ลายกระหนก เป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของลายไทยในงานจิตรกรรมไทย มีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง (สามเหลี่ยมมุมฉาก) อาจมีตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ลายกระหนกที่สำคัญ ได้แก่ กระหนกสามตัว กระหนกเปลว กระหนกใบเทศ จากนั้นก็เป็นกระหนกผักกูด กระหนกกอ เป็นต้น

ลายกระหนกสามตัว

ความหมาย แก้

ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า กระหนก หมายถึงลวดลาย แต่จะสะกดว่า กนก ก็ได้ด้วย, กนก หมายถึงทอง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายใน พระนิพนธ์สาส์นสมเด็จ ว่า "กนก" คงใช้เรียกตู้ลายทอง (ตู้ลายรดน้ำ) แล้วเข้าใจผิดไปว่า ลวดลายนั้นเป็น "กนก"

บ่อเกิดแห่งลายไทย แก้

ลายไทยมีบ่อเกิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่

  • ดอกบัว
  • ดอกมะลิ
  • ดอกชัยพฤกษ์
  • ใบฝ้ายเทศ
  • ผักกูด
  • ตาอ้อย
  • เถาวัลย์
  • กาบไผ่
  • เปลวไฟ
  • ฯลฯ

กำเนิดของลายกระหนก และกระหนกสามตัว แก้

ต้นแบบของลายกระหนก มาจากหางไหล ซึ่งเป็นลายที่มาจากลักษณะของเปลวไฟ

กระหนกสามตัวเป็นแม่ลาย ถือเป็นแม่แบบของกระหนกทั้งหลาย

ประเภทของลายกระหนก แก้

ลายกระหนกแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้คือ

  • กระหนกเปลว
  • กระหนกใบเทศ
  • กระหนกผักกูด
  • กระหนกนารี
  • กระหนกหางหงส์
  • กระหนกลายนาค
  • กระหนกช่อลายต่าง ๆ

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522.
  • พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. ISBN 974-0038-44-1
  • สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539. ISBN 974-7120-30-5

แหล่งข้อมูลอื่น แก้