ลีวียู ดรักเนอา

ลีวียู นีกอลาเอ ดรักเนอา (โรมาเนีย: Liviu Nicolae Dragnea, ออกเสียง: [ˈlivju nikoˈla.e ˈdraɡne̯a], เกิด 28 ตุลาคม 1962) เป็นวิศวกรและอดีตนักการเมืองชาวโรมาเนีย เริ่มต้นอาชีพในสายการเมืองจากพรรคประชาธิปไตย (เปเด) ต่อมาได้เข้าร่วมกับพรรคประชาธิปไตยสังคม (เปเอสเด) ที่ซึ่งต่อมาเขากลายมาเป็นผู้นำของพรรค หลังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง เขาลาออกจากคณะรัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2015 หลังถูกตัดสินมีความผิดเกี่ยวข้องกับการโกงการเลือกตั้ง ทำให้เขาถูกห้ามลงเลือกตั้งและพักงานการเมืองนานสองปี จนถึงเดือนเมษายน 2016

ลีวียู ดรักเนอา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรโรมาเนีย
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม 2016 – 27 พฤษภาคม 2019
ก่อนหน้าฟลอริน ยอร์ดากีเย (ชั่วคราว)
ถัดไปมาร์เชล ชอลากู
ประธานพรรคประชาธิปไตยสังคม
ดำรงตำแหน่ง
12 ตุลาคม 2015 – 27 พฤษภาคม 2019
รักษาการ: 22 กรกฎาคม 2015 – 12 ตุลาคม 2015
ก่อนหน้ารอวานา ปลุมบ์ (รักษาการ)
ถัดไปวียอรีกา เดินชีเลอ (รักษาการ)
รองนายกรัฐมนตรีโรมาเนีย
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม 2012 – 17 ธันวาคม 2014
ประธานาธิบดีตรายัน เบอเซสกู
นายกรัฐมนตรีวิกตอร์ ปอนตา
ก่อนหน้าฟลอริน จอร์เจสกู
ถัดไปดานีเยล กิตซอยู
รัฐมนตรีการปกครองและพัฒนาภูมิภาค
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม 2012 – 15 พฤษภาคม 2015
นายกรัฐมนตรีวิกตอร์ ปอนตา
ก่อนหน้าเอดูวาร์ด เฮลวิก
ถัดไปเซวิล ไชเด
รัฐมนตรีการปกครองและมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม 2009 – 2 กุมภาพันธ์ 2009
นายกรัฐมนตรีเอมิล บ็อก
ก่อนหน้าดัน นีกา (ชั่วคราว)
ถัดไปดัน นีกา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม 2012 – 29 พฤษภาคม 2019
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ลีวียู นีกอลาเอ ดรักเนอา

(1962-10-28) 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962 (61 ปี)
กราตียา เตเลออร์มัน โรมาเนีย
พรรคการเมืองพันธมิตรเพื่อบ้านเกิดเมืองนอน (โดยพฤตินัย, ตั้งแต่ปี 2021)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคประชาธิปไตย (1996–2000)
พรรคประชาธิปไตยสังคม (2000–2019)
คู่อาศัยอีรีนา อาเลกซันดรา เตอนาเซ
คู่สมรสบอมบอนีกา ปรอดานา (หย่า 2015)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยป้องกันประเทศการอลที่ 1
มหาวิทยาลัยนิเวศวิทยาบูคาเรสต์
สถาบันสารพัดช่างบูคาเรสต์
วิชาชีพวิศวกร
ลายมือชื่อ

ในเดือนธันวาคม 2016 หลังการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในปีนั้น เขากลายมาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรของโรมาเนีย กระทั่งในปี 2019 เขาถูกส่งตัวเข้าเรือนจำนานสามปีครึ่งด้วยความผิดฐานจัดการจ่ายเงินให้กับสมาชิกพรรคสองคนที่ถูกจ้างงานปลอมภายใต้การจ่ายเงินโดยรัฐ กระนั้นในเดือนกรกฎาคม 2021 โทษจำคุกของเขาถูกยกเลิก และทำให้เขาสิ้นสุดการรับผิด 1 ปี 4 เดือน เร็วกว่ากำหนด

หน้าที่การงาน แก้

ผู้นำพรรคประชาธิปไตยสังคม แก้

ในเดือนกรกฎาคม 2015 หัลงผู้นำคนเดิมของพรรคประชาธิปไตยสังคม (เปเอสเด) ลาออกจากตำแหน่ง ดรักเนอาได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นหัวหน้าชั่วคราวของพรรค เขาสามารถเอาชนะรอวานา ปลุมบ์ ด้วยคะแนนเสียง 65-18[1] ในเดือนตุลาคม เขาเป็นผู้ลงสมัครคนเดียวของพรรคสำหรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคตามวาระ ในการลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรค เขาได้รับคะแนนเสียง 97%[2]

