ล็อคฮีด แอล-1011

อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างสามเครื่องยนต์สัญชาติอเมริกัน

ล็อกฮีด แอล-1011 ไตรสตาร์ (อังกฤษ: Lockheed L-1011 TriStar) เรียกโดยทั่วไปว่า แอล-1011 (อ่านว่า "แอล-สิบ-สิบ-เอ็ด") หรือไตรสตาร์ เป็นเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างสามเครื่องยนต์สัญชาติอเมริกัน ได้รับการออกแบบและผลิตโดยบริษัทล็อกฮีด โดยเป็นเครื่องบินพาณิชย์ลำตัวกว้างลำที่สามที่ถูกสร้างขึ้น ต่อจากโบอิง 747 และคู่แข่งแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10[1] ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 1972 โดยสายการบินอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ด้วยความจุผู้โดยสารสูงสุด 400 คนและพิสัยการบินกว่า 4,000 ไมล์ทะเล (7,410 กม.) แอล-1011 ไตรสตาร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับการเดินทางระยะกลางถึงระยะไกล มีการใช้เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ อาร์บี211 จำนวนสามเครื่อง โดยสองเครื่องยนต์ติดตั้งบริเวณใต้ปีกแต่ละข้าง และอีกหนึ่งเครื่องติดตั้งที่ส่วนท้ายของลำ แอล-1011 ยังได้รับการติดตั้งระบบการลงจอดอัตโนมัติ, ระบบลดระดับอัตโนมัติ, และตัวเลือกในการติดตั้งพื้นที่ครัวและห้องรับรองในส่วนล่างของเครื่องบิน

แอล-1011 ไตรสตาร์
ล็อกฮีด แอล-1011 ไตรสตาร์ในลวดลายผสมผสานคอร์ทไลน์ ขณะทำการบินสาธิตรอบโลก
หน้าที่ อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง
ประเทศผู้ผลิต สหรัฐ สหรัฐ
ผู้ผลิต บริษัทล็อกฮีด
เที่ยวบินแรก 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970
เริ่มใช้ 26 เมษายน ค.ศ. 1972 โดย อีสเทิร์นแอร์ไลน์
สถานะ ประจำการในบทบาทพิเศษ
ผู้ใช้หลัก นอร์ทธรอป กรัมแมน
การผลิต ค.ศ. 1968–1984
จำนวนที่ถูกผลิต 250
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในปี 1972)
รุ่น

ข้อมูลจำเพาะ แก้

  • ผู้สร้าง: บริษัท ล็อกฮีด-แคลิฟอร์เนีย (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท: เจ๊ตโดยสารลำตัวกว้าง พิสัยปานกลาง-ไกล เจ้าหน้าที่ 3 นาย อัตราผู้โดยสารสูงสุด 300 ที่นั่ง
  • เครื่องยนต์: เทอร์โบแฟน รอสส์-รอยซ์ อาร์บี.211-524 บี ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 21,722 กิโลกรัม 3 เครื่อง
  • กางปีก: 47.34 เมตร
  • ยาว: 50.04 เมตร
  • สูง: 16.87 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 320 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 108,925 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 44,390 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 224,982 กิโลกรัม
  • น้ำหนักร่อนลงสูงสุด: 166,920 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง: 978 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะ 9,450 เมตร
  • อัตราเร็วเดินทาง: 935 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วเดินทางประหยัด 913 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • เพดานบินใช้งาน: 12,800 เมตร
  • พิสัยบิน: 9,748 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระเต็มที่
    • 11,397 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่

[1]

อากาศยานที่ใกล้เคียงกัน แก้

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน แก้

อากาศยานที่ใกล้เคียงกัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522