วัดพระธรรมกาย

วัดในอำเภอคลองหลวง

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัดพระธรรมกาย
พระมหาธรรมกายเจดีย์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระธรรมกาย
ที่ตั้งคลองหลวง ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12120
ประเภทวัดราษฏร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูปลัดรัตนวีรวัฒน์ (รังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก)
พระเผด็จ ทตฺตชีโว (ปฏิบัติหน้าที่โดยพฤตินัย) [2]
ความพิเศษพระอุโบสถได้รับรางวัลชมเชยสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541[1]
จุดสนใจการเข้าสักการะมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีและพระมหาธรรมกายเจดีย์
กิจกรรมงานบุญทุกวันอาทิตย์ งานบุญวันอาทิตย์ต้นเดือน
เว็บไซต์th.dhammakaya.net
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระธรรมกายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชน และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แต่สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งได้ขอขมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ขึ้นวัดพระธรรมกายไว้ในบัญชีดำฐานเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ[3]

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้วัดพระธรรมกายเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อจับกุมพระธัมมชโย[4]

ประวัติ

ยุคเริ่มต้น (พ.ศ. 2506–2521)

เมื่อพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มรณภาพไปแล้ว ลูกศิษย์ของท่านรวมถึงแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ได้สืบทอดสายปฏิบัติของวิชชาธรรมกาย ให้กับลูกศิษย์รุ่นใหม่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ[5] ในสมัยนั้น ไชยบูลย์ สุทธิพลศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2506 ไชยบูลย์ ได้ไปที่วัดปากน้ำ หลังจากที่ได้อ่านวารสาร วิปัสสนาบันเทิงสาร ซึ่งมีอ้างถึงคุณวิเศษของแม่ชีจันทร์[6][7]

ไชยบูลย์ได้ชักชวนเพื่อนนักศึกษาร่วมกิจกรรมที่วัดปากน้ำ คณะลูกศิษย์แม่ชีจันทร์จึงขยายมากขึ้น[7] มีอยู่หนึ่งคนในคณะลูกศิษย์ที่ชื่อเผด็จ ผ่องสวัสดิ์ (ซึ่งในภายหลังได้บวชเป็นพระภิกษุ และได้มาเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ชื่อพระเผด็จ ทตฺตชีโว). ในปี 2512 ไชยบูลย์เองได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับฉายา "ธมฺมชโย" และต่อมาได้เริ่มสอนกรรมฐานที่วัดปากน้ำร่วมกับแม่ชีจันทร์[8] ในที่สุดคณะลูกศิษย์ได้ขยายไปเป็นจำนวนมาก ยากที่จะจัดกิจกกรมที่วัดปากน้ำภาษีเจริญต่อ[9] ดังนั้นในวันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2513 แม่ชีจันทร์ พระธัมมชโย และพระทัตตชีโว พร้อมกับบรรดาลูกศิษย์ได้ย้ายไปตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมอีกต่างหาก โดยที่มีเริ่มต้นบนที่ดินแปลง 196 ไร่ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี[10]

กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นวัดตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ในชื่อ "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดวรณีธรรมกายาราม" ได้ชื่อตามวรณี สุนทรเวช ธิดาของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) กับคุณหญิงแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (ประหยัด สุนทรเวช) ผู้บริจาคสถานที่ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วัดพระธรรมกาย" จนถึงปัจจุบัน[11][12] ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 15 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522[13][14]

ในสมัยแรกแม่ชีจันทร์ยังมีบทบาทที่สำคัญในการบอกบุญและการปกครอง ต่อมาเมื่อท่านอายุมากขึ้น จึงค่อย ๆ มอบให้ลูกศิษย์ของท่าน คือหลวงพ่อธัมมชโย และหลวงพ่อทัตตชีโวบริหารงานต่อ[9]

การเติบโต (พ.ศ. 2522–2539)

ในสมัย พ.ศ. 2520-2530 ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว วัดพระธรรมกายเริ่มเป็นที่นิยมของประชาชนมากขึ้น.[15][16][17] วัดพระธรรมกายได้ถ่ายทอดค่านิยม มุ่งเน้นความสำเร็จทางธุรกิจ ความทันสมัย และการฝึกฝนตนเอง ซึ่งทำให้วัดเป็นที่ดึงดูดของประชาชนชนชั้นกลาง[18] อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้นประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ทั้งด้านธรรมเนียมประเพณี และด้านสังคม ชนชั้นกลางจึงต้องการที่พึ่ง[19][20]

ตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มสร้างวัดพระธรรมกายจะมุ่งเน้นกิจกรรมสำหรับนักเรียน และนักศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 วัดพระธรรมกายได้ตั้งโครงการอบรมขึ้นมา โดยตั้งชื่อว่า ธรรมทายาท ซึ่งเป็นโครงการปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นนักศึกษามหาวิทยาลัย[21] ต่อมานักศึกษที่ผ่านการอบรมโครงการนี้ ได้มาเป็นผู้ประสานงานในชมรมพุทธของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยที่ในช่วงเวลา พ.ศ. 2520–2530 มีผู้ประสานงานที่เป็นลูกศิษย์ของวัดประสานงานในชมรมพุทธในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย[22] และในปี พ.ศ. 2524 วัดพระธรรมกายจัดตั้งโครงการ ทางก้าวหน้า โดยที่มีโรงเรียนหลายแห่งในประเทศไทยสมัครเพื่อให้นักเรียนแข่งขันสอบความรู้ด้านคำสอนเรื่องจรียธรรมในพระพุทธศาสนา[23] ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 วัดพระธรรมกายได้ปรับโครงการ ธรรมทายาท มาเป็นโครงการบวช ตามธรรมเนียมโบราณที่จะบวชสั้น[24] ซึงในเวลานั้นการบวชตามประเพณีมักบวชไม่นานนัก วัดพระธรรมกายจึงได้พยายามที่จะสวนกระแสดังกล่าว โดยการจัดบวช 2–3 เดือนเป็นอย่างน้อย[25] ในปี พ.ศ. 2529 วัดพระธรรมกายได้เริ่มอบรมผู้หญิงในโครงการอบรมระยะยาว[9]

ในสมัย พ.ศ. 2530 วัดพระธรรมกายมีคนร่วมพิธีกรรมสำคัญโดยเฉลี่ยจำนวน 50,000 คน[26] โครงการธรรมทายาทดังกล่าวเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2522 โดยมีผู้มาอบรมเพียง 60 คน แต่ในปี พ.ศ. 2529 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นหลายพันคน[27] ในปี พ.ศ. 2533 มีพระประจำรวม 260 รูป สามเณรรวม 214 รูป และเจ้าหน้าที่วัดรวม 441 คน[9] ทางวัดพระธรรมกาย ริเริ่มจัดกิจกรรมอย่างกว้าง อย่างเช่น ชวนประชาชนร่วมกันบริจาคเลือด จัดอบรมปฏิบัติธรรมให้กับภาครัฐ และเอกชน[28] รวมทั้งส่งเสริมงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2527 มีการจัดทำซีดีพระไตรปิฎกที่สามารถสืบค้นคำสำคัญได้ ซึ่งได้ร่วมมือกับสมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย California ณ เมือง Berkeley สหรัฐอเมริกา[29]

ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิธรรมกายได้รับการรับรอง จากองค์กรสหประชาชาติ[10] และเริ่มมีการประชุมการศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อส่งเสริมสันติภาพ สำหรับกลุ่มเยวชน เมื่อปี พ.ศ. 2559 มูลนิธิธรรมกายมีฐานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ[28] ในสมัยนั้นมูลนิธิธรรมกายเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรพุทธต่างประเทศหลายองค์กร ตัวอย่างเช่นฟอควงซาน [en]ในไต้หวันและวัดพระพุทธเจ้า แสนพระองค์ [en]ในฮ่องกง เป็นต้น[9][10]

วัดพระธรรมกายเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาทางวัดได้เริ่มตั้งศูนย์สาขาในสหรัฐ ประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน[30][9]

การวิจารณ์ และคดี (พ.ศ. 2540–2543)

โครงการด้านการคณะสงฆ์

โครงการเจริญพุทธมนต์ 5 ธันวามหาราช
จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556
โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุ–สามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค
เริ่มปี พ.ศ. 2530 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม นับถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 26 โดยมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ร่วมรับถวายมุทิตา จำนวน 1,132 รูป รวมมอบทุนการศึกษากว่า 7,924,000 บาท[31]
โครงการถวายทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนบาลีทั่วประเทศ
เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 นับถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 10 โดยมอบทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดในแต่ละประเภท รวมมอบทุนการศึกษา ปีละกว่า 4,000,000 บาท[31][32]

กรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

วันที่ 16 ก.พ. 2560 ทางรัฐบาลมีคำสั่งใช้มาตรา 44 ให้พื้นที่บริเวณวัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ ป้องกันไม่ให้มีบุคคลเข้าไปในพื้นที่และผลักดันผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในวัดออกนอกพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้าไปตรวจค้น พร้อมทั้งควบคุมตัวพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา คดีพิเศษเลขที่ 27/2559 ในข้อหาสบคบและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร[33][34]

บุคคลสำคัญ

  • พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย และเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ในข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร
  • พระเผด็จ ทตฺตชีโว เป็นรองเจ้าอาวาส

วิเคราะห์ทางการเมือง

หลักการ ความเชื่อ และวิถีชีวิต

องค์กร และการบริหารงาน

มูลนิธิธรรมกายจัดตั้งขึ้นก่อนก่อตั้งวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เดิมใช้ชื่อว่า "มูลนิธิธรรมประสิทธิ์" โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิพระธรรมกาย" เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก "มูลนิธิพระธรรมกาย" เป็น "มูลนิธิธรรมกาย" โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528[10][35]

องค์กรในสังกัด

โรงเรียนพระปริยัติธรรม

ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปีพ.ศ. 2528 โดยมีพระไชยบูลย์ ธมฺมชโย และดร. พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2556[31] มีพระภิกษุ – สามเณรสอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 65 รูป

