วัดพานิชธรรมิการาม

วัดในจังหวัดลพบุรี

วัดพานิชธรรมิการาม เป็นวัดในตำบลหนองเต่า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

วัดพานิชธรรมิการาม
แผนที่
ที่ตั้งตำบลหนองเต่า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15110
ประเภทวัดราษฏร์
นิกายมหานิกาย
จุดสนใจพระอุโบสถบนหลังเต่ามีความงดงามยิ่งนัก
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดพานิชธรรมิการาม ตั้งอยู่หลังตลาดหนองเต่า ห่างจากตัวเมืองบ้านหมี่ 11 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมถนนสายเลียบคลองชลประทาน ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟหนองเต่า ตำบลหนองเต่า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีเดิมชื่อ วัดเจริญธรรมพานิช สร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2483 วัดเจริญธรรมพานิช ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดพานิชธรรมิการาม เพื่อให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย พ.ศ. 2500 พระครูธรรมาภิมณฑ์ เจ้าอาวาสวัดพานิชธรรมิการามได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ 2 ชั้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นล่างก่อสร้างเป็นรูปเต่าโดยพระอุโบสถวางอยู่บนหลังเต่า

ปี พ.ศ. 2513 เดือนพฤศจิกายน พลเอกหลวงกัมปนาท แสนยากร องคมนตรีและประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปภัมภ์ ได้เป็นประธานนำผ้ากฐินมาทอด และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2514 (ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4) จนถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 (ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 4) รวม 7 วัน 7 คืน

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงสิรินทร (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ทั้ง 4 พระองค์ ได้เสด็จมาทรงร่วมพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตของวัด อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นแก่พสกนิกรชาวบ้านตลาดหนองเต่า และได้ร่วมทำกุศลกับพระครูธรรมาภิมณฑ์

ประวัติพระอุโบสถ แก้

มีเหตุผลการออกแบบก่อสร้างว่าหลวงปู่เลี้ยงได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยชาติเป็นเต่าตนุใหญ่อยู่กลางทะเลลึก ท่านใช้เวลาสร้างพระอุโบสถหลังนี้นาน 16 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนถึง พ.ศ. 2517 อุโบสถหลังนี้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านตลาดหนองเต่า เพดานด้านในโบสถ์เป็นดวงดาวสีทอง แท่นพระประธานเป็นรูปชุกชีมีบัวคว่ำบัวหงายเท้าสิงห์ กรุประดับด้วยกระจกสียกกลีบลวดลายสลับซับซ้อน ฐานกว้าง 8 ศอก สูง 8 ศอก หลังคาด้านนอกของอุโบสถหลังนี้เป็นกระเบื้องเคลือบสีทองซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทางรถไฟสายเหนือช่วงที่ผ่านตำบลหนองเต่า

อ้างอิง แก้