วัดกล้าชอุ่ม

วัดในจังหวัดปทุมธานี

วัดกล้าชอุ่ม ตั้งอยู่เลขที่ 22 หมู่ 4 ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย เดิมชื่อวัดร้อยสอน โดยมีนายสอน นางภู่ นางรอด นายหลุย นายแสวง ได้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้สร้างวัดเป็นเนื้อที่นาจำนวน 9 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวาตามโฉนดเลขที่ 1118 สภาพเป็นที่ทำนาราบลุ่ม

วัดกล้าชอุ่ม
แผนที่
ที่ตั้งตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ด้านการการศึกษา และเผยแผ่พุทธศาสนา วัดกล้าชอุ่มได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม และนักธรรมศึกษาตามโรงเรียนต่าง ๆ และจัดให้มีการเทศน์ธรรมในทุก ๆ วันพระ และยังปฏิบัติเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน[1]

ประวัติการสร้างวัด แก้

วัดสร้างครั้งแรก มีพระภิกษุสังวาลย์ เป็นผู้ดำเนินการนำสร้าง ท่านเป็นพระมาจากถิ่นอื่น ได้ไปนำไม้จากทางเหนือ มาปลูกสร้างวัดเป็นครั้งแรก

สมัยต่อมา พระภิกษุสังวาลพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็มีพระภิกษุรูปหนึ่งไม่ทราบนาม ได้มารักษาการแทน และช่วยก่อสร้างวัดได้พอสมควร

สมัยต่อมา มีพระภิกษุใหญ่ (ไม่ทราบฉายา) ได้มาริเริ่มก่อสร้างอุโบสถขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาเทเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 19 เมตร โดยมีนายซา นายย๊อด พระภิกษุเวช จีนใต้ นางแก้ว ขุนพาทย์ นายค้า จีนเพิ่ม นายเขียน นายหอมได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2464 สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2467 สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 8,092 บาท (แปดพันเก้าสิบสองบาทถ้วน)

ต่อมา ทางกรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อวัด เป็นวัดกล้าชอุ่ม ตามภูมิประเทศที่รอบๆวัด มีการตกกล้าทำนาดำโดยทั่วๆไป ถึงเวลาหน้าทำนารอบๆวัด จะมองเห็นพื้นที่เขียวชอุ่มไปจนสุดสายตา

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2485 นายซา สาดพรหม อายุ 66 ปี ได้ทำสัญญายกที่ดินให้กับวัดกล้าชอุ่มอีกจำนวน 7 ไร่ 5 ตารางวา รวมเนื้อที่ดินตั้งวัด มี 16 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1673 ต่อมาได้จัดแบ่งที่ดินตั้งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาวัดกล้าชอุ่ม อีกประมาณ 6 ไร่เศษ

ต่อมา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 นายทองหล่อ ปรารภ นางแฉลม ภุมกาญจน์ นางเฉลียว บัวบานพร้อม นาวาตรีฉลอง วงศ์ดนตรี ได้ยกที่ดินให้วัดกล้าชอุ่มอีก 285 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 3954 ด้านหลังวัด

ต่อมา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 นายยศ บัวบานพร้อม นางผาด บัวบานพร้อม และนางจำเนียร บัวบานพร้อม นางประยูร ฉิ่งทอง ได้ยกที่ดินให้วัดกล้าชอุ่ม อีก 285 ตารางวาตามโฉนดเลขที่ 3953 ด้านหลังวัด

ต่อมา 21 ธันวาคม พศ. 2547 พระครูพิพัฒน์ปัญญาธร เจ้าอาวาสวัดกล้าชอุ่ม ได้ชักชวนประชาชน ร่วมกันซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 3952 ให้วัดชอุ่มอีก จำนวน 285 ตารางวา ด้านหลังวัด[2]