สถาบันอุดมศึกษา

วัดพระธรรมกาย ได้มีดำริให้สร้างหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ที่เน้นไปในด้านมนุษยศาสตร์และพุทธศาสตร์ จึงได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย ขึ้น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ในระบบการศึกษาทางไกล จัดตั้งขึ้นตามรัฐบัญญัติการอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาเอกชนรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันมี 3 หลักสูตรคือ 1) ประกาศนียบัตรประกอบด้วย 2 หลักสูตร คือ Pre-Degree และ หลักสูตรสัมฤทธิบัตร 2) หลักสูตรปริญญาตรี สาขาพุทธศาสตรบัณฑิต 4 ปี 3) หลักสูตรปริญญาโท สาขา พุทธศาสตร์มหาบัญฑิต 2 ปี ทั้งนี้พระภิกษุจะได้รับการงดเว้นค่าลงทะเบียนตลอดทุกหลักสูตร[30]

สถานีโทรทัศน์

ดีเอ็มซี
ประเทศ  ไทย
พื้นที่แพร่ภาพ  ไทย และทั่วโลก[36]
คำขวัญช่องนี้ช่องเดียว
The Only One Channel
สำนักงานใหญ่วัดพระธรรมกาย
คลองหลวง ตำบลคลองสาม
อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12120
แบบรายการ
ภาษาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน
และภาษาอื่นๆ[37]
ระบบภาพ576ไอ (4:3 คมชัดมาตรฐาน) (2545–2556)
576ไอ (16:9 คมชัดมาตรฐาน) (2556–2559)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
วัดพระธรรมกาย
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (21 ปี)
ยุติออกอากาศ7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (7 ปี)

DMC ย่อมาจาก Dhammakaya Media Channel[38] เป็นช่องรายการธรรมะ คือ ทีวีช่องคุณธรรม สื่อสีขาวที่น้อมนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเผยแผ่ ออกอากาศผ่านดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมง[39]

โดยพระธัมมชโยได้มีความตั้งใจว่า "จะเป็นรายการที่ทำให้ผู้ชมมีจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพลิดเพลินกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจจะผูกพันอยู่กับพระรัตนตรัยและบุญกุศล" และ "มีรายการที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เช่น รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา, นานาเทศนา, พุทธประวัติ, ชาดก 500 ชาติ, New News, ข่าว DNN ข่าว DMC News, ไปวัดไปวา, ปฏิบัติการกุ๊กกิ๊ก, พลังมด ฯลฯ"[40][36][37] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 รายการปรโลกนิวส์ยังได้ถ่ายทอดบทบรรยายโดยพระธัมมชโยเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายและอดีตชาติของสตีฟ จอบส์ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าหลังจากได้เสียชีวิตแล้ว ตัวเขาก็ได้ไปบังเกิดใหม่เป็น "เทพบุตรภุมมเทวาระดับกลางสายวิทยาธรกึ่งยักษ์"[41][42][43][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ดีเอ็มซีถูกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 30 วัน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามคำร้องขอของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยระบุเหตุผลว่าดีเอ็มซีเสนอข่าวสารระดมศิษยานุศิษย์ของวัดให้ไปรวมตัวที่วัดเพื่อขัดขวางการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ก่อนภายหลัง กสทช.สั่งเพิกถอนใบอนุญาตของดีเอ็มซีถาวร โดยระบุเหตุผลว่าเนื้อหาที่ออกอากาศปลุกปั่นยุยงให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร[44] ทั้งนี้ ดีเอ็มซียังคงออกอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้สถานีโทรทัศน์จีบีเอ็น (GBN) (ชื่อเดิมคือ ดีโอเอทีวี, DoA TV; Dhammakaya of America TV และ DIMC TV) ซึ่งออกอากาศจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในทางปฏิบัติ การออกอากาศของสถานีฯยังคงดำเนินการออกอากาศจากวัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานีเช่นเดิมแล้วส่งสัญญาณไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งรายการที่ออกอากาศยังใช้ผังรายการเดิมของดีเอ็มซีเช่นเดิม[45]

สาขาวัดในต่างประเทศ

วัดพระธรรมกายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปหลายประเทศทั่วโลก วัดศูนย์สาขาแรกในต่างประเทศ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งในปี 2558 มีวัดศูนย์สาขาอยู่มากกว่า 100 แห่ง อาทิ วัดพระธรรมกายลอนดอน วัดพระธรรมกายเมลเบริ์น วัดภาวนาไทเป วัดพระธรรมกายซีแอตเติ้ล ฯลฯ [30]

