วัฒนธรรมบริษัท หรือ วัฒนธรรมองค์การ (อังกฤษ: Organizational culture) ประกอบด้วยทัศนคติ ประสบการณ์ ความเชื่อและคุณค่าขององค์การใดองค์การหนึ่ง มีการนิยามไว้ว่าเป็น "การรวบรวมเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับคุณค่า บรรทัดฐานที่คนหรือกลุ่มคนมีร่วมกันในองค์การเป็นเป็นตัวควบคุมวิธีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและกับผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์การ เชื่อว่าคุณค่าขององค์การเป็นความเชื่อและเป็นความคิดว่าด้วยเป้าหมายที่สมาชิกขององค์การควรไฝ่หาและเป็นความคิดเกี่ยวกับชนิดที่เหมาะของมาตรฐานพฤติกรรมที่สมาชิกขององค์การพึงใช้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย คุณค่าขององค์การจะพัฒนาเป็นบรรทัดฐานขององค์การ แนวทางหรือความคาดหวังที่ทำให้เกิดชนิดของพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยลูกจ้าง โดยเฉพาะสำหรับสถานการณ์และการควบคุมพฤติกรรมระหว่างสมาชิกองค์การด้วยกันเอง""[1]

ผู้บริหารระดับสูงอาจพยายามกำหนดวัฒนธรรมขององค์การ อาจต้องการที่จะใช้บังคับคุณค่าและมาตรฐานพฤติกรรมขององค์การที่สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ขององค์การ นอกจากนี้ ยังอาจมีวัฒนธรรมองค์การที่มีอยู่เดิมแล้วภายในองค์การนั้น กลุ่มทำงานภายในองค์การจะมีพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันที่เป็นลูกเล่นของตนเองอยู่แล้วซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การโดยรวม วัฒนธรรมการทำงานอาจนำจากภายนอกมาใช้ได้ เช่น นักเทคนิคคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความช่ำชอง ภาษาและพฤติกรรมที่ได้มาอย่างเป็นอิสระจากองค์การอื่น ซึ่งการมาของพวกเขาเหล่านี้สามารถมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมขององค์การโดยรวมได้

วัฒนธรรมอ่อนและวัฒนธรรมแข็ง แก้

กล่าวกันว่าวัฒนธรรมที่แข็งจะมีได้ก็ต่อเมื่อพนักงานตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพราะพวกเขาวางตัวเองให้เข้ากับค่านิยมขององค์การอยู่แล้ว

ในทางตรงข้ามก็ยังมีวัฒนธรรมอ่อน ที่วางตัวเองให้เข้ากับคุณค่าและการควบคุมองค์การไม่มาก ซึ่งในกรณีนี้จะมีการใช้มาตรการและระบบของอำมาตยาธิปไตยเป็นอย่างมาก

ในที่ที่มีวันธรรมแข็ง พนักงานจะคิดเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งถูกต้องที่ตนพึงกระทำ -ซึ่งนับว่ามีความเสี่ยงสำหรับในอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า "กลุ่มคิด" (Groupthink) กล่าวถึงโดย เออร์วิง แอล จานิส ซึ่งให้นิยามไว้ว่า "...หนทางที่เร็วและง่ายในการเอ่ยถึงแนวฐานนิยมของความคิดที่ผู้คนเกี่ยวข้องอยู่ โดยเมื่อพวกเขาเกี่ยวข้องอย่างลึกเพื่อการเกาะกลุ่มที่เหนียวแน่นเมื่อกลุ่มพยายามฝ่าฟันร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นเอกฉันท์ที่จะเอาชนะความพยายามที่จะมีการประเมินทางเลือกเพื่อใช้การปฏิบัติที่เป็นจริง" นี่คือระยะห่างที่ผู้คนที่แม้จะมีความคิดต่างกันก็จะไม่ยอมท้าทายความคิดขององค์การ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อต้องมีการพึ่งพาเป็นอย่างมากต่ออำนาจบารมีของบุคคลในองค์การ หรือเมื่อมีความเชื่อทางศาสนาในระบบคุณค่าขององค์การ หรือเมื่อภายในกลุ่มที่มีบรรยากาศความเป็นเพื่อนเป็นพื้นฐานของเอกลักษณ์ (การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง) ความจริงแล้ว "กลุ่มคิด" มีอยู่ทั่วไปเป็นปกติ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในเกือบจะทุกกลุ่ม สมาชิกที่กล้าขัดขืนมักถูกปฏิเสธไม่เป็นที่ยอมรับ หรือถูกมองเป็นเสมือนอิทธิพลทางลบของกลุ่มเพราะเป็นตัวสร้างความขัดแย้ง

