วันประชาธิปไตยสากล

วันประชาธิปไตยสากล (อังกฤษ: International Day of Democracy) เป็นแนวคิดของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ใน ค.ศ. 2007 ซึ่งได้ตัดสินใจเลือกเอาวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีให้เป็นวันประชาธิปไตยสากล และเชิญให้รัฐสมาชิกและองค์กรต่าง ๆ มาทำพิธีรำลึก ในความพยายามที่จะสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย[1]

วันประชาธิปไตยสากล
A voting box
จัดขึ้นโดย สหประชาชาติ
ประเภทรำลึก
ความสำคัญสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
วันที่15 กันยายน
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกค.ศ. 2008

อารัมภกถาของมติดังกล่าว มีใจความว่า

"ขณะที่ประชาธิปไตยมีมาตรฐานอย่างเดียวกัน แต่ไม่มีรูปแบบหนึ่งเดียว และซึ่งประชาธิปไตยนั้นจะต้องไม่เป็นเพียงของรัฐใดรัฐหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น...
ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่สูงส่ง อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของประชาชน เพื่อที่จะตัดสินระบบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และสามารถมีส่วนร่วมกับระบบการปกครองได้ในทุกขั้นตอนของชีวิต"

เบื้องหลัง แก้

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1997 สหภาพระหว่างรัฐสภา (IPU) ได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยประชาธิปไตย[2] ซึ่งได้ให้การรับรองหลักการของประชาธิปไตย ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ และให้ความสนใจของนานาประเทศในระบอบประชาธิปไตย

ที่ประชุมนานาชาติเกี่ยวกับประชาธิปไตยใหม่และได้รับการฟื้นฟู (ICNRD) เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1988[3] โดยในตอนเริ่มแรกนั้น ได้ใช้เป็นที่ประชุมระหว่างรัฐบาล ที่ประชุมดังกล่าวได้พัฒนาโครงสร้างสามฝ่าย อันประกอบด้วย รัฐบาล รัฐสภาและองค์การภาคประชาชน การประชุมครั้งที่หก ซึ่งจัดขึ้นในกาตาร์ ใน ค.ศ. 2006 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและหลักการดังกล่าว และยังได้มีการออกแผนปฏิบัติงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง

ผลสืบเนื่องมาจากการประชุมดังกล่าว บอร์ดให้การแนะนำถูกจัดตั้งขึ้นโดยผู้นำของกระบวนการดังกล่าว คือ กาตาร์ ซึ่งตัดสินใจเพื่อที่จะส่งเสริมวันประชาธิปไตยสากล โดยกาตาร์ได้เป็นผู้นำในการร่างเนื้อความในมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และปรึกษาร่วมกันกับรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ

IPU ได้เสนอให้เลือกวันที่ 15 กันยายนถูกเลือกให้เป็นวันประชาธิปไตยสากล และประชาคมระหว่างประเทศควรจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองประจำปีเนื่องในวันประชาธิปไตยสากลดังกล่าว โดยมติดังลก่าวได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติในความพยายามที่จะให้รัฐบาลส่งเสริมและทำให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคงยิ่งขึ้น[4] ซึ่งมติดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007

อ้างอิง แก้

  1. Resolution 7 session 62 Support by the United Nations system of the efforts of Governments to promote and consolidate new or restored democracies page 3 on 8 November 2007
  2. Universal Declaration on Democracy
  3. "International conference of new or restored democracies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2009-05-30.
  4. United Nations General Assembly Resolution A/RES/62/7 "Support by the United Nations system of the efforts of Governments to promote and consolidate new or restored democracies" (PDF)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้