สิ่งก่อสร้าง

  • มหาธรรมกายเจดีย์ เจดีย์รูปโดมทรงกลมแบบสถูปสาญจี เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 194.40 เมตร ความสูง 32.40 เมตร ประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งสื่อถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ภายนอกของมหาธรรมกายเจดีย์ส่วนพุทธรัตนะมีการเรียงต่อองค์พระธรรมกายประจำตัวที่สลักชื่อเจ้าของไว้จำนวน 300,000 องค์ ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์บรรจุพระธรรมกายประจำตัว จำนวน 700,000 องค์ฐานขององค์พระจารึกนามของผู้บริจาคเพื่อสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัวเช่นเดียวกัน และพระบรมพุทธเจ้า นอกจากนี้ภายในเจดีย์ยังประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันปี[46][47] และเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีกลางแจ้ง ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีคนจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมงานหลายแสนคน และในทุกวันมีพิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์[48][49] มหาธรรมกายเจดีย์เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยเริ่มมีการประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และมีการประดิษฐานครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2553
  • มหารัตนวิหารคด อาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดียม ความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร รอบมหาธรรมกายเจดีย์ ทั้งสี่ ทางวัดพระธรรมกายด้านคาดว่าสามารถจุคนได้หนึ่งล้านคน[50] และทางวัดก็ยังได้ระบุว่า เป็นสถานที่รวมพุทธบุตรและพุทธบริษัท 4 ทั่วโลกนับล้านให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อพบปะสนทนาธรรมและร่วมกันสร้างสันติสุข[48]
  • มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี อาคารรูปทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์คล้ายจานคว่ำเหมือนมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำหลวงพ่อสด จนฺทสโร เพื่อสักการบูชาและระลึกถึงพระคุณของท่าน ภายในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี บรรจุเรื่องราวอัตชีวประวัติของท่าน เพื่อศึกษาค้นคว้า เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2539 และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549[51]
  • อุโบสถวัดพระธรรมกาย เมื่อวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแทนพระองค์ เพื่อวางศิลาฤกษ์ และในวันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2523 มีพิธีผูกพัทธสีมา ภายในอุโบสถรองรับพระภิกษุเข้าร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อมกันได้ครั้งละ 200 รูป มีรูปลักษณ์แบบศิลปไทยประยุกต์ ออกแบบโดยยึดหลักความเรียบง่ายและมีความสง่า โดยได้รับรางวัลชมเชยสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541 จาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์[1]
  • สภาธรรมกายสากล อาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 150 ไร่ ประกอบด้วยชั้น 1 เป็นชั้นจอดรถ และมีห้องประชุมหลายขนาด ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป สำหรับอบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท ฯลฯ ชั้น 2 ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งใช้ในงานบุญทุกวันอาทิตย์ และงานบุญใหญ่ของวัดตลอดทั้งปี สามารถจุคนได้ประมาณ 300,000 คน[47][52]
  • วิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง วิหารทรงพีระมิดหกเหลี่ยมทองคำ สูง 29 เมตร ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานรูปหล่อทองคำแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ 300 คน[53][54]
  • หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อาคารชั้นล่างโปร่ง มีส่วนสำนักงาน 4 ชั้น ส่วนของหลังคาสร้างเป็นยอดรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ ภายในรูปทรงกลมเป็นภาพแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง หอฉันฯ ถูกใช้เป็นที่ฉันภัตตาหารของภิกษุ สามเณร เป็นโรงทานแก่ญาติโยมที่มาถวายภัตตาหาร รวมถึงประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของวัด เช่น การถวายกองทุนโคมประทีปในวันมาฆบูชา การถวายกองทุนผ้าไตรจีวร การถวายกองทุนผ้าอาบน้ำฝน การถวายกองทุนคิลานเภสัช การถวายกองทุนเครื่องกันหนาว รวมถึงใช้เป็นสถานที่เตรียมงานบุญใหญ่ของวัด เช่น การพับผ้าไตรจีวรจำนวนมากที่ใช้ประกอบพิธีอุปสมบทหมู่รุ่นต่าง ๆ การพับและเตรียมกระดาษชำระและช้อนส้อม เพื่อใช้ในงานวันคุ้มครองโลกซึ่งตรงกับวันเกิดของพระธัมมชโย[55]
  • อาคารภาวนา 60 ปีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ อาคารรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นสถานที่ปฏิบัติวิชชาธรรมกายชั้นสูง มิได้ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าออก[56]
  • อาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อาคารรูปทรงกลม เริ่มก่อสร้างปลายปี 2552 (ยังไม่แล้วเสร็จ) เพื่อให้เป็นสำนักงานใหญ่ของวัด ห้องประชุมด้านวิชาการด้านพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติธรรมสำหรับบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา ขนาดใหญ่ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์ของวัดพระธรรมกาย [57][58]
  • โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย[31]
  • นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกหลายอาคาร ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย ศูนย์พยาบาลสงฆ์ วัดพระธรรมกาย หมู่กุฏิที่พักดวงใจ วัดพระธรรมกาย (สำหรับสามเณร) หมู่กุฎิคณะสงฆ์ วัดพระธรรมกาย อาคารสำนักงานใหญ่ อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ วัดพระธรรมกาย อาคารสถานีโทรทัศน์ DMC วัดพระธรรมกาย อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียง DMC วัดพระธรรมกาย[59]

การวิพากษ์วิจารณ์

 
มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี

วัดพระธรรมกายมีผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง แต่ก็เป็นที่แคลงใจของประชาชนทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แม้สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งขอขมาแล้วก็ตาม[60] เป็นต้นว่า

  • การแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ กรณีที่วัดพระธรรมกายนำเงินบริจาคไปลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยอ้างว่าเพื่อให้เงินเกิดดอกออกผลติดตามมานั้น ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการเรียกวัดพระธรรมกายเป็น "แหล่งพุทธพาณิชย์ขนาดใหญ่ของโลก"[3]
  • การยักยอกทรัพย์ กรณีที่วัดพระธรรมกายถูกพระธัมมชโย เจ้าอาวาส ยักยอกทรัพย์ โดยปรากฏว่าโฉนดที่ดินมากมายของวัดมีชื่อพระธัมมชโยเป็นเจ้าของ เรื่องนี้ถูกนำเข้ามหาเถรสมาคมและเกิดเป็นคดีอาญาในเวลาต่อมา การไต่สวนดำเนินมาเจ็ดปี แต่สุดท้ายอัยการสูงสุดได้มีมติให้ถอนฟ้อง เนื่องจากพระธัมมชโยได้คืนที่ดินให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว[61]
  • การธุดงค์ในเมือง กรณีที่วัดพระธรรมกายจัดให้พระสงฆ์ออกเดินธุดงค์ในเมือง เรียกว่า "ธุดงค์ธรรมชัย" โดยให้นำเครื่องลาดมาปูรองที่เดิน โปรยบุปผชาติบนเครื่องลาด และจัดให้ประชาชนซึ่งเป็นสาวกมาเฝ้าแห่แหนริมเครื่องลาด ทั้งมีขบวนแห่อย่างวิจิตรอลังการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554[62] นั้น ก่อปัญหาการจราจรในเมือง และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง[63][64][65] เป็นต้นว่า
    • สุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตหลวงปู่พุทธะอิสระ วิจารณ์ว่า "การจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม หากทำแล้วเบียดเบียนตน ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็ถือว่า ผิดหลักพุทธศาสนา...พุทธศาสนิกชนต้องต่อต้าน...ไม่น่าจะเป็นการเผยแพร่ธรรม น่าจะเป็นการทำร้ายพระธรรมมากกว่า รวมทั้งทำให้พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้ามัวหมอง การเดินธุดงค์บนดอกกุหลาบดอกดาวเรือง ไม่ไช่วิธีของพระภิกษุที่สันโดษ...นอกจากพระเดินธุดงค์แล้ว นักเรียนและประชาชนยังถูกเกณฑ์ให้ไปตากแดดรับคณะ ไม่ได้ไปเพราะศรัทธา แต่ไปเพราะโดนเกณฑ์ไป ศรัทธาที่เกิดจากการแสดงเป็นศรัทธาที่หลอกลวง ไม่ใช่ศรัทธาที่บริสุทธิ์...เรื่องนี้มหาเถรสมาคมทำอะไรอยู่ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำอะไรอยู่"[66] ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกวุฒิสภา และประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ของวุฒิสภา เห็นว่า "ไม่เหมาะสม เนื่องจากการเดินธุดงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ต้องจาริกไปตามเขา อยู่อย่างสมถะ เพื่อทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ใช่มาเดินในเมืองหลวงท่ามกลางกิเลสที่มีสีสันแห่งบริโภคนิยม"[64]
    • อย่างไรก็ดี วัดพระธรรมกายชี้แจงสั้น ๆ ว่า กิจกรรมดังกล่าวไม่ผิดหลักพุทธศาสนา[64] และได้รับการสนับสนุนจากพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ด้วย[63] ขณะที่นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวรับรองในทำนองเดียวกันว่า "เป็นการรวมชาวพุทธให้มาร่วมกิจกรรม แม้ว่าจะมีผลกระทบด้านการจราจรบ้าง...เหมือนการจัดทำบุญตักบาตรพระสงฆ์หลายหมื่นรูปที่ถนนเยาวราช ซึ่งเป็นเรื่องดี ไม่อยากให้มองแต่แง่ลบอย่างเดียว อยากให้มองว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์มากกว่า"[67]
  • การอ้างว่า สตีฟ จอบส์ ตายแล้วเป็นอมนุษย์ กรณีที่วัดพระธรรมกายเผยแพร่สารคดีชุด แวร์อิสสตีฟ จอบส์ (Where is Steve Jobs) ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2555 ความว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัด ได้ใช้ญาณตรวจสอบพบว่า สตีฟ จอบส์ ตายแล้วไปเกิดเป็นวิทยาธรกึ่งยักษ์อยู่ในพิภพซึ่งทับซ้อนอยู่กับมนุษยโลก เพราะเขายังห่วงหาอาลัยในธุรกิจ[3] นั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการอวดอุตริมนุษยธรรม และพระไพศาล วิสาโล เห็นว่า เข้าข่ายปาราชิก[68]
  • การจัดการพนัน กรณีที่วัดพระธรรมกายเปิดให้สาธารณชนกด "ถูกใจ" (like) หน้าเฟซบุ๊กของวัด แล้วลงชื่อเสียงเรียงนามพร้อมที่อยู่สำหรับติดต่อกลับ เพื่อชิงรางวัลพระพุทธรูปทองคำมูลค่าสิบล้านบาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 นั้น ถูกนักนิติศาสตร์วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการขยายฐานลูกค้าของวัด และเป็นการจัดการพนันโดยแจ้งชัดซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยก่อน อย่างไรก็ดี นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ผิดอะไร เป็นเรื่องมโนสาเร่ไม่ควรใส่ใจ เพราะเป็นเพียงวิธีดึงดูดความสนใจของวัด และเห็นว่า ที่กิจกรรมนี้ถูกมองว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์บางประการนั้น "ก็เพราะวัดแห่งนี้มีภาพลักษณ์ที่คนนอกมักมองว่าเลวอยู่ก่อนแล้ว"[69]
