ลำเชิงไกร[2] หรือ ลำเชียงไกร เป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีต้นกําเนิดจากเทือกเขาสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำป่าสัก โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,948 ตร.กม. และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 263 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 1.35 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล[1]

ลำเชิงไกร
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำโขง
ลุ่มน้ำประธานลุ่มน้ำมูล
ชื่อแหล่งน้ำลำเชิงไกร
ข้อมูลทั่วไป
ไหลผ่านอำเภอเทพารักษ์ อําเภอด่านขุนทด อำเภอโนนไทย อำเภอเมืองนครราชสีมา และอําเภอโนนสูง
ความยาว184 กม.
พื้นที่ลุ่มน้ำ2,958 ตร.กม[1]
ต้นน้ำเขาคันตูม
ที่ตั้งของต้นน้ำอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
ท้ายน้ำแม่น้ำมูล
ที่ตั้งของท้ายน้ำอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ แก้

เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่สำคัญในลุ่มน้ำลำเชิงไกร ได้แก่

อ่างเก็บน้ำ ระดับกักเก็บ
(ล้าน ลบ.ม.)
ที่ตั้ง
อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร 27.70 อำเภอด่านขุนทด อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนบน 8.40 อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ 8.70 อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำหนองกก 2.97 อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
บึงรัตนเศรษฐ 0.50 อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

เหตุการณสำคัญ แก้

น้ำท่วมใหญ่ ปี 2564 แก้

ปลายปี พ.ศ. 2564 เกิดพายุฝนตกหนัก จนมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากบริเวณลุ่มน้ำลำเชียงไกร ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตร และเกิดน้ำล้นอ่างเก็บน้ำหลักของลุ่มน้ำ

  • อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนบน อำเภอด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่าง 11.924 ล้าน ลบ.ม. หรือ 141.95 % จากระดับเก็บกัก 8.40 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อำเภอด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่าง 9.029 ล้าน ลบ.ม. หรือ 103.78 % จากระดับเก็บกัก 8.70 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำหนองกก อำเภอพระทองคำ มีปริมาณน้ำในอ่าง 3.50 ล้าน ลบ.ม. หรือ 117.96 % จากระดับเก็บกัก 2.97 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง อำเภอโนนไทย มีปริมาณน้ำในอ่าง 41.96 ล้าน ลบ.ม. หรือ 151.49 % จากระดับเก็บกัก 27.70 ล้าน ลบ.ม.[3]

จนกระทังวันที่ 26 กันยายน 2564 บริเวณอาคารระบายน้ำล้นปกติของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างได้ถูกกระแสน้ำกัดเซาะกำแพงปีกด้านขวาจนชำรุดทำให้มวลน้ำไหลเข้าท่วมท้ายลำน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง และทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ข้อมูลลุ่มน้ำลำเชิงไกร" (PDF). ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา "โบราณคดีอีสานใต้ : โบราณวัตถุสถานและงานศิลปกรรม (พอสังเขป)".
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 127.
  3. "ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกร วันที่ 26 กันยายน 2564".
  4. "น้ำท่วมใหญ่ ปี 2564 บริเวณลุ่มน้ำลำเชียงไกร".

ดูเพิ่ม แก้