ลังกาวตารสูตร (สันสกฤต: लंकावतारसूत्र Laṅkāvatāra Sūtra) เป็นพระสูตรเก่าแก่เล่มหนึ่งในนิกายมหายาน พระสูตรนี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีของเถรวาท แต่งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ได้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกราว ค.ศ. 443 เนื้อหาเป็นบทสนทนาระหว่างพระศากยมุนีพุทธเจ้ากับพระมหามติโพธิสัตว์ที่เกาะลงกา

พระสูตรนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของศาสนาพุทธในประเทศจีน ทิเบต และญี่ปุ่น มีอิทธิพลทางความคิดต่อสำนักโยคาจาร ฉาน และเซน

เนื้อหา แก้

ลังกาวตารสูตรใช้แนวคิดและคำสอนแบบโยคาจารและเน้นเรื่องตถาคตครรภ์[1] หลักการสำคัญของพระสูตรนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องวิญญาณ ว่าเป็นสิ่งเป็นจริงแท้เพียงอย่างเดียว สิ่งทั้งหมดในโลก นามต่าง ๆ และประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นแต่เพียงภาพปรากฏของจิตเท่านั้น มีการอธิบายวิญญาณในแต่ละบุคคลออกเป็นชั้น ๆ ประเภท ๆ โดยมีอาลยวิชญานเป็นพื้นฐานของวิญญาณทุกประเภท รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ในเอกภพด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Youru Wang, Linguistic Strategies in Daoist Zhuangzi and Chan Buddhism: The Other Way of Speaking. Routledge, 2003, page 58.