  • กิจกรรมของวัดพระธรรมกายยังเป็นหัวเรื่องหนึ่งที่นิยมศึกษาและวิจัย เช่น งานวิทยานิพนธ์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางบนอินเทอร์เน็ตกลางปี 2556 เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่บังคับให้ข้าราชการครูเข้าอบรมยังวัดพระธรรมกาย[70] โดยพระมหาวุฒิชัยได้วิจัยเกี่ยวกับงานวิชาการต่างๆ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) แล้วสรุปว่า วัดพระธรรมกายเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน[70]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541
  2. Head, Jonathan (2560-03-22). "The curious case of a hidden abbot and a besieged temple". BBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 ต.ค. 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "ธรรมกายสุดเพี้ยน! ปลุกวิญญาณ 'สตีฟ จ็อบส์'". ผู้จัดการรายวัน. 2555-08-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 2555-08-22. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ทหาร-ตำรวจพรึ่บ! ล้อมวัดพระธรรมกาย “ดีเอสไอ” ประกาศให้ ปชช.เลี่ยงถนนคลองหลวง http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000016155 เก็บถาวร 2017-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Heikkilä-Horn 2539, p. 94.
  6. Rajakaruna, J. (28 ก.พ. 2551). "Maha Dhammakaya Cetiya where millions congregate seeking inner peace" [มหาธรรมกายเจดีย์ สถานที่ที่คนแสงหาสันติสุขภายในรวมเป็นล้าน]. Daily News (ศรีลังกา) (ภาษาอังกฤษ). Lake House.
  7. 7.0 7.1 McDaniel, Justin (2549). "Buddhism in Thailand: Negotiating the Modern Age". ใน Berkwitz, Stephen C. (บ.ก.). Buddhism in World Cultures: Comparative Perspectives [พระพุทธศาสนาตามวัฒนธรรมต่างๆ ในโลก มุมมองในแง่เปรียบเมียบ] (ภาษาอังกฤษ). Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 1-85109-787-2.
  8. Heikkilä-Horn 1996, p. 94.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 เฟื่องฟูสกุล 2541.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Sirikanchana, Pataraporn (2010). "Dhammakaya Foundation" [มูลนิธิธรรมกาย]. ใน Melton, J. Gordon; Baumann, Martin (บ.ก.). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices (ภาษาอังกฤษ) (2 ed.). ABC-CLIO.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-16.
  12. Zehner, Edwin (2533). "Reform Symbolism of a Thai Middle–Class Sect: The Growth and Appeal of the Thammakai Movement" [สัญลักษณ์เชิงปฏรูปในกลุ่มศาสนาระดับชนชั้นกลาง การเติบโต และแรงดึงดูด ของสำนักธรรมกาย]. Journal of Southeast Asian Studies (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press ในนามของ Department of History National University of Singapore. 21 (2).
  13. "จาก "บ้านธรรมประสิทธิ์" สู่ "มหาธรรมกายเจดีย์"". ช่อง 8 (โทรทัศน์). มหากาพย์ ธรรมกาย. Vol. 3. 29 พ.ค. 2559. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1:52. สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. Heikkilä-Horn 2015.
  15. Falk, Monica Lindberg (2550). Making fields of merit: Buddhist female ascetics and gendered orders in Thailand [การสร้างเนื้อนาบุญ นักบวชผู้หญิง และการแยกเพษในหมู่นักบวชในประเทศไทย] (ภาษาอังกฤษ). Copenhagen: NIAS Press. ISBN 978-87-7694-019-5.
  16. McDaniel 2553, pp. 41, 662.
  17. Bechert 2540, p. 176.
  18. Scott 2552, p. 52.
  19. Swearer 2534, p. 656.
  20. Taylor 2532, p. 126.
  21. เฟืองฟูสกุล, อภิญญา (1 ม.ค. 2536). "Empire of Crystal and Utopian Commune: Two Types of Contemporary Theravada Reform in Thailand" [อาณาจักรแก้ว และหมู่คณะตามอุดมคติ การปฏิรูปเถรวาทในประเทศไทยแบบสมัยใหม่ สองแนวทาง]. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ). 8 (1): 157.
  22. Scott 2552, p. 44.
  23. Mackenzie 2007, pp. 42–3.
  24. Newell, Catherine Sarah (1 เม.ย. พ.ศ. 2051). Monks, meditation and missing links: continuity, "orthodoxy" and the vijja dhammakaya in Thai Buddhism [พระภิกษุ สมาธิ และสิ่งต่อเชื่อมที่หายไป การสืบทอด ความเชื่อดั้งเดิม และวิชชาธรรมกายตามพระพุทะศาสนาแบบไทย] (Ph.D.) (ภาษาอังกฤษ). Department of the Study of Religions, วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน. p. 130. {{cite thesis}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  25. Zehner, Edwin (2005). "Dhammakāya Movement" [ขบวนการธรรมกาย]. ใน Jones, Lindsay (บ.ก.). Encyclopedia of Religion (ภาษาอังกฤษ). Vol. 4 (2 ed.). Farmington Hills: Thomson Gale. p. 2325.