องค์การที่มีนวัตกรรมต้องการปัจเจกบุคคลผู้มีความพร้อมที่จะท้าทายกับสถานะที่เป็นอยู่อย่างเดิม ทำนองนิ่งเสียตำลึงทอง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคิดหรือเป็นกลุ่มอำมาตยาธิปไตย นอกจากนี้องค์การยังต้องการเป็นอย่างมากในกระบวนการที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อให้ความคิดใหม่ๆ เป็นจริงขึ้นมาได้

การจำแนกแผน แก้

มีวิธีการหลายอย่างที่นำมาใช้เพื่อจำแนกวัฒนธรรมองค์การ ดังบางวิธีการข้างล่างนี้

กีร์ท ฮอฟสตีด (Geert Hofstede) แก้

กีร์ท ฮอฟสตีด (Geert Hofstede)[2] ได้แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับภาคที่มีผลต่อวัฒนธรรมขององค์การ ฮอฟสตีดได้ระบุมิติ 5 ประการของวัฒนธธรมดังกล่าวไว้ในการศึกษาว่าด้วยอิทธิพลของชาติดังนี้

  • ระยะของอำนาจ (Power distance) ระดับที่สังคมคาดหวังมีความแตกต่างในระดับของอำนาจ คะแนนที่สูงแสดงให้เห็นว่ามีความคาดหวังที่บุคคลบางคนใช้อำนาจมากกว่าบุคคลอื่น คะแนนที่ต่ำสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ผู้คนเห็นว่าควรมีสิทธิ์เท่าๆ กัน
  • การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (Uncertainty avoidance) สะท้อนให้เห็นความากน้อยที่สังคมหนึ่งๆ ยอมรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
  • ปัจเจกนิยมกับคติรวมหมู่ (individualism vs. collectivism) ปัจเจกนิยม (individualism) ตรงข้ามกับคติรวมหมู่ (collectivism) และโยงถึงความมากน้อยที่ผู้คนคาดหวังที่จะยอมให้ได้สำหรับตนเอง หรือจะยอมเป็นส่วนขององค์การ อย่างไรก็ดี การวิจัยเมื่อเร็วนี้ได้แสดงให้เห็นว่าความเป็นปัจเจกนิยมอาจไม่ใช่ตัวการที่ทำให้คติรวมหมู่ลดน้อยลง หรือกลับกัน งานวิจัยระบุว่าแนวคิดทั้งสองนี้ จริงๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน บางคนและบางวัฒนธรรมมีทั้งความเป็นทั้งปัจเจกนิยมและคติรวมหมู่สูงทั้งคู่ เช่น บางคนที่มีค่านิยมในหน้าที่สูงต่อกลุ่มของตนไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องให้อิสรภาพส่วนบุคคลและความพอเพียงของตนเองลดน้อยลง
  • ความเป็นชาย กับ ความเป็นหญิง (Masculinity vs. femininity) หมายถึงคุณค่าที่ให้แก่ค่านิยมตามประเพณีของชายหรือหญิง ตัวอย่างเช่น ค่านิยมของชายรวมถึงการแข่งขัน การยืนยันที่หนักแน่น ความทะเยอทะยานและการสะสมเพื่อความมั่งคั่งและความเป็นวัตถุนิยม
  • การมองระยะยาว กับ การมองระยะสั้น อธิบายถึง"เส้นชั้นแห่งเวลา" หรือความสำคัญที่ผูกติดไว้กับอนาคต กับ ความสำคัญที่ผูกติดกับอดีต ในสังคมที่มองระยะยาว ความมัธยัสถ์และความวิริยอุตสาหะได้รับคุณค่าที่สูงกว่า สังคมที่มองระยะสั้น ความเคารพนับถือในประเพณีนิยมและการให้ของขวัญและความชอบส่วนตัวตอบแทนระหว่างกันจะได้รับคุณค่าที่สูงกว่า ประเทศทางตะวันออกมีแนวโน้มที่จะให้คะแนนด้านนี้สูงในขณะที่ประเทศตะวันตกให้คะแนนต่ำกว่าและประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าให้คะแนนต่ำกว่ามาก จีนให้คะแนนสูงที่สุด ในขณะที่ปากีสถานให้คะแนนต่ำสุด

