กิงกากูจิ

(เปลี่ยนทางจาก วัดกิงกะกุ)

กิงกากูจิ (ญี่ปุ่น: 銀閣寺โรมาจิGinkaku-jiทับศัพท์: วัดศาลาเงิน) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ จิโชจิ (ญี่ปุ่น: 慈照寺โรมาจิJishō-ji) เป็นวัดในเขตซาเกียว นครเกียวโต สร้างขึ้นโดยโชกุนอาชิกางะ โยชิมาซะ ในสมัยยุคมูโรมาจิเมื่อ พ.ศ. 2017 เพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงอำนาจและความยิ่งใหญ่ของตระกูล โดยเลียนแบบจากคิงกากูจิที่สร้างโดยโชกุนอาชิกางะ โยชิมิตสึ ผู้เป็นปู่

จิโชจิ
慈照寺
คันนนเด็ง (ตำหนักเจ้าแม่กวนอิม) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ศาลาเงิน" แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
นามภูเขาโทซัง
นิกายเซน สำนักรินไซ
ศรัทธาต่อชากะ เนียวไร (พระโคตมพุทธเจ้า)
สร้างเมื่อพ.ศ. 2033
สร้างโดยอาชิกางะ โยชิมาซะ
บรรพชิตแรกมูโซ โซเซกิ
ที่อยู่2 Ginkakuji-chō, Sakyō-ku, Kyōto
ประเทศ ญี่ปุ่น
เว็บไซต์http://www.shokoku-ji.jp

ศาลาคันนนเป็นอาคารหลักของวัด มักเรียกกันว่า ศาลาเงิน (กิงกากุ) เนื่องมาจากเมื่อครั้งแรกสร้าง โยชิมาซะมีความตั้งใจว่าจะใช้แผ่นเงินแท้ปิดหุ้มผนังด้านนอกศาลา แต่ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามโอนินขึ้น การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลงโดยไม่มีการปิดหุ้มแผ่นเงิน ปัจจุบันวัดนี้ได้เปลี่ยนจากสัญลักษณ์ของอำนาจของโชกุน กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์และความอดกลั้น

เมื่อแรกเริ่มนั้น กิงกากูจิสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและปลีกวิเวกของโชกุน ในระหว่างที่โยชิมาซะดำรงตำแหน่งโชกุน เขาได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่าในชื่อวัฒนธรรมแห่งขุนเขาตะวันออก (ญี่ปุ่น: 東山文化โรมาจิHigashiyama-bunka) กล่าวกันว่า เมื่อสงครามโอนินทวีความรุนแรงมากขึ้น โยชิมาซะได้มาหลบซ่อนตัวอยู่ที่ศาลาเงินแห่งนี้ เขาได้พักผ่อนและชื่นชมกับความสงบและความสวยงามของสวนในบริเวณศาลา ในขณะที่นครเกียวโตกำลังถูกเพลิงเผาผลาญ ต่อมาใน พ.ศ. 2028 โยชิมาซะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในนิกายเซน และหลังจากเขาเสียชีวิตลง ศาลาเงินและบริเวณโดยรอบได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นวัดพุทธ โดยใช้ชื่อว่า "จิโชจิ" ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงศาลาเงินที่ยังคงตั้งอยู่

บริเวณรอบ ๆ ศาลาเงิน มีพื้นดินที่มีมอสหลากหลายชนิดขึ้นปกคลุม และมีสวนแบบญี่ปุ่น ซึ่งออกแบบโดยโซอามิ ศิลปินนักจัดสวนชื่อดัง โดยเฉพาะสวนหินและทรายที่มีชื่อเสียงมาก โดยมีกองทรายที่กล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขาฟูจิตั้งอยู่ในสวน

กิงกากูจิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

35°1′37″N 135°47′54″E / 35.02694°N 135.79833°E / 35.02694; 135.79833