วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวรรณกรรมที่มีความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเป็นเรื่องราวที่เกิดจากวรรณคดีภาษาสันสกฤต อันได้แก่ รามายณะ, มหาภารตะ และคัมภีร์ปุราณะ ควบคู่กันกับนิทานพื้นเมืองของแต่ละชาติ[1] โดยมากมักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และคติต่างๆของผู้คนในแต่ละภูมิภาค รวมถึง อาจมีการสอดแทรกความเชื่อทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม

ประวัติ แก้

แต่เดิม เรื่องแต่งต่างๆ มักมาจากการดำรงชีวิต หรือการเอาชีวิตรอดของผู้คน เรื่องแต่งต่างๆเดิมยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน เมื่อสังคมเริ่มมีความเจริญก้าวหน้า กิจกรรมการเสพวรรณกรรมจึงเริ่มต้นขึ้น ทั้งในรูปแบบของนิทาน, นิทานพื้นบ้าน หรือเพลงพื้นบ้านต่างๆ

ต่อมา ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียและจีน เนื่องด้วยอยู่ในภูมิภาคที่อยู่ระหว่างสองอารยธรรมดังกล่าว จึงได้นำวรรณคดีหลายเรื่องราวมาดัดแปลง ทั้งจากเรื่องที่เขียนในภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต และภาษาจีน โดยอาจนำเรื่องที่เป็นที่รู้จักของจีนและอินเดียมาแปล หรือปรับใหม่ โดยพระมหากษัตริย์, ขุนนาง หรือพระสงฆ์ ในสมัยนั้น

ปัจจุบันได้มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาว่าด้วยเรื่องวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง ตลอดจนมีการจัดหมวดหมู่ในห้องสมุดต่างๆ โดยใช้การจัดอยู่ในหมวด 895.9 ตามระบบทศนิยมของดิวอี้[2]

วรรณกรรมประจำชาติ แก้

ในศตวรรษที่ 19 อิทธิพลจากตะวันตกเริ่มแผ่ขยายมายังภูมิภาคต่างๆ แทนที่วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมจากระบอบจักรวรรดินิยม ส่งผลให้เริ่มมีการรณรงค์วรรณคดีที่มีค่านี้ มิให้สูญสลายไปตามกาลเวลาในหลายประเทศ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป ดังเช่น:

วรรณกรรมเวียดนาม แก้

วรรณกรรมเวียดนาม ได้รับอิทธิพลทั้งทางวัฒนธรรมและภาษาจีน เคยมีการใช้อักษรจื๋อโนมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และต่อมา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการใช้อักษรโรมันแทนที่อักษรจีนในภาษาเวียดนาม

วรรณคดีไทย แก้

วรรณคดีไทย, พม่า และกัมพูชา ต่างได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนานิกายเถรวาท รวมถึงอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรและนำมาใช้ในงานวรรณกรรม โดยจากช่วงอดีตถึงปัจจุบัน องค์พระมหากษัตริย์, ราชวงศ์ และเจ้านายของไทย ต่างได้สร้างสรรค์ผลงานด้านวรรณศิลป์ไว้เป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนมากก็มีโอกาสรับรู้ถึงงานวรรณกรรมอย่างแพร่หลาย รวมถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ได้เริ่มมีผลงานที่สำคัญจากประเทศจีน ที่เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และเริ่มมีการจัดแปลในรูปแบบบทร้อยแก้วในเวลาต่อมา

อ้างอิง แก้

  1. "Pali and Sanskrit in Thai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
  2. การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้