ที่ธรณีสงฆ์ แก้

  • ปัจจุบันวัดมีเนื้อที่ตั้งวัดเป็นจำนวน 19 ไร่ - งาน 20 ตารางวารวมทั้งที่ตั้งโรงเรียนด้วย
  • ทิศเหนือ ยาว 115 วา เป็นโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ในวัดด้วยใช้เนื้อที่ไปประมาณ 6 ไร่ และติดกับที่ดินหมู่บ้านเอื้ออาทร เป็นโครงการของรัฐบาล ด้านขางโรงเรียนและหลังวัด
  • ทิศใต้ ยาว 115 วา ติดกับถนนซอยเข้าที่จัดสรรหมู่บ้านยาวขนานไปกับที่ดินตั้งวัด
  • ทิศตะวันออก ยาว 90 วาติดกับที่ดินเอกชนซึ่งจัดสรรแบ่งขายเป็นแปลงๆ ยาวคู่ไปกับหมู่บ้านเอื้ออาทร
  • ทิศตะวันตก ยาว 90 วา เป็นหน้าวัดติดคลองระบายน้ำที่ 2 ปัจจุบันถูกแบ่งเป็นถนนไปประมาณ 1 ไร่เศษเป็นถนนคอนกรีตมีรถยนต์วิ่งสัญจร ไปมาได้สะดวก
  • วัดกล้าชอุ่ม มีที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ยู่ที่ ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีโดยมีนางพลับ โกมลเสน อายุ 79 ปี ได้ยกที่ดินให้วัดกล้าชุ่ม เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2484 จำนวน 120 ไร่ – งาน 55 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 239 และต่อมาพระครูพิพัฒน์ปัญญาธรได้ถวายที่ดินอีก 1 แปลงเป็นที่ดินจัดสรรเนื้อที่ 2 งาน 85 วาโฉนดเลขที่ 3850 จากนายศิริชัย วิมลเกียรติ[3]

ประกาศตั้งวัดกล้าชอุ่ม แก้

  • วัดกล้าชอุ่ม ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2457 เดิมชื่อวัดร้อยสอน ตั้งตามนามผู้สร้างวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 และทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2467 ปัจจุบันอุโบสถหลังนั้นเป็นวิหารไปแล้ว โดยพระครูวิริยกิจคุณได้สร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างสวยงาม และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2527[4]

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

  1. พระภิกษุสังวาลย์ (ไม่ทราบฉายา) ผู้ริเริ่มสร้างวัด
  2. พระภิกษุ (ไม่ทราบชื่อและฉายา) รับช่วงต่อมา
  3. พระอธิการอยู่ (หลวงพ่อใหญ่) ผู้ริเริ่มสร้างโบสถ์เป็นมา ถึง พ.ศ. 2476
  4. พระอธิการทองสุข สุมโน เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2489 ( สมัยที่ 1 )
  5. พระอธิการหริ่ม เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2490
  6. พระอาจารย์ฟ้อน รักษาการแทน พ.ศ. 2490 ถึง
  7. พระอธิการแสง เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ถึง พ.ศ. 2517
  8. พระครูวิริยกิจคุณ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2537
  9. พระลำจวน อธิปญฺโญ รักษาการแทนตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2538
  10. พระอธิการทองสุข สุมโน เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2542 ( สมัยที่ 2 )
  11. พระครูพิพัฒน์ปัญญาธร เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ถึง 24 มิ.ย.2564[5]
  12. พระอธิการจำเริญ ติกฺขปญฺโญ (พูลแก้ว) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ 24 พ.ย. 2563 ถึงปัจุบัน

