ละครรำ เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย วาดลีลาตามคำร้อง จังหวะและเสียงดนตรี ในปัจจุบันละครรำนิยมนำมาแสดงแก้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างแพร่หลาย มีทั้งแบบชั่วคราว กับประจำโรง อยู่ในสถานที่นั้น ๆ เลย เช่นวัดโสธรวรารามวรวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ศาลหลักเมือง ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ เป็นต้น


ประเภทของละครรำ แก้

  1. ละครชาตรี เล่นเรื่อง มโนห์รา
  2. ละครใน เล่นเรื่อง รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา
  3. ละครนอก เล่นเรื่อง ไกรทอง โคบุตร ไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง เป็นต้น

ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ (แยกออกมาอีกทีจากละครรำ) แก้

  1. ละครดึกดำบรรพ์ เล่นเรื่อง สังข์ทอง อุณรุท มณีพิชัย ศกุนตลา
  2. ละครพันทาง เล่นเรื่อง ราชาธิราช
  3. ละครเสนา เล่นเรื่อง ขุนช้างขุนแผน