ลานนา คัมมินส์ มีชื่อเล่นว่า นา เป็นนักร้องหญิง เกิดวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เป็นลูกครึ่ง ไทย-ออสเตรเลีย และเป็นบุตรีของสุนทรี เวชานนท์[3] ลานนาเป็นหนึ่งในศิลปินวงการดนตรีไทยที่โด่งดังและประสบความสำเร็จในช่วงปี พ.ศ. 2547 - 2550 โดยมีบทเพลงที่เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ไว้ใจ๋ได้กา กาสะลอง จ้องตากับความเหงา และ บ่เป็นจะใด

ลานนา คัมมินส์
ลานนา คัมมินส์ ใน พ.ศ. 2549
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดลานนา เวชานนท์ คัมมินส์[1]
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (40 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[2]
แนวเพลงป็อป, อาร์แอนด์บี, แจ๊ส
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (อดีต)

ประวัติ แก้

ลานนาเคยให้สัมภาษณ์และกล่าวว่า แรงบันดาลใจในการร้องเพลงของเธอมาจากการที่มีคนรอบตัวเป็นศิลปิน ความชอบส่วนตัวของเธอ รวมถึงผู้ที่ให้การสนับสนุนเพลง จึงทำให้เธอมีความสนใจในการทำงานเพลง

ลานนา คัมมินส์ เริ่มร้องเพลงครั้งแรก ที่ร้าน"เฮือนสุนทรี จังหวัดเชียงใหม่" ซึ่งเป็นร้านของครอบครัว จนมีทีมงานของแกรมมี่ให้ความสนใจจากการที่ไปนั่งฟังเพลงที่ร้อง จึงชักชวนให้ลานนาได้เข้ามาสู่วงการงานเพลง

ปัจจุบันลานนาได้กลับมายังบ้านเกิด ณ จังหวัดเชียงใหม่ และดูแลธุรกิจร้านอาหารร่วมกับพี่ชาย

ผลงานเพลง แก้

  • อัลบั้มที่ 1 : ลานนา คัมมินส์ (2547) ซึ่งประกอบไปด้วยเพลง
    1. สวัสดีเจ้า
    2. ผู้หญิงธรรมดา
    3. ไว้ใจ๋ได้กา
    4. ทำไม
    5. นะนะ
    6. กาสะลอง
    7. ที่สุดขอบฟ้า
    8. ที่บุบสลายจริง ๆ คือจิตใจ
    9. ตอบให้ตรงคำถาม
    10. มาไม้ไหน
    11. ไม่มีทางรู้เลย
  • อัลบั้มที่ 2 : ยินดีปีระกา (2548)
    1. ยินดีปีระกา
    2. แค่เข้าใจ
    3. แมลงปอหลงลม
    4. ไม่รัก ไม่ว่า
    5. คำตอบในสายลม
    6. บ่เป็นจะใด
    7. รักฉันนาน ๆ
    8. เข็ด
    9. ไม่มีรอบสอง
    10. รักล้ำ
  • อัลบั้มที่ 3 : Happy Trip (2549)
    1. จ้องตากับความเหงา
    2. หนุ่มใต้ สาวเหนือ
    3. ก่อนจากกัน
    4. ป้อจาย รวนเร
    5. ปล่อยให้ฉันร้องไห้ (Just Let Me Cry)
    6. ผู้ชายปากแข็ง
    7. ขวัญเอย
    8. เมื่อไหร่อ้ายจะเข้าใจ
    9. เสื้อแห่งความสุข (นิทาน ตอสตอย)
    10. อย่าลืมฉันนะ
  • อัลบั้มที่ 4 : N/A (2550)
    1. พิราบรำพัน
    2. เมื่อดอกรักบาน
  • คอนเสิร์ต
    1. M-150 สุดชีวิตคนไทย (2549)
    2. Cassette Festival 2 (2565)

โฆษณา

    1. เครื่องดื่ม M-150

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้