ปูชนียวัตถุศาสนสถาน แก้

  • โบสถ์ วัดกล้าชอุ่ม (ปัจจุบัน เป็นวิหารไปแล้ว) ริเริ่มก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2457 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาเทเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 19 เมตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 และทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2467 สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 8,092 บาท (แปดพันเก้าสิบสองบาทถ้วน) ปัจจุบันอุโบสถหลังนี้เป็นวิหารไปแล้ว และได้กลายเป็นที่เรียนสำหรับพระและสามเณรที่มาบวชใหม่
  • โบสถ์ วัดกล้าชอุ่ม พระครูวิริยกิจคุณได้สร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างสวยงาม และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2527 สถานที่ไว้ให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่น ลงฟังพระปาฏิโมกข์ , อุปสมบท , เวียนเทียน และงานประเพณีต่างๆเป็นต้น
  • พระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระครูวิริยกิจคุณ นำมาจากประเทศศรีลังกา ทำ 3 ชั้น ชั้นที่สองมีโครงการจะทำเป็นพิพิธพันธ์ อดีตเจ้าอาวาส และสถานที่ฝึกจิต วิปัสนากรรมฐาน
  • ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น เป็นศาลาอเนกประสงค์ ใช้ในงานทำบุญหรือเทศกาลต่างๆ
  • ศาลาธรรมสังเวช
  • หอระฆัง
  • กุฏิพูนศรี ครึ่งตึกครึ่งไม้ มี 10 ห้องนอน มีห้องสุขาในตัว 2 ห้อง ๆ อาบน้ำ 1 ห้อง
  • กุฏิสง่าเนตร คอนกรีตเสริมเหล็กมี 4 ห้องนอน มีห้องสุขา 1 และห้องอาบ 1 น้ำในตัวเรือน
  • กุฏิสุมโน คอนกรีตเสริมเหล็กชั้นบนมี 3 ห้องนอน ชั้นล่าง มี 1 ห้องนอนมีห้องสุขา และห้องอาบน้ำในตัวเรือนอย่างละ 1 ห้อง
  • ศาลาหอฉันและด้านบนเป็นหอสวดมนต์
  • กุฏิบัวบานพร้อม คอนกรีตเสริมเหล็กมี 10 ด้านในห้องนอน 1 ห้องสุขา 1 ห้องอาบน้ำ
  • กุฏิพานุช ด้านบนมีห้องนอน 6 ห้อง มีห้องใหญ่นอนได้ 2 องค์ หนึ่งห้อง และห้องอาจารย์คุมพระใหม่ 1 ห้อง มีห้องน้ำในตัว ด้านล่างมีห้องน้ำ 2 ห้อง สุขา 2 ห้อง เป็นกุฏิเฉพาะพระที่บวชมาใหม่และบวชไม่นาน
  • กุฏิโหลขุนเซียม คอนกรีตเสริมเหล็กมี 8 ห้องนอน 1 ด้านในห้องสุขา 1 ห้องๆอาบน้ำ ด้านนอกตัวเรือนมีห้องสุขา 4 ห้องๆอาบน้ำ 2 ห้อง
  • กุฏิพุ่มรอด ข้างบนมี 2 ห้องนอน ด้านล่าง มี 1 ห้องน้ำ 1 ห้องสุขา และ 1 ห้องนอน
  • กุฏิโตประเสริฐ ด้านบนมี 2 ห้องนอน ล่าง 2 ห้องนอน
  • ด้านล่างหลังห้องมี 1 ห้องน้ำ 1 ห้องสุขา
  • ศาลาเณรแก้ว สำหรับไว้ใช้จัดงานในวัดในพิธีกรรมต่างๆ[6]

ฌาปนสถาน (เมรุ) วัดกล้าชอุ่ม แก้

  • เป็นแบบเตาใบเดียว และได้จัดจ้างทำเป็นแบบ เตาคู่ เพื่อความสะดวกกับพุทธศาสนิกชน ผู้ที่มาใช้ในการบำเพ็ญกุศลศพ[7]

อ้างอิง แก้

  1. กรมการศาสนา.หนังสือประวัติวัดทั่วราชาอาณาจักร. (กรุงเทพ ฯ​ โรงพิมพ์กรมการศาสนา,2535)
  2. คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 )
  3. คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 )
  4. คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 )
  5. คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 )
  6. คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 )
  7. คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 )