วัดไพรสุวรรณ

วัดในจังหวัดพิษณุโลก

วัดไพรสุวรรณ เดิมเป็นวัดร้าง พระอาจารย์สอน ได้เข้ามาบูรณะในพุทธศักราช 2455[1] และมีเจ้าอาวาสต่อ ๆ มาอีกหลายรูป ทุกๆ รูปได้สร้างศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามมาก

วัดไพรสุวรรณ
หลวงพ่อเพชร พระประธานภายในอุโบสถ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดไพร
ที่ตั้ง65 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม จังวัดพิษณุโลก
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อเพชร
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อแขก
เจ้าอาวาสพระครูพิพิธชยาภรณ์ (สุทัศน์ โพธิ์กลับ (สิริวิชโย) น.ธ.เอก )
กิจกรรมงานนมัสการและปิดทอง รูปปั้นหลวงพ่อสอน ในเดือนเมษายนของทุกปี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไพรสุวรรณ ตั้งอยู่เมืองพิษณุโลก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงสายพิษณุโลก - วัดจุฬามณี อำเภอบางกระทุ่ม เลี้ยวขวาอีก 1 กิโลเมตร ถึงวัดไพรสุวรรณ ปัจจุบันตั้งอยู่บนฝั่งตะวันอออกของแม่น้ำน่าน[2]

ประวัติ แก้

วัดไพรสุวรรรณเดิมเป็นวัดร้าง ตั้นอยู่บนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่านทางฝั่งเหนือ ในนปี พ.ศ. 2455 พระครูวิเชียรปัญญามุนี (สอน ธมฺมโชโต) ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่าง ๆ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ราว พ.ศ. 2465

บริเวณที่ตั้งวัดนั้นเดิมเป็นป่าไม้เบญจพรรณ มีต้นทองขึ้นอยู่มาก พระครูสอนจึงได้ขนานนามวัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมว่า "วัดไพรสุวรรณ" ไพร แปลว่า ป่า และสุวรรณ แปลว่า ทอง หรือ "วัดป่าทอง" นั้นเอง[1]

เสนาสนะ แก้

  1. อุโบสถ
  2. ศาลาการเปรียญ
  3. กุฏิพระสงฆ์
  4. เมรุ

เจ้าอาวาส แก้

  1. พระครูวิเชียรปัญญามุนี (สอน ธนสัมบัน)
  2. พระครูบัว
  3. พระสมุห์สังข์
  4. พระอธิการบุญช่วย
  5. พระอาจารย์โปร่ง
  6. พระอาจารย์เจียม
  7. พระอาจารย์พิกุล
  8. พระอาจารย์ฟ้อน
  9. พระอธิการบุญนาค
  10. พระอธิการเจริญ รกฺขโน (รักษาการ พ.ศ. 2525-2545)
  11. พระครูพิพิธชยาภรณ์ (สุทัศน์ สิริวิชโย) (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 การศาสนา, กรม, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร, เล่ม 7, กรุงเทพฯ,โรงพิมพ์การศาสนา,2534.
  2. "สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก,วัดไพรสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.