วัดวังน้ำเขียว (จังหวัดนครปฐม)

วัดในจังหวัดนครปฐม

วัดวังน้ำเขียว เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

วัดวังน้ำเขียว
แผนที่
ชื่อสามัญวัดวังน้ำเขียว, วัดคลองแล้ง
ที่ตั้งตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูโกศลธรรมรัตน์ (ประพันธ์ จิตฺตกโร)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดวังน้ำเขียวตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. 2464[1] ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ก่อนนั้นหมู่บ้านวังน้ำเขียว เรียกว่า หมู่บ้านคลองแล้ง ตั้งอยู่ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอสามแก้ว ต่อมาย้ายมาอยู่ที่บ้านยาง แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอกำแพงแสน ประชาชนประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ไทย จีน ลาวครั่ง ไทยโซ่ง ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ หมู่บ้านวังน้ำเขียวไม่มีวัด เมื่อมีงานบุญชาวบ้านต้องเดินทางไปทำบุญที่วัดลำเหย หรือวัดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ไกลมาก ต่อมานายจอน สีสังข์ ซึ่งเป็นชาวบ้านหมู่บ้านวังน้ำเขียวได้บริจาคที่ดินสร้างวัดจำนวน 21 ไร่ เพื่อสร้างวัด ใช้ชื่อวัดว่า วัดคลองแล้ง เมื่อ พ.ศ. 2464 มีพระอาจารย์คุ่ย เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น "วัดวังน้ำเขียว" เพราะมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกมาจากแม่น้ำแม่กลอง ชื่อ คลองท่าสารบางปลา ไหลผ่านหน้าวัด คลองนี้เมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำจะแห้งขาดเป็นตอน ๆ เฉพาะที่บ้านคลองแล้ง น้ำในคลองจะมีสีเขียวลึกมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า วังน้ำเขียว และตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับพื้นที่ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2485 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร[2]

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • พระคุ่ย พ.ศ. 2452–2453
  • พระหยี่ พ.ศ. 2453–2454
  • พระพรหม พ.ศ. 2454–2469
  • พระทม พ.ศ. 2469–2474
  • พระอธิการคำปุ่น ปุณฺณศิริ พ.ศ. 2474–2482
  • พระเล้ง พ.ศ. 2482–2484
  • พระอธิการชัย ขตฺติปญฺโญ พ.ศ. 2484–2493
  • พระเหลียง พ.ศ. 2493–2496
  • พระไซ พ.ศ. 2496–2499
  • พระพันธ์ พ.ศ. 2499–2502
  • พระเด็ด พ.ศ. 2502–2503
  • พระอธิการจอน พ.ศ. 2503–2506
  • พระครูวิมลสิทธิการ (บุญรอด สิทธิการโร) พ.ศ. 2506–2549
  • พระครูโกศลธรรมรัตน์ (ประพันธ์ จิตฺตกโร) พ.ศ. 2549–

อ้างอิง แก้

  1. "วัดวังน้ำเขียว". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "บันทึกประเทศไทย ฉบับที่ 114 จังหวัดนครปฐม". p. 90–91.