วัดศาลาแดง (จังหวัดสระบุรี)

วัดในจังหวัดสระบุรี

วัดศาลาแดง ตั้งอยู่เลขที่ 486 บ้านศาลาแดง ถนนพิชัยญรงค์สงคราม ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 7741[1]

วัดศาลาแดง
ไฟล์:.JPG
แผนที่
ชื่อสามัญวัดศาลาแดง
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ 486 บ.ศาลาแดง ถ.พิชัยญรงค์สงคราม ต.ปากเพรียว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว สูง 74.5 นิ้ว
เจ้าอาวาสพระครูสันตจิตตากร(กมล)
จุดสนใจพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

อาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือ จดแม่น้ำป่าสัก
  • ทิศใต้ จดถนนพิชัยรณรงค์สงคราม
  • ทิศตะวันออก จดอนามัยเทศบาลเมืองสระบุรี
  • ทิศตะวันตก จดถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ซอย 40
  • ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 40 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 180

ประวัติ แก้

วัดศาลาแดงตั้งเมื่อ พ.ศ. 2311 เดิมเรียกว่า วัดแก่งม่วง โดยมีต้นมะม่วงใหญ่ยืนต้นอยู่บนแก่งเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาน้ำได้พัดเอาแก่งและต้นมะม่วงจมหายไปกับน้ำหมดสภาพไป คงเหลือแต่ศาลาหลังหนึ่งมีหลังคามุงกระเบื้องสีแดงซึ่งใช้เป็นที่พักสำหรับคนเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี จึงได้เรียกเป็นนามวัดว่า "วัดศาลาแดง" จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป วัดศาลาแดงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2518 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร[2]

อาคารเสนาสนะ แก้

  • 1. อุโบสถ กว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2518 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร
  • 2. ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • 3. กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 4 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และเป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง
  • 4. วิหาร กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • นอกจากนี้ยังมี หอระฆัง 1 หลัง หอกลอง 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง โรงเก็บพัสดุ 1 หลัง[3]

ปูชนียวัตถุ แก้

  • 1. พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว สูง 74.5 นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2464
  • 2. พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 449 นิ้วสร้างเมื่อ พ.ศ. 2518[4]

การบริหารและการปกครอง แก้

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

  • รูปที่ 1 พระอธิการบุญ พ.ศ. 2440 ถึง พ.ศ. 2478
  • รูปที่ 2 พระครูวัตรโสภณ พ.ศ. 2478 ถึง พ.ศ. 2490
  • รูปที่ 3 พระครูสรการพิศิษฐ์ (เฉื่อย) พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2502
  • รูปที่ 4 พระครูสังวรวุฒิคุณ (ออน) พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2521
  • รูปที่ 5 พระครูวิมลธรรมรัต (หลาบ) พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2550
  • รูปที่ 6 พระครูสันตจิตตากร (กมล) พ.ศ. 2550 ถึง ปัจจุบัน[5]

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:461.
  2. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:462.
  3. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:461.
  4. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:462.
  5. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:462.