ดีลและเคเนดี แก้

ดีลและเคเนดี (Deal and Kennedy)[3] ให้นิยามวัฒนธรรมองค์การไว้ว่าเป็น วิธีที่ทำให้งานแล้วเสร็จ ณ ตรงนี้ ทั้งสองคนได้วัดองค์การในแง่ของ:

  • การป้อนกลับ
  • ความเสี่ยง
  • วัฒนธรรมชายผู้เข้มแข็ง
  • วัฒนธรรมทำงานหนัก/เล่นหนัก
  • วัฒธรรมกระบวนการ

ชาลส์ แฮนดี แก้

ชาลส์ แฮนดี (Charles Handy)[4] เป็นผู้ทำให้วิธีการมองวัฒนธรรมที่นักวิชาการบางคนเคยใช้โยงถึงโครงสร้างองค์การกับวัฒนธรรมองค์การ

  • วัฒนธรรมอำนาจ
  • วัฒนธรรมบทบาท
  • วัฒนธรรมทำงาน
  • วัฒนธรรมบุคคล

เอดกา ชีน แก้

เอดกา ชีน (Edgar Schein),[5] ศาสตราจารย์ของคณะการจัดการสโลนของสถาบันเทคโนโลยีแมสสาชูเสตส์ (MIT Sloan School of Management) ได้นิยามวัฒนธรรมองค์การไว้ว่าเป็น "สิ่งตกค้างแห่งความสำเร็จ" ภายในองค์การ ชีนเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นลักษณะประจำขององค์การที่ยากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นผลิตภัณฑ์ บริการ มีความเป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำและลักษณะประจำอื่นๆ ขององค์การที่คงทนสุด แบบจำลององค์การของชีนจุดประกายการมองวัฒนธรรมในมุมมองของผู้สังเกตการณ์ ที่อธิบายระดับของปริชานของวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ...

วิวัฒนาการของวัฒนธรรมองค์การ แก้

อาร์เทอร์ เอฟ คาร์มาซซี (Arthur F Carmazzi) กล่าวว่าวัฒนธรรมองค์การที่เป็นพลวัตคือกระบวนการ "วิวัฒนาการ" ที่สามารถเปลี่ยนและวิวัฒนาการไปด้วยจิตวิทยาแห่งผู้นำที่เหมาะสม

พื้นฐานของวิวัฒนาการวัฒนธรรม แก้

ระดับของความเป็นปัจเจกบุคคล แก้

ระดับขององค์การ แก้

มุมมองที่ลึกวิวัฒนาการบรรษัท แก้

วัฒนธรรมกล่าวโทษ แก้

วัฒนธรรมการมีหลายแนวทาง แก้

วัฒนธรรมชีวิตและการไว้ชีวิต แก้

วัฒนธรรมเชื่อยี่ห้อ แก้

วัฒนธรรมส่งเสริมความเป็นผู้นำ แก้

การดูแลรักษาวัฒนธรรม แก้

องค์ประกอบ แก้

จี จอห์สัน (G. Johnson)[6] ได้กลาวถึงโครงข่ายของวัฒนธรรม ได้บ่งชี้จำนวนองค์ประกอบที่สามารถนำมาใช้พรรณาถึงหรือที่มีอิทธิพลต่อองค์การไว้ดังนี้

แบบอย่าง แก้

ระบบการควบคุม แก้

โครงสร้างองค์การ แก้

โครงสร้างอำนาจ แก้

สัญลักษณ์ แก้

พิธีกรรมและความเป็นธรรมดา แก้

เรื่องราวและเรื่องปรัมปรา แก้

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมองค์การ แก้

  • นวัตกรรมและการรับความเสี่ยง
  • ความห้าวหาญ
  • การเน้นที่ผลลัพธ์
  • การเน้นที่ทีมทำงาน
  • การเน้นที่คน
  • ความเอาใจใส่ต่อรายละเอียด
  • ความมีสเถียรภาพ
  • การแข่งขัน
  • อายุขององค์การ

