วันเมษาหน้าโง่ (อังกฤษ: April Fool's Day) หรือ วันโกหก เฉลิมฉลองในหลายประเทศในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี โดยผู้คนจะเล่นมุกตลกและเรื่องหลอกลวงต่อกัน ตามสำนักพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ อาจรายงานเรื่องหลอกลวงในวันนี้ และออกมาเฉลยในวันต่อมา เช่น วันนี้ไม่ใช่วันหยุดราชการ เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในแคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา

วันเมษาหน้าโง่
การโกหกในวันเมษาหน้าโง่ว่ามีการสร้างสถานีรถไฟโคเพนฮาเกนในปี 2001
ชื่ออื่นApril Fool's Day
ประเภทCultural, Western
ความสำคัญการโกหกในปกติ, หลอกลวง
การถือปฏิบัติมุ่งเน้นความสนุกสนาน
วันที่1 เมษายน
ความถี่ทุกปี

การเชื่อมโยงระหว่างวันที่ 1 เมษายนกับความเขลาที่เก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกสามารถพบได้ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ (ค.ศ. 1392) นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า การฟื้นฟูวันที่ 1 มกราคมให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีผลต่อการสร้างสรรค์วันดังกล่าว แต่ทฤษฎีนี้มิได้อธิบายการอ้างถึงก่อนหน้านั้น

กำเนิด แก้

ต้นกำเนิดของวันเมษาหน้าโง่มีเทศกาลฮิลาเรียของโรมัน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมและเทศกาลคนโง่ในสมัยกลาง จัดขึ้นวันที่ 28 ธันวาคม และยังคงเป็นวันซึ่งมีการเล่นตลกอยู่ในประเทศที่พูดภาษาสเปน

ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ "ตำนานของแม่ชีของพระ" (Nun's Priest's Tale) ซึ่งเรื่องมีขึ้น "Syn March bigan thritty dayes and two"[1] นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่ามีความผิดพลาดในการทำสำเนาในเอกสารเขียนต้นฉบับเท่าที่มีอยู่ และชอเซอร์แท้จริงแล้วเขียนว่า "Syn March was gon"[2] ดังนั้น วลีนี้เดิมจึงหมายถึง 32 วันหลังเดือนเมษายน คือ 2 พฤษภาคม[3] วันครบรอบการหมั้นระหว่างพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษกับแอนน์แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1564 ผู้อ่านกลับเข้าใจผิดว่าวลีนี้หมายถึง "32 มีนาคม" หรือ 1 เมษายน ในตำนานของชอเซอร์ ไก่ตัวผู้ที่หลงตัวเองถูกสุนัขจิ้งจอกตบตา

ในสมัยกลาง วันขึ้นปีใหม่เฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 มีนาคมในเมืองยุโรปส่วนมาก[4] ในบางพื้นที่ของฝรั่งเศสเป็นวันหยุดนานหนึ่งสัปดาห์ที่สิ้นสุดลงในวันที่ 1 เมษายน[5][6] นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า วันเมษาหน้าโง่ถือกำเนิดขึ้นเพราะผู้ที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ล้อคนที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่วันอื่น[5] การใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่นั้นพบทั่วไปในฝรั่งเศสเมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16[3] และวันนี้ได้รับมาอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1564 โดยกฤษฎีการูสิยอง (Edict of Roussillon)

ประเทศไทย แก้

ในปี 2564 ตำรวจแจ้งเตือนว่าการโพสต์และแบ่งปันข่าวปลอมบนสื่อสังคมถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[7]

อ้างอิง แก้

  1. The Canterbury Tales, "The Nun's Priest's Tale" - "Chaucer in the Twenty-First Century", University of Maine at Machias, September 21, 2007
  2. Carol Poster, Richard J. Utz, Disputatio: an international transdisciplinary journal of the late middle ages, Volume 2, pp. 16-17 (1997).
  3. 3.0 3.1 Boese, Alex (2008) "April Fools Day - Origin " Museum of Hoaxes
  4. Groves, Marsha, Manners and Customs in the Middle Ages, p. 27, 2005.
  5. 5.0 5.1 "April Fools' Day". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ April 4, 2013.
  6. Santino, Jack (1972). All around the year: holidays and celebrations in American life. University of Illinois Press. p. 97. ISBN 978-0-252-06516-3.
  7. "Phuket News: Police warn of prison terms for April Fool's stories". The Phuket News Com (ภาษาอังกฤษ). 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.