ในการเลือกตั้งรัฐสภาเดือนธันวาคม 2016 ดรักเนอายังคงนั่งเก้าอี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่นำพรรคเปเอสเดสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้[3][4] จากนั้นเขาจึงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภา[5]

ผ่านความพยายามของเอลเลียต บรอยดี ดรักเนอาและนักการเมืองโรมาเนียอีกคน ได้เข้าพบดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่โรงแรมนานาชาติทรัมป์ในวอชิงตัน ดี.ซี. ในระหว่างสัปดาห์การสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ในเดือนมกราคม 2017 ดรักเนอาประสงค์ให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของโรมาเนียกับสหรัฐแน่นแฟ้นขึ้น เขายังได้โพสต์บนเฟซบุ๊กของตนเองอ้างว่าประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวว่า "เราจะทำให้มันเกิดขึ้นจริง! โรมาเนียนี้สำคัญสำหรับพวกเรา!" ในขณะที่บรอยดีพยายามจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเซอร์ซีนัส (Circinus) บริษัทรักษาความปลอดภัยของเขาที่มีสำนักงานใหญ่ในรัฐเวอร์จิเนีย กับรัฐบาลโรมาเนีย[6][7]

กรณีโกงการเลือกตั้ง แก้

ในเดือนพฤษภาคม 2015 เขาถูกตัดสินมีความผิดฐานโกงการเลือกตั้งในระหว่างการลงคะแนนมติไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี ปี 2012 และได้รับโทษพักงานการเมืองนานหนึ่งปี ทำให้เขาต้องลงจากตำแหน่งรัฐมนตรีการปกครองและการพัฒนาส่วนภูมิภาค[8] ในเดือนเมษายน 2016 ศาลสูงพิพากษาความผิดสุดท้ายในกรณีนี้ให้ดรักเนอารับโทษนานสองปี[9]

กรณีฉ้อโกงทุนสหภาพยุโรป แก้

ในเดือนพฤศจิกายน 2017 หน่วยอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (เดเนอา) เปิดโปงกรณีฉ้อโกงของดรักเนอาเป็นครั้งที่สาม ในครั้งนี้ได้รับข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักงานต่อต้านการทุจริตยุโรป ในกรณีฉ้อโกงนี้กล่าวโทษว่าดรักเนอาเป็นหนึ่งในกลุ่มอาชญากรที่ตั้งขึ้นในปี 2001 ที่มีส่วนในการโยกย้ายเงินทุนมูลค่า 20 ล้านยูโร จากสหภาพยุโรป ไปใช้ในทางมิชอบ[10]

ในเดือนมีนาคม 2018 ไรส์โปรเจกต์และโฟลยาจีเซาเปาลูได้เปิดเผยว่าดรักเนอาจะถูกสอบสวนในประเทศบราซิลจากกรณีการฟอกเงิน[11] ข้อมูลจากการ์ลุส วักเนร์ บาร์บอซา กีมาไรส์ อัยการแห่งรัฐ ระบุว่า ดรักเนอาได้ใช้ intertwines ที่ชื่อ "oranges" สำหรับฟอกเงินและซื้ออสังหาริมทรัพย์บนชายหาดกุงบูกู ห่างจากโฟร์ตาเลซา เมืองหลวงของรัฐเซอารา ไป 30 กิโลเมตร[12] ส่วยดรักเนอาออกมาปฏิเสธว่าข้อมูลจากการสืบสวนสอบสวนของบราซิลนั้นไม่เป็นความจริง[13]

กรณียุยงปลุกปั่นให้ใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิด แก้

ในเดือนธันวาคม 2016 ดรักเนอาและอดีตภรรยาถูกฟ้องร้องดำเนินคดีฐานใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิด (abuse of public office) และปลอมแปลง (forgery) ขณะดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาเทศมณฑลเตเลออร์มัน (Teleorman County Council)[14]

ดรักเนอาถูกพิพากษามีความผิดในวันที่ 21 มิถุนายน 2018 โดยศาลสูง ด้วยความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้มีการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิด (incitement to abuse of office) ขณะดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศมณฑลเตเลออร์มัน และถูกตัดสินจำคุก 3 ปี 6 เดือน[15] ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2019 ดรักเนอาถูกคุมขังในเรือนจำราฮอวา (Rahova Prison)[16]

ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2021 หรือ 2 ปี 2 เดือนให้หลัง ศาลแขวงจูร์จู รับคำร้องของดรักเนอาให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้เขาสิ้นสุดโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือนก่อนกำหนด ก่อนนี้ เขายังได้ฟ้องร้องเรือนจำราฮอวาว่าได้ละเมิดสิทธิของเขาหลายประการตลอดช่วงที่ถูกคุมขัง โดยเฉพาะสิทธิในการไปทำงาน (ได้รับการยกเว้นทันทีโดยผู้นำของเรือนจำหลังเขาสัมภาษณ์ออนไลน์กับช่องโทรทัศน์ Realitatea Plus) และสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ[17]

อ้างอิง แก้

  1. (ในภาษาโรมาเนีย) Mădălina Mihalache, "Liviu Dragnea, şef la PSD cu binecuvântarea lui Ion Iliescu" ("Liviu Dragnea, PSD Head with Ion Iliescu's Blessing"), Adevărul, 22 July 2015; accessed July 23, 2015
  2. (ในภาษาโรมาเนีย) Ștefan Pană, "Liviu Dragnea, ales preşedinte al PSD cu 97% din voturile membrilor de partid" ("Liviu Dragnea, Elected PSD President with 97% of Party Members' Votes"), Mediafax, 12 October 2015; accessed October 12, 2015
  3. (ในภาษาโรมาเนีย) "Profil de parlamentar: Liviu Dragnea, deputat PSD Teleorman" ("MP Profile: Liviu Dragnea, PSD Deputy for Teleorman") เก็บถาวร 2023-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Agerpres, 18 December 2016; accessed December 19, 2016
  4. (ในภาษาโรมาเนีย) Roxana Petre, "Liviu Dragnea, după primele rezultate la alegerile parlamentare" ("Liviu Dragnea, after the First Results of the Parliamentary Elections") เก็บถาวร 2016-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, România Liberă, 12 December 2016; accessed December 19, 2016
  5. (ในภาษาโรมาเนีย) Cătălina Mănoiu, Mădălina Dârvaru, "Camera Deputaţilor şi-a ales conducerea" ("Chamber of Deputies Elects Its Leadership"), Mediafax, 21 December 2016; accessed December 21, 2016
  6. Vogel, Kenneth P.; Kirkpatrick, David D. (25 March 2018). "Fund-Raiser Held Out Access to Trump as a Prize for Prospective Clients". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 September 2021.
  7. Biddle, Sam (22 June 2018). "Trump Insider Wanted to Sell Social Media Surveillance Tools to Abusive Governments, Leaked Documents Suggest". The Intercept. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 21 September 2021.
  8. (ในภาษาโรมาเนีย) Cristian Andrei, "Liviu Dragnea a demisionat" ("Liviu Dragnea Resigns"), Gândul, 15 May 2015; accessed May 19, 2015
  9. (ในภาษาโรมาเนีย) Petriana Condruț, Andreea Traicu, "Liviu Dragnea, condamnat la doi ani de închisoare cu suspendare în dosarul Referendumului" ("Liviu Dragnea, Sentenced to Two Years' Suspended Imprisonment in Referendum Case"), Mediafax, 22 April 2016; accessed April 22, 2016
  10. (ในภาษาโรมาเนีย) Ionel Stoica, "Liderul partidului de guvernământ din România, pus sub acuzare pentru fraudă" ("Leader of Romania's Governing Party Accused of Fraud"), Adevărul, 13 November 2017; accessed November 15, 2017
  11. Flávio Ferreira (9 March 2018). "Líder político romeno é investigado por compra de imóveis em praia cearense". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกส).
  12. "RISE Project: Liviu Dragnea, anchetat în Brazilia pentru spălare de bani. Reacția șefului PSD: "Informațiile sunt false"". Adevărul (ภาษาโรมาเนีย). 9 March 2018.
  13. Claudia Spridon (9 March 2018). "Liviu Dragnea neagă informațiile RISE Project privind ancheta din Brazilia: "M-au prins vânzând portocale pe plajă"". Adevărul (ภาษาโรมาเนีย).
  14. (ในภาษาโรมาเนีย) Andreea Traicu, "Instanţa supremă a decis să înceapă judecata în dosarul lui Liviu Dragnea" ("High Court Decides to Begin Case against Liviu Dragnea"), Mediafax, 9 December 2016; accessed January 24, 2017
  15. "Liviu Dragnea a fost condamnat la 3 ani si 6 luni de inchisoare cu executare".
  16. "Romania corruption: PSD chief Liviu Dragnea jailed". BBC News. 27 May 2019. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019.
  17. "Liviu Dragnea iese din închisoare. Tribunalul Giurgiu a admis cererea de eliberare condiționată" [Liviu Dragnea leaves prison. The Giurgiu Court admitted the request of conditional release]. Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.