วันคุ้มครองโลก (อังกฤษ: Earth Day) ตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Program "UNEP") เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513

วันคุ้มครองโลก
ธงวันคุ้มครองโลก ธงนี้เป็นธงอย่างไม่เป็นทางการ และใช้ภาพถ่ายของนาซา
จัดขึ้นโดย สหประชาชาติ
ประเภทรณรงค์, ตระหนัก
ความสำคัญสนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อม
วันที่22 เมษายน
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกค.ศ. 1970

ในประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมวันคุ้มครองโลกแบบอิอิเป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรีนพีซ

นอกจากวันคุ้มครองโลก 22 เมษายนแล้ว ยังมีวันคุ้มครองโลกที่กำหนดขึ้นจากช่วงวิษุวัต (equinox) เช่นกัน วิษุวัตเป็นช่วงที่ในกลางวันและกลางคืนมีระยะเวลาเท่ากัน และเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ และฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่แกนขั้วโลกจะตั้งได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ในช่วงวันที่ 20-21 มีนาคมของทุกปี

ประวัติ แก้

วันคุ้มครองโลกนี้ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ต่อมา สมาชิกวุฒิสภาเนลสันได้ตัดสินใจขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ยกเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ เคเนดีเห็นด้วยและได้ออกเดินสายทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐ ในช่วงเดือนกันยายนพ.ศ. 2506 (ก่อนที่ประธานาธิบดีเคเนดีจะถูกลอบยิงเสียชีวิต) การเดินสายครั้งนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่มวันคุ้มครองโลก จนในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกวุฒิสภาเนลสันได้ผลักดันให้มีการจัดการชุมนุมประชาชนระดับรากหญ้าทั่วประเทศขึ้น เพื่อให้แสดงความคิดเห็นในปัญหาสิ่งแวดล้อม และได้เชิญชวนให้ทุก ๆ คนร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดกระแสความห่วงใยในวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ของสังคมอเมริกันในขณะนั้น นำสู่ความสำเร็จของการก่อตั้งวันคุ้มครองโลกขึ้นต่อมา[1]

อ้างอิง แก้

  1. "เว็บไซต์ Envirolink". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้