ฟรานซิส คริก[1] เป็นผู้ตั้งสมมติฐานนี้ขึ้นมา อธิบายเกี่ยวกับการจับคู่เบสระหว่างโคดอนของ mRNA และแอนไทโคดอนของ tRNA ในขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีน ว่าเป็นไปอย่างยืดหยุ่นกว่าการจับคู่เบสในสาย DNA การสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสคู่ที่หนึ่งและคู่ที่สองนั้นเป็นไปอย่างเข้มงวดและไม่ค่อยผิดพลาด แต่เบสคู่ที่สามซึ่งจับกันระหว่างเบสที่ปลาย 3' ของ mRNA และเบสที่ปลาย 5' ของ tRNA นั้นค่อนข้างจะมีอิสระกว่าเบสของคู่แรก[2] การจับคู่เบส แบบวอบเบิล มี 4 แบบคือ guanine-uracil inosine-uracil inosine-adenine และ inosine-cytosine (G-U, I-U, I-A และ I-C)

การจับคู่เบส แบบวอบเบิล ของ inosine และ guanine


อ้างอิง แก้

  1. http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1962/crick-bio.html
  2. รศ.สุนันทา ภิญญาวัธน์ ชีวเคมี 2 หน้า 399 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ISBN 978-616-513-461-3

เพิ่มเติม แก้