วัดสร้อยทอง

พระอารามหลวงในเขตบางซื่อ

วัดสร้อยทอง หรือ วัดสร้อยทองพระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ริมถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ "วัดซ่อนทอง" เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2394 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

วัดสร้อยทอง
พระเจดีย์ วัดสร้อยทอง
แผนที่
ที่ตั้งถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อเหลือ
เจ้าอาวาสพระศรีปริยัติสุธี(ปรีชา จิตตปริสุทโธ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสร้อยทอง ไม่ปรากฏนามและประวัติของผู้สร้าง แต่มีข้อสันนิษฐานว่าคงเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง นามว่า หลวงพ่อเหลือ สร้างจากโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธาน ในปี พ.ศ. 2445 ภายในเกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระอรหันต์ 5 พระองค์[1]

ในปี พ.ศ. 2445–2447 วัดซึ่งในขณะนั้นมี หลวงปู่เบี้ยว เป็นเจ้าอาวาสวัดได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ มีประชาชนชาวไทยและชาวญวน เป็นกำลังสำคัญในการบูรณะช่วงเวลาดังกล่าว โดยใช้งบประมาณ 10,000 บาท, ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2488 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพระราม 6 ได้ถูกทิ้งระเบิดลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีระเบิดจำนวน 14 ลูก ตกใส่บริเวณวัดสร้อยทองได้รับความเสียหายอย่างมหาศาล มีสิ่งที่เหลือรอดพ้นจากระเบิดเพียงแค่ พระพุทธรูปหลวงพ่อเหลือ หอระฆังและเจดีย์ริมคลองบางซ่อน เท่านั้น[1]

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2545 วัดสร้อยทอง ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎรเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ซึ่งได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 18 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[2] ปัจจุบันวัดมีพื้นที่รวม 15 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ประวัติวัดสร้อยทอง สำนักเรียนวัดสร้อยทอง บางซื่อ กรุงเทพฯ ผ่านทาง web.archive.com สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
  2. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เก็บถาวร 2020-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจนานุเบกษา 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ประวัติวัดสร้อยทอง ที่เว็บไซต์ วัดสร้อยทอง