ลาไฮนา (ฮาวาย: Lāhainā, อักษรโรมัน: Lahaina) เป็นสถานที่ซึ่งระบุในสำมะโน (CDP) ในเทศมณฑลเมาวี รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของกาอานาปาลี และ กาปาลัว ข้อมูลตามสำมะโนปี 2020 มีประชากรอยู่อาศัยในลาไฮนาอยู่ที่ 12,702 คน ลาไฮนาครอบคลุมพื้นที่ของชายหาดตามทางหลวงฮาวายสาย 30 ตั้งแต่อุโมงค์ถึงปลายทิศใต้

ลาไฮนา รัฐฮาวาย

Lāhainā
โฮโคจิ ชิงง มิชชั่น วัดพุทธในย่านดาวน์ทาวน์ลาไฮนา
โฮโคจิ ชิงง มิชชั่น วัดพุทธในย่านดาวน์ทาวน์ลาไฮนา
ที่ตั้งในเทศมณฑลเมาวี และในรัฐฮาวาย
ที่ตั้งในเทศมณฑลเมาวี และในรัฐฮาวาย
Lahainaตั้งอยู่ในรัฐฮาวาย
Lahaina
Lahaina
ที่ตั้งในเทศมณฑลเมาวี และในรัฐฮาวาย
พิกัด: 20°52′26″N 156°40′39″W / 20.87389°N 156.67750°W / 20.87389; -156.67750
ประเทศสหรัฐ
รัฐรัฐฮาวาย
เทศมณฑลเมาวี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด9.29 ตร.ไมล์ (24.07 ตร.กม.)
 • พื้นดิน7.78 ตร.ไมล์ (20.15 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ1.51 ตร.ไมล์ (3.92 ตร.กม.)
ความสูง3 ฟุต (1 เมตร)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด12,702 คน
 • ความหนาแน่น1,632.44 คน/ตร.ไมล์ (630.26 คน/ตร.กม.)
เขตเวลาUTC-10 (ฮาวาย-อาลีวเชียน)
รหัสซิป96761, 96767
รหัสพื้นที่808
FIPS15-42950
GNIS feature ID0361678

เนื่องจากลาไฮนาตั้งอยู่บนเกาะเมาวี ซึ่งมีขนาดค่อนข้างเล็กและมีพื้นที่สำหรับพัฒนาน้อยกว่า อสังหาริมทรัพย์ในลาไฮนาจึงมีมูลค่าสูงกว่าหลายพื้นที่ในฮาวาย[2]

ในเดือนสิงหาคม 2023 เหตุไฟป่าลามเข้าพื้นที่ลาไฮนา สร้างความเสียหายแก่พื้นที่และเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 55 ราย[3] มีสิ่งปลูกสร้างเสียหายราว 1,700 หลัง

ประวัติศาสตร์ แก้

เลเล (Lele) เป็นชื่อโบราณของลาไฮนา ส่วนชื่อลาไฮนามาจากภาษาฮาวาย Lā hainā แปลว่า "ดวงอาทิตย์ที่โหดร้าย" ซึ่งสื่อถึงภูมิอากาศแบบร้อนแห้งของฮาวาย[4] โดยย่านประวัติศาสตร์ของลาไฮนามีปริมาณน้ำฝนเพรยง 13 นิ้ว (330 มิลลิเมตร) ต่อปี

ในปี 1795 ก่อนการรวมเกาะในฮาวายเข้าด้วยกัน ลาไฮนาอยู่ภายใต้การปกครองของกาเมฮาเมฮามหาราช ลาไฮนาเคยเป็นราชธานีของราชอาณาจักรฮาวายในปี 1820 ถึง 1845[5] ต่อมา กาเมฮาเมฮาที่สาม ซึ่งชื่นชอบลาไฮนากว่าโฮโนลูลูซึ่งวุ่นวาย ได้สร้างเกาะขนาด 1 เอเคอร์ (0.40 ha) ชื่อว่า โมกุอุลา ล้อมรอบด้วยทะเลสาบ โมกุฮินา (Moku Hina) ว่ากันว่าเป็นที่ประทับของกีวาฮีเน (Kiwahine) เทพารักษ์ของเกาะเมาวีและราชสกุลปิอิลานี (Pi'ilani royal line) ขึ้นที่ใกล้กับใจกลางของลาไฮนา[6]

ในปี 1824 เบ็ตซี สต็อกตัน ได้สร้างโรงเรียนมิสซังแห่งแรกที่เปิดสอนแก่สามัญชนในลาไฮนา หลังได้รับการร้องขอโดยผู้นำเผ่าในลาไฮนา[7]

ในปี 1845 ได้ย้ายราชธานีแห่งฮาวายกลับไปยังโฮโนลูลู ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ลาไฮนาเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม ล่าวาฬโลก มีเรือจอดมากมายที่ย่านริมน้ำของลาไฮนา ถนนริมน้ำของลาไฮนายังได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งในสิบถนนที่เยี่ยมที่สุด ("Top Ten Greatest Streets") โดยองค์การวางแผนอเมริกัน[8]

อ้างอิง แก้

  1. "2020 U.S. Gazetteer Files". United States Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2021. สืบค้นเมื่อ December 18, 2021.
  2. "Hawaiian Real Estate Trends – A New Way to Look at Hawaii Realty". RealEstate.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2012. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013.
  3. "Hawaii Wildfires". New York Times. New York Times. 2023-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 August 2023. ...This brings the death toll to 53 people,
  4. Pukui and Elbert (2004). "lookup of Lā-hainā". on Place Names of Hawai'i. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
  5. Pukui and Elbert (2004). "lookup of Lahaina". on Place Names of Hawai'i. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
  6. P.C. Klieger, 1998. The restoration of this site has been delayed. Moku`ula: Maui's Sacred Isle Bishop Museum Press, Honolulu.
  7. Dodd, Carol Santoki (1984). "Betsey Stockton". ใน Peterson, Barbara Bennett (บ.ก.). Notable Women of Hawaii. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 358–360. ISBN 978-0-8248-0820-4. OCLC 11030010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
  8. "Maui's Front Street Named to Top 10 Great Streets for 2011 – Maui Now". mauinow.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-10-05.