วัฒนธรรมองค์การและการเปลี่ยนแปลง แก้

วัฒนธรรมผู้ประกอบการ แก้

สตีเฟน แมกไกวร์ (Stephen McGuire)[7] ได้ให้นิยามและทำให้สมบูรณ์แบบจำลองของวัฒนธรรมผู้ประกอบการไว้ว่าเป็นหนทางที่พยากรณ์ได้จากแหล่งใหม่ๆ องค์การวัฒนธรรมผู้ประกอบการคือระบบการแบ่งปันค่านิยม ความเชื่อและปทัสถานของสมาชิกองค์การรวมทั้งการให้คุณค่าแก่ความคิดสร้างสรรค์และความมีใจกว้างอดทนต่อคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้เชื่อในนวัตกรรมการการฉวยโอกาสทางการตลาดว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับการจัดการกับปัญหาการอยู่รอดและความรุ่งเรือง ความไม่แน่นอนด้านสิ่งแวดล้อมและการคุกคามของคู่แข่งและคาดหวังว่าสมาชิกขององค์การจะปฏิบัติตามนั้น


มุมมองวิกฤติ แก้

นักเขียนหลายคนที่เขียนเกี่ยวกับการศึกษาวิกฤติการจัดการ Critical management studies ได้แสดงความกังขาเกี่ยวกับมุมมอง "นักหน้าที่นิยม" (functionalist) กับ "นักเดี่ยวนิยม" (unitarist) ที่มีต่อวัฒนธธรมที่ยกขึ้นมาโดยนักคิดด้านการจัดการสายหลัก....ปาร์เกอร์[8] ได้แนะว่า...

การวัด แก้

ทั้งๆ ที่พยานหลักฐานได้บ่งชี้ว่าศักยภาพของความมีประโยชน์ บรรยากาศขององค์การไม่ได้รมีการการนำไปใช้อย่างเต็มที่เพื่อความปลอดภัย สุขภาพและการเป็นดัชนีของสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมและในฐานะที่เป็นเครื่อช่วยวางลำดับความเสี่ยง ดอดสเวิร์ทและคณะ.[9] เป็นกลุ่มวิจัยคณะแรกที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคแบบจำลอง PLS เพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับสมรรถนะด้านความปลอดภัยขององค์การ ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยนี้อาจเข้าดูได้จากลิงก์ต่อไปนี้ Dodsworth's Homepage เก็บถาวร 2007-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ...

หมายเหตุ แก้

  1. Charles W. L. Hill, and Gareth R. Jones, (2001) Strategic Management. Houghton Mifflin.
  2. Hofstede, G. (1980) Culture's Consequences: International Differences in Work Related Values, Beverly Hills, CA, Sage Publications
  3. Deal T. E. and Kennedy, A. A. (1982) Corporate Cultures: The Rites and Rituals of Corporate Life, Harmondsworth, Penguin Books.
  4. Handy, C.B. (1985) Understanding Organizations, 3rd Edn, Harmondsworth, Penguin Books
  5. Schein, E.H. (1985-2005) Organizational Culture and Leadership, 3rd Ed., Jossey-Bass ISBN 0-7879-7597-4
  6. Johnson, G. (1988) "Rethinking Incrementalism", Strategic Management Journal Vol 9 pp75-91
  7. McGuire, Stephen J.J. (2003). Entrepreneurial Organizational Culture: Construct Definition and Instrument Development and Validation, Ph.D. Dissertation, The George Washington University, Washington, DC.
  8. Parker, M. (2000) Organizational Culture and Identity, London: Sage.
  9. Dodsworth M. et al (2007) Organizational Climate Metrics As Safety, Health and Environment Performance Indicators And An Aid To Relative Risk Ranking Within Industry. Process Safety and Environmental Protection, Trans IChemE, Vol 85 (B1) 59-69, Part B, January.

อ้างอิง แก้

  • Black, Richard J. (2003) Organisational Culture: Creating the Influence Needed for Strategic Success, London UK, ISBN 1-58112-211-X
  • Cummings, Thomas G. & Worley, Christopher G. (2005), Organization Development and Change, 8th Ed., Thomson South-Western, USA, ISBN 0324260601
  • Kotter, John. 1992 Corporate Culture and Performance, Free Press; (April 7, 1992) ISBN 0-02-918467-3
  • O'Donovan, Gabrielle (2006). The Corporate Culture Handbook: How to Plan, Implement and Measure a Successful Culture Change Programme, The Liffey Press, ISBN 1-904148-97-2
  • Phegan, B. (1996-2000) Developing Your Company Culture, A Handbook for Leaders and Managers, Context Press, ISBN 0-9642205-0-4
  • Stoykov, Lubomir. 1995 Corporate culture and communication, Stopanstvo , Sofia.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้