  26. Zehner, Edwin (มิ.ย. พ.ศ. 2556). "The church, the monastery and the politician: Perils of entrepreneurial leadership in post-1970s Thailand" [โบสถ์ วัด และนักการเมือง โทษภัยของผู้นำนักบริหารในประเทศไทย ยุคหลัง ค.ศ.1979]. Culture and Religion (ภาษาอังกฤษ). 14 (2). doi:10.1080/14755610.2012.758646. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  27. Keyes, Charles F (2536). "Buddhist Economics and Buddhist Fundamentalism in Burma and Thailand". ใน Marty, Martin E.; Appleby, R. Scott (บ.ก.). Fundamentalisms and the state: remaking polities, economies, and militance. The Fundamentalism Project (ภาษาอังกฤษ). Vol. 3. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-50884-6.
  28. 28.0 28.1 Litalien, Manuel (ม.ค. พ.ศ. 2553). Développement social et régime providentiel en thaïlande: La philanthropie religieuse en tant que nouveau capital démocratique [ประเทศไทย การพัฒนาสังคม และคณะผู้ปกครองที่โชคดี การบริจาคทางศาสนาในรูปแบบใหม่ที่เป็นทุนประชาธิปไตย] (PDF) (Ph.D. Thesis) (ภาษาฝรั่งเศส). Université du Québec à Montréal. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  29. =Burford, Grace G. (2005). "Pali Text Society" (PDF). ใน =Jones, Lindsay (บ.ก.). Encyclopedia of Religion (ภาษาอังกฤษ). Vol. 10 (2 ed.). Thomson-Gale. p. 6956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 March 2017.{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  30. 30.0 30.1 30.2 บัญชานนท์, พงศ์พิพัฒน์ (3 ก.พ. 2558). "รู้จัก "เครือข่ายธรรมกาย"". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-11. สืบค้นเมื่อ 3 มี.ค. 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 "29 ปีบนเส้นทาฃธรรม". ดอกเบี้ยธุรกิจ. 1 มี.ค. 2542. p. 1.
  32. "มอบทุนสนับสนุนพระบาลีหว่า 3 ล้านบาทในวันสมาธิโลก". แนวหน้า. 7 ส.ค. พ.ศ. 2556. p. 21. สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. พ.ศ. 2559 – โดยทาง Matichon E-library. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  33. ทหาร-ตำรวจพรึ่บ! ล้อมวัดพระธรรมกาย "ดีเอสไอ" ประกาศให้ ปชช.เลี่ยงถนนคลองหลวง http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000016155 เก็บถาวร 2017-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  34. Tostevin, Matthew; Satrusayang, Cod; Thempgumpanat, Panarat (24 ก.พ. 2560). "The power struggle behind Thailand's temple row" [การต่อสู้ด้านอำนาจ ที่ทำให้เกิดการขัดแย้งเกี่ยวกับศาสนา]. Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 ก.พ. 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. คณะทีมงานประชาสัมพันธ์ (19 ธ.ค. 2541). "เอกสารชี้แจงฉบับที่ 2/2541-พระราชภาวนาวิสุทธิ์กับการถือครองที่ดิน". www.dhammakaya.or.th. จังหวัดปทุมธานีh: มูลนิธิธรรมกาย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มี.ค. 2548.
  36. 36.0 36.1 นาเจริญ, นิธิศ (20 พ.ย. 2559). "เปิดโครงสร้างทีมสื่อวัดพระธรรมกาย". คม ชัด ลึก. เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป. สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. 37.0 37.1 "ธรรมกายปฏิเสธนำเงินวัดไปเล่นหุ้น เตรียมยื่นคัดค้านปิดช่อง DMC". โพสต์ทูเดย์. โพสต์ พับลิชชิง. 7 ธ.ค. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. DMC, DMC ย่อมาจาก
  39. "สำนักสื่อสารธรรมกาย เปิดแนวรบสื่อเต็มรูปแบบ". ช่องนาว. 31 พ.ค. 2559. สืบค้นเมื่อ 20 พ.ค. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. [1], Dhamma Media Channel (DMC) [ลิงก์เสีย]
  41. ปรโลกนิวส์ ตอน สตีฟ จ็อบส์ ตายแล้วไปไหน (dmc.tv)
  42. ธรรมกายเสนอสารคดี "สตีฟ จ็อบส์ตายแล้วไปไหน", ข่าวธรรมกาย-สตีฟ จ็อบส์ ถูกพูดถึงในรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้", คำชี้แจงจากวัดธรรมกายเรื่องสตีฟ จ็อบส์ (ครั้งที่สอง) จากบล็อกนัน
  43. "ธรรมกายแจงปมภัยศาสนา". สำนักข่าวไทย. 3 มิ.ย. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. "NBTC must abide by law". Bangkok Post. โพสต์ พับลิชชิ่ง. 3 ม.ค. พ.ศ. 2559. p. 9. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. พ.ศ. 2560 – โดยทาง Matichon E-library. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  45. "ตั้ง ธัมมชโย เป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ ธรรมกายหันไลฟ์สดผ่าน FB-Youtube แทนหลังช่อง DMC ถูกปิด". บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์. บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน). 9 ธ.ค. พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  46. Mackenzie 2550, pp. 41–2, 46–7.
