน้ายังมีส่วนแบ่งรายได้ของรัฐมากกว่า 1 ใน 3 ของแผ่นดินที่มอบให้กับพระองค์โดยตรงสำหรับการบำรุงดูแลเหล่าขุนนาง มหาดเล็ก ราชสำนัก และนางสนม[1][3][4]

ในเดือนสิงหาคม 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวติดเชื้อมาลาเรียขณะทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอเมืองประจวบคีรีขันธ์ พระองค์เสด็จสวรรคตในอีก 6 สัปดาห์ต่อมาคือในวันที่ 1 ตุลาคม เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ พระราชโอรสองค์โตซึ่งมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาในขณะนั้น ได้เป็นกษัตริย์อย่างเป็นเอกฉันท์ท่ามกลางที่ประชุมของพระราชวงศ์อาวุโส, ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และพระสงฆ์[5] โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นประธานในการประชุม ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วย[6][7]

ในระหว่างการประชุมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้เสนอพระนามพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นวังหน้าองค์ต่อไปซึ่งเกือบทั้งหมดในที่ประชุมเห็นด้วยในการเสนอพระนาม ยกเว้นพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพที่ไม่เห็นด้วย[6] กรมขุนวรจักรธรานุภาพแย้งว่าการแต่งตั้งตำแหน่งที่สำคัญเช่นนี้เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว ไม่ใช่ของที่ประชุม และที่ประชุมควรรอจนกว่าองค์กษัตริย์จะบรรลุนิติภาวะสามารถแต่งตั้งได้ด้วยพระองค์เอง อีกทั้งตำแหน่งวังหน้าไม่สามารถสืบต่อทางสายพระโลหิตและการแต่งตั้งโอรสของอดีตวังหน้าอาจเป็นอันตรายได้[1] การเสนอพระนามกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเสนอโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจ โดยเสนอพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ผู้มีความสามารถและประสบการณ์เป็นวังหน้าองค์ใหม่ (เป็นลำดับแรกในการสืบราชบัลลังก์) เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ตัดสินใจโต้กลับโดยกล่าวหากรมขุนวรจักรธรานุภาพว่า ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ กรมขุนวรจักรธรานุภาพตรัสตอบอย่างเบื่อหน่ายว่า ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม ส่งผลให้กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระชนมายุ 30 พรรษา ได้รับสถาปนาให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์ที่ 5

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระญาติของกรมราชวังบวรวิไชยชาญ สวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์สยามในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 1 ณ พระบรมมหาราชวัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก้

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรลุนิติภาวะอย่างเป็นทางการเมื่อพระชนมายุ 20 พรรษา ส่งผลให้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ต้องสิ้นสุดลง ในช่วง 5 ปีแห่งการสำเร็จราชการแทนพระองค์ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญได้ตัดสินพระทัยจำกัดบทบาทและพระราชอำนาจของพระองค์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่แต่งตั้งพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง ภายหลังการยุบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงได้ตัดสินพระทัยกลับคืนสู่พระราชอำนาจในพระราชสำนักอีกครั้ง โชคไม่ดีที่ในเวลาเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาของพระองค์ (ในนามของกลุ่มสยามหนุ่ม) กำลังพยายามรวมพระราชอำนาจกลับคืนสู่องค์กษัตริย์ซึ่งสูญเสียไปตั้งแต่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต[8] ด้วยแรงผลักดันจากการศึกษาแบบตะวันตก กลุ่มสยามหนุ่มจึงมุ่งหวังที่จะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และสร้างชาติให้เข้มแข็งภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปที่รุนแรงในทุกส่วนของรัฐบาล[9]

ในปี 2416 หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) จัดตั้งขึ้นเพื่อลดความซับซ้อนและปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีและรายได้ของรัฐเข้าสู่ท้องพระคลังให้ทันสมัย อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกัน มันก็กีดกันการควบคุมภาษีที่ดินของขุนนาง (ในฐานะเจ้าของที่ดิน) ซึ่งถือเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของพวกเขามาหลายชั่วอายุคน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Kesboonchoo Mead P.60
  2. Bowring P. 429
  3. Bowring P. 446
  4. http://www.thailaws.com เก็บถาวร 2009-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Second Sovereigns เก็บถาวร 2016-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved on 2009-11-28
  5. Kesboonchoo Mead P.38
  6. 6.0 6.1 Kesboonchoo Mead P.39
  7. Chakrabongse P.217
  8. Kesboonchoo Mead P.51
  9. Kesboonchoo Mead P.52

บรรณานุกรม แก้

  • Bowring, Sir John (2003 (originally 1857)). The Kingdom and People of Siam: With a Narrative of the Mission to That Country in 1855. (Volume 1). United Kingdom: Adamant Media Corporation. ISBN 0-543-88704-9. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) Full text also at Google Books: The Kingdom and People of Siam
  • Prince Chula Chakrabongse, HRH (1967). Lords of Life: A History of the Kings of Thailand. United Kingdom: Alvin Redman Limited.
  • Englehart, Neil A. (2001). "Culture and Power in Traditional Siamese Government" (Southeast Asia Program Series) (Southeast Asia Program Studies, 18). United States: Cornell University Southeast Asia Program Publications. ISBN 0-877-27135-6.
  • Kesboonchoo Mead, Kullada (2004). The Rise and Decline of Thai Absolutism. United Kingdom: Routledge Curzon. ISBN 0-415-29725-7.
  • Vetch, Robert Hamilton (2005). Life of Lieutenant General the Honorable Sir Andrew Clarke. United Kingdom: Kessinger Publishing. ISBN 1-417-95130-3. Full text also at 'archive.org': Life of Sir Andrew Clarke