วัดใหม่อมตรส

วัดในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

วัดใหม่อมตรส [ไหฺม่-อะ-มะ-ตะ-รด] หรือ วัดบางขุนพรหม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา

วัดใหม่อมตรส
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 132 ซอยสามเสน 8 ถนนสามเสน แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูวิบูลอนุกิจ (จอย เขมาภิรโต)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดใหม่อมตรส
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005571
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี ประมาณ พ.ศ. 2321 ไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2321 เดิมทีนั้นวัดมีชื่อว่า วัดวรามะตาราม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดอำมาตยรส หรือ วัดอมฤตยรส ในปี พ.ศ. 2460 ในปี พ.ศ. 2411–2413 ได้ทำการก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดใหม่เริ่มดำเนินการโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างถนนผ่านกลางวัด จึงกลายเป็น 2 วัด คือวัดบางขุนพรหมนอก (วัดใหม่อมตรส) และวัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) โดยใช้ชื่อว่าวัดใหม่อมตรสในปี พ.ศ. 2460 และได้ทำการผูกพันธสีมาใหม่ ระหว่างวันที่ 4–10 มกราคม พ.ศ. 2509[1]

วัดใหม่อมตรสมีชื่อเสียงในด้านวัตถุมงคล คือ พระสมเด็จกรุบางขุนพรหม[2] โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม รับเป็นประธานในการจัดสร้าง พระพิมพ์สมเด็จ (พระเครื่อง) ที่สร้างจากผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห และมหาราช ตามที่เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล ธนโกเศต ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น เพื่อบรรจุในองค์เจดีย์ เมื่อ พ.ศ. 2413–2415 เจ้าประคุณสมเด็จได้เมตตาโขลกตำผง ผสมผงวิเศษ และอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง[3]

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  1. พระอธิการอ่อน
  2. พระอธิการอยู่
  3. พระอธิการเทศ
  4. พระอธิการแถม
  5. พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) พ.ศ. 2446 — 2512
  6. พระครูบริหารคุณวัตร (ชม สิรินฺธโร) พ.ศ. 2515 — 2551
  7. พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม นนฺทโก) พ.ศ. 2551 — 2562
  8. พระครูวิบูลอนุกิจ (จอย เขมาภิรโต) พ.ศ. 2563 — ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. "วัดใหม่อมตรส". กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 2020-07-29.
  2. โคมคำ (6 สิงหาคม 2560). "พระสมเด็จหลวงปู่ลำภู พระกรุบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส กทม". มติชนสุดสัปดาห์.
  3. บุญนำพา (2 สิงหาคม 2554). "วัดใหม่อมตรสจัดสร้างพระสมเด็จ(โต) ย้อนยุค". คมชัดลึก.