วัดคลองวาฬ

วัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วัดคลองวาฬ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยมีพระธรรมวชิรสิทธาจารย์ (ละเอียด สุทนฺโต) เจ้าคณะภาค ๑๕ เป็นเจ้าอาวาส

วัดคลองวาฬ
พระอุโบสถ
แผนที่
ที่ตั้ง449 ถนนประจวบ - คลองวาฬ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระธรรมวชิรสิทธาจารย์ (ละเอียด สุทนฺโต)
เว็บไซต์watklongwan.net
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

วัดคลองวาฬตั้งอยู่บนถนนประจวบ - คลองวาฬ หมู่ที่ 1 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กินเนื้อที่ 57 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา โดยมีอาณาเขตจรดทางหลวงและที่ดินเอกชนทางทิศเหนือ จรดโรงเรียนบ้านคลองวาฬทางทิศใต้ จรดทางหลวงทางทิศตะวันออก และจรดทางสาธารณะทางทิศตะวันตก

ประวัติ แก้

วัดคลองวาฬ เริ่มสร้างในสมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสร้างมาก่อนที่จะเป็นเมืองคลองวาฬ เดิมทีวัดคลองวาฬไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันนี้ แต่ได้ย้ายสถานที่ถึง 3 ครั้ง 3 แห่งก่อนที่จะมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน การหาหลักฐานที่แน่ชัดไม่ได้ก็คงเพราะเมืองคลองวาฬสมัยก่อนเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องรับศึกพม่าโดยตลอดทำให้การที่จะสร้างวัดให้มั่นคงถาวรเป็นไปได้ยาก แม้แต่จวนเจ้าเมืองก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าอยู่ที่ใด ปัจจุบันวัดคลองวาฬอยู่ห่างจากเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร

ปูชนียวัตถุ แก้

พระพุทธชินราชมุนีศรีประจวบคีรีขันธ์ พระประธานประจำพระอุโบสถ

หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์สมประสงค์ พระประธานองค์เก่า ประดิษฐานในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปโบราณยุครัตนะ ทรงจีวรลายดอกพิกุล

พระพุทธรัตนมงคล พระประธานบนศาลาการเปรียญ (หอฉัน)

ถาวรวัตถุ แก้

  • พระอุโบสถเดิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469
  • ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
  • หอสวดมนต์ เป็นอาคารไม้ กว้าง 9 เมตร ยาว 14 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน 12 หลัง
  • นอกจากนี้มี ห้องสมุด หอฉัน ศาลาบำเพ็ญกุศลและฌาปนสถาน

การศึกษา แก้

  • โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2478
  • โรงเรียนพระปริบัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2510

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

  1. พระรุ่ง ภูระหงส์
  2. พระพุ่ม สอนสอบ
  3. พระเกี้ยน
  4. พระเหลือ พูลสวัสดิ์
  5. พระนิ่ม
  6. พระจวง ส่วนน้อย
  7. พระกรี คงหนุน
  8. พระสุเมธีวรคุณ (โถ พฺรหฺมสโร)
  9. พระราชธรรมาภรณ์ (หวล สุขิโต)
  10. พระธรรมวชิรสิทธาจารย์ (ละเอียด สุทนฺโต)

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง วัดคลองวาฬ, เล่ม ๑๐๒, ตอน ๘๘, ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘, หน้า ๓๑๖๘

แหล่งข้อมูล แก้