วัดหัวกระบือ

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดหัวกระบือ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองหัวกระบือ ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

วัดหัวกระบือ
หลวงพ่อโต
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหัวกระบือ, วัดศีรษะกระบือ
ที่ตั้งเลขที่ 77 ซอยเทียนทะเล 19 ถนนบางขุนเทียนชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหัวกระบือสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2281 ในนิราศนรินทร์และนิราศสามเณรกลั่นปรากฏชื่อวัดนี้ว่าเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ตอนปราบทรพี โดยพาลีตัดหัวทรพี ขว้างไปตกที่ย่านนี้ ในสมุดข่อยจารึกบอกศักราชไว้ว่าจารขึ้นในปี พ.ศ. 2286

แต่เดิมบริเวณวัดหัวกระบือในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นชุมชนชาวมอญ เรียกชื่อ วัดศีรษะกระบือ เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีหัวกระบือหรือศีรษะกระบือจำนวนมาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหัวกระบือ ในปัจจุบันชาวมอญได้อพยพย้ายไปที่อื่นกันหมด ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระครูวิบูลย์พัฒนกิตติ์ เจ้าอาวาสในขณะนั้น ท่านก็ทราบว่าวัดนี้มีอาถรรพ์ แล้วเข้าในโบสถ์สังเกตเห็นพระประธานในโบสถ์ (หลวงพ่อโต) ตั้งอยู่พื้นที่ต่ำ พระครูวิบูลย์พัฒนกิตติ์จึงดำเนินการบูรณะโบสถ์แล้วสร้างฐานรองรับองค์พระประธานให้สูงขึ้น นับจากนั้นได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว[1] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530[2]

สิ่งก่อสร้างในวัดล้วนได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ อุโบสถมีขนาด 5 ห้อง หันหน้าสู่คลองหัวกระบือ ใบเสมามีลักษณะเล็กทำด้วยหินทรายสีแดง แบบอยุธยาตอนปลาย[3] มีเจดีย์ย่อมุมอยู่ด้านหน้าอุโบสถ[4]

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • พระอาจารย์แดง
  • พระอาจารย์จวน
  • พระอาจารย์รุ่ง
  • พระอาจารย์ทัด
  • พระอาจารย์เคลือบ
  • พระอาจารย์สังข์
  • พระอาจารย์เลิศ
  • พระอาจารย์ชุม
  • พระอาจารย์ใจ
  • พระอาจารย์ถม
  • พระครูวิบูลพัฒนกิตติ์ (สละ กตปุญโญ)

อ้างอิง แก้

  1. "ไปรู้จักวัดหัวกระบือเทียนทะเล19 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียนกรุงเทพ". ไทยแลนด์พลัส. 8 มกราคม 2562.
  2. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-27.
  3. สมพงษ์ กุลวโรตตมะ. "แนวทางการพัฒนาชุมชนเมืองในพื้นที่สวนเดิมฝั่งธนบุรี : กรณีศึกษาชุมชนเมืองคลองบางขุนเทียน" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  4. กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. "กรุงธนบุรีในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 272.