  47. 47.0 47.1 Snodgrass, Judith (พ.ศ. 2546). "Building Thai Modernity: The Maha Dhammakaya Cetiya" [สร้างความทันสมัยแบบไทย มหาธรรมกายเจดีย์]. Architectural Theory Review (ภาษาอังกฤษ). 8 (2). doi:10.1080/13264820309478494. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  48. 48.0 48.1 ประวัติวัดพระธรรมกาย เก็บถาวร 2007-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บกัลยาณมิตร
  49. Scott 2552, p. 1.
  50. มหารัตนวิหารคด มหาบุญสถาน เพื่อการปฏิบัติธรรม
  51. "Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ม.ค. พ.ศ. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archivedate= (help)
  52. "Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. 19 ต.ค. พ.ศ. 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ต.ค. พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= และ |archivedate= (help)
  53. Seeger, Martin (ก.ย. พ.ศ. 2551). "The Changing Roles of Thai Buddhist Women: Obscuring Identities and Increasing Charisma". Religion Compass (ภาษาอังกฤษ). 3 (5): 811. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  54. "The Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
  55. "The Visitor's Zone" [โซนผู้เชี่ยมชม] (ภาษาอังกฤษ). มูลนิธิธรรมกาย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
  56. Mackenzie 2550.
  57. ศรีเรือนทอง, มั่น (18 ธ.ค. พ.ศ. 2558). "เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารทรงกลมโครงสร้างถักสานด้วยเทคโนโลยีคอนกรีตสำเร็จรูป" (PDF). วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย. 3 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  58. ""คอนเนคชั่น" ธรรมกาย". ช่อง 8 (โทรทัศน์). มหากาพย์ ธรรมกาย. Vol. 5. 31 พ.ค. พ.ศ. 2559. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0:15. สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  59. "ภาพมุมสูงของวัดพระธรรมกาย". ทีเอ็นเอ็น24. 27 พ.ค. พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พ.ย. พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  60. ศรีสุวรรณ, สุชาติ (19 ก.ค. 2546). "คำชี้แจง". มติชน. p. 10. สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2560 – โดยทาง Matichon E-library. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  61. "ย้อนคดี ธัมมชโย ยักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย อัยการตัดตอนถอนฟ้อง". Manager Online. 2553-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2556-03-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  62. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ (2555-04-06). "บทวิเคราะห์ธรรมกาย กฎหมายหมิ่นศาสนา และอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ซ้อนรัฐ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  63. 63.0 63.1 "ขบวนภิกษุธรรมกายบุกกรุง! สาวกแห่โปรย "ดาวรวย" รับ "พงศ์เทพ" ยักไหล่ใช้ ร.ร.ปักกลด". ผู้จัดการ. 2556-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  64. 64.0 64.1 64.2 "หลายฝ่ายฉะ "ธุดงค์กลางเมือง" ไม่เหมาะสม "ธรรมกาย" อ้างไม่ผิดหลักศาสนา". ผู้จัดการ. 2555-04-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  65. "ธุดงค์นะจ๊ะ... ธรรมเกินนะฮะ!". ผู้จัดการ. 2555-04-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  66. ""หลวงปู่พุทธะอิสระ" ติงธรรมกายเดินธุดงค์ทำคนเดือดร้อน ผิดหลักศาสนา". ผู้จัดการ. 2556-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  67. "พศ.-ธรรมกายแจงธุดงค์กลางกรุง ไม่ผิดหลักศาสนา". ไทยรัฐ. วัชรพล (บริษัท). 2555-04-03. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  68. "อวดอุตริ! พระไพศาลชี้ 'สตีฟ จ็อบส์' ฉบับธรรมกาย เข้าข่ายอาบัติปาราชิก!". ไทยรัฐ. วัชรพล (บริษัท). 2555-08-21. สืบค้นเมื่อ 2556-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. "นักวิชาการชี้ กดแชร์ธรรมะ ธรรมกาย ลุ้น 10 ล้าน เข้าข่ายการพนัน". กะปุก. 2556-07-03. สืบค้นเมื่อ 2556-07-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. 70.0 70.1 "แชร์ว่อน!วิทยานิพนธ์พระว.'ธรรมกาย'อันตราย". คมชัดลึก. 2556-09-11. สืบค้นเมื่อ 2556-09-11. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

การศึกษา

14°04′23.37″N 100°38′47.01″E / 14.0731583°N 100.6463917°E / 14.0731583; 100.6463917

บทความ