วงศ์อึ่งอ่าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 24–0Ma ยุคไมโอซีนตอนต้น-ปัจจุบัน[1]
อึ่งมะเขือเทศ (Dyscophus antongilli) พบบนเกาะมาดากัสการ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Microhylidae
Günther, 1858
วงศ์ย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีดำ)

อึ่งอ่าง หรือ อึ่ง เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylidae

ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ ตัวเต็มวัยจะมีสันพาดตามขวางที่เพดานปาก 2-3 สัน และส่วนต้นของท่อลมยืดยาวขึ้นมาที่พื้นล่างของอุ้งปาก มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบมี 8 ปล้อง แต่ในบางชนิดจะมี 7 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัลเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส ลูกอ๊อดส่วนใหญ่มีช่องปากเล็กและซับซ้อน ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันในปาก ช่องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านท้ายตัวและในแนวกลางลำตัว กินอาหารแบบกรองกิน แต่ในบางชนิดจะมีฟันและมีจะงอยปาก

มีขนาดลำตัวแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 1 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร อาศัยทั้งอยู่บนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ ลำตัวมีรูปร่างแตกต่างไปกันหลากหลายตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ชนิดที่อาศัยบนต้นไม้จะมีส่วนปลายของนิ้วขยายออกเป็นตุ่ม ชนิดที่อาศัยอยู่ในโพรงดินจะมีลำตัวแบนราบและหัวกลมหลิม เป็นต้น มีรูปแบบการผสมพันธุ์ที่หลากหลาย ในบางชนิดมีการอาศัยแบบเกื้อกูลกันกับแมงมุมด้วย โดยอาศัยในโพรงเดียวกัน

การจำแนก แก้

แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ย่อย มีประมาณ 64 สกุล พบประมาณ 436 ชนิด โดยชนิดที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ อึ่งอ่างบ้าน (Kaloula pulchra), อึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata) ขณะที่บางชนิดก็นิยมรับประทานกันเป็นอาหาร เช่น อึ่งปากขวด (Glyphoglossus molossus) เป็นต้น

วงศ์ย่อย

อ้างอิง แก้

  1. Zweifel, Robert G. (1998). Cogger, H.G. & Zweifel, R.G.. ed. Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 102–103. ISBN 0-12-178560-2.
  2. หน้า